บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"อเมริกา".. กับเกมแย่งชิงน้ำมันจาก.. "อิรัค & อิหร่าน"


  by Maira

ความจริงแล้ว รัฐบาลและประชาชนในตะวันออกกลาง น่าจะได้รับความสงบสุข ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายอยู่บนกองเงินกองทองที่มั่งคั่งจากการขายน้ำมันที่มี มหาศาลในภูมิภาคนี้ ..
แต่ทำไมจึงมีแต่ความขัดแย้งและสงคราม สู้รบกันไม่หยุดหย่อน?
เราลองมาดูกันนะคะว่าทำไม?
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920s [หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1] อังกฤษเป็นผู้ที่ควบคุมน้ำมันดิบของประเทสอิรัคทั้งหมด –ตามข้อตกลง ในสัญญา ซานมาริโน [The San Remo Agreement] 
             - แองโกลเปอร์เซีย [ภายหลังเปลี่ยนเป็น บริติชปิโตรเลียมหรือ BP] อังกฤษได้ส่วนแบ่ง ประมาณครึ่งหนึ่งของหุ้นใน บริษัท ปิโตรเลียมตุรกี ทั้งหมด( 47.5%),
             - ฝรั่งเศส 25 % ,
             -แองโกล-ดัตช์ และรอยัลดัตช์เชลล์ 22.5 % และ
             -คาลูลต์ กุลเบนเคียน 5% อัตราส่วนเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะเหมาะสม
การตกลงนี้เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ..ยกเว้น อเมริกา ..
ดัง นั้พอสนธิสัญญาซานเรโม เริ่มบังคับใช้ เสียงเห่าหอนของการประท้วงจากชาวอเมริกัน ดังกระหึ่มชาวอิตาเลียนก็ไม่พอใจและกังวลว่าพวกเขาจะไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ เป็นธรรมจาก สนธิสัญญาไตรภาคีที่ทำไว้กับ แองโกล-ฝรั่งเศส
ผลที่ติดตามมาก็คือาชาวอิตาเลียนไม่ประสบความสำเร็จจากการประท้วง แต่ชาวอเมริกันมีความสามารถมากกว่าและได้ผลักดันตนเองให้แทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญานี้ จนได้ –โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์น้ำมันร่วมสมัยให้นำเรื่องนี้ขึ้นมา ตั้งคำถามโผงผางอย่างตรงๆว่า “ถ้าคำถามเดียวเกี่ยวกับน้ำมันของอิรัคและอิหร่านที่ยังคงต้องสะสาง คือการตัดอเมริกาออกจากทางละก็ดีลนี้คงต้องเละ”
จากมุมมองของชาวอเมริกันพวกเขาเห็นว่า การค้นพบน้ำมันที่มีปริมาณมากของตะวันออกกลาง จะเป็นการคุกคาม และครอบงำอุตสาหกรรมน้ำมันของพวกเขา ซึ่ง ก่อนหน้านั้นอุตสาหกรรมอเมริกันได้ขยายตัวและรุ่งโรจน์มากว่าครึ่งศตวรรษ ในขณะที่ ฝรั่งเศสอังกฤษและเยอรมนี ไม่ได้ผลิตอะไรเลย มี แต่การบริโภคที่สูงมาก พวกเขาเป็นเพียง 'ผู้ชมที่เฉื่อยชา'
แต่ การตกลงในสนธิสัญญา ซานเรโม จะกลายเป็นว่าพวกเขามี 'กระสุน' ที่มีอาณุภาพมาก --และนอกจากนั้นยังได้ร่วมหัวกันกีดกันไม่ให้อเมริกันเข้าร่วมส่วนแบ่งใน อิรัก
ความยุ่งยากสำหรับชาวอเมริกันคือว่าทันทีหลังสงครามพวกเขาถูกวางให้เป็นตัวแทนของประชาชนในอาณานิคมที่ต่อต้านการรุกรานของจักรวรรษดิ
วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดี สหรัฐ กลายเป็นฮีโรผู้ช่วยเหลือกรุงแบกแดดในทันทีหลังจากสิ้นสุดของสงคราม ในเดือนกุมภาพันธ์ 1919  ปีกว่าปีก่อนข้อตกลงซานเรโมจะมีการลงนาม
และหนังสือบันทึกความจำจากสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในกรุงแบกแดดคุยเขื่องว่า “ในนามของประธานาธิบดีวิ ลสัน --จากริม ฝีปากของประชาชนชาวคนแบกแดด ทั้ง มุสลิม คริสต์ และชาวยิว ขอสดุดีท่านประธานาธิบดีที่มีความคงเส้นคงวาในฐานะตัวแทนของประเทศที่ไม่ สนใจจะแสวงหาผลประโยชน์ นอกจากรรักษาความปลอดภัย เสรีภาพ และความสุขของประชาชนที่ถูกกดขี่ในโลก” และนอกจากนั้นในบันทึกยังได้เขียนต่อไปอย่างชัดเจนด้วยความสุจริตใจ เพื่อชี้ให้เห็นว่า “ท่าน ประธานาธิปดีของอเมริกาจะให้ความคุ้มครองพวกเขาให้ปลอดภัย และจากนี้ไป จะเป็นยุคสมัยของความยุติธรรม และความชอบธรรมสำหรับทุกคน” [President would secure 'a reign of justice and righteousness for all.]
แต่ ทันทีหลังจากที่สงครามสิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน 1918ทัศนคติของชาวอเมริกันเปลี่ยนจากความเพ้อฝันไปเป็นแข็งกร้าวอย่างรวด เร็ว.. ประธานาธิบดีได้ประณาม 'การช่วงชิงที่น่าขยะแขยงทั้ง' ในตะวันออกกลาง
 หลังจากที่มี การลงนามข้อตกลงซานเรโมในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1920 รัฐมนตรีต่างประเทศในรัฐบาลของประธานาธิบดี วิลสัน ซึ่งเป็นทนายความแห่งรัฐมิสซูรี ที่เรียกว่า เบนบริดจ์ คอลบี (Bainbridge Colby) ได้ประณามอังกฤษและฝรั่งเศสว่า “ไม่เฉพาะความโลภของจักรวรรดินิยมเท่านั้น แต่เพราะพวกเขาได้สกัดกั้นผลประโยชน์ของอเมริกัน คอลบี ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นทนายความของมาร์ค ทเวน (Mark Twain)-นักเขียนชื่อดังของอเมริกา- บ่นอย่างขมขื่นว่าข้อตกลงนี้คือ 'การรวมหัวกันผูกขาด และออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นผลประโยชน์ของอเมริกัน” แต่เขาไม่สนใจกล่าวถึงชาวอิรักแม้แต่น้อย
มันเป็นเพียงอุดมการณ์ของ 'ฉันเท่านั้น' ที่ท่านประธานาธิบดีอเมริกันจาก “มิด-เวสต์” ผู้มีไหวพริบในเชิงพาณิชย์โดยสัญชาตญาณของอเมริกา สะท้อนให้เห็นได้จากการแสดงออกของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
หลัง จากนั้นสมาชิกคนอื่น ๆ ของรัฐบาล วิลสัน ก็ได้เข้าร่วมกันเห่าหอน และโวยวายกับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร เจ้าแห่งจักรวรรษดิที่ครอบครองอำนาจเหนืออาณานิคมแห่งนี้
แฟรง ก์ พอล์ค (Frank Polk) ที่ทำงานภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เขียนรายงานถึงวุฒิสภา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1920 --เพียงสามสัปดาห์หลังจากที่ข้อตกลงซานเรโมได้รับการลงนาม --ในเอกสารฉบับนี้ พอล์ค ได้ประณามอังกฤษว่าเป็น “นโยบายของจักรวรรดิอังกฤษ ที่ไม่ต้องการให้คนต่างด้าว ( aliens)เข้ามามีอำนาจควบคุมการพลังงานของจักรวรรษดิ”
'บริติชโลภและตะกระตะกรามในความพยายามที่จะรักษาความมั่งคั่งของตน ในการควบคุมแหล่งน้ำมันดิบบางส่วนในต่างประเทศ '
หนึ่ง เดือนถัดไป เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน โทมัส ดอนเนลล์ ประธาน กรรมการสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน กล่าวคำปราศรัยที่งานเลี้ยงอาหารค่ำจัดขึ้นโดย หอการค้านานาชาติ  --กลุ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1919 ซึ่งมีสมาชิกที่เรียกว่า 'พ่อค้าแห่งสันติภาพ' (merchants of peace') – อย่างแข็งกร้าวแต่ไว้ตัวว่า 'ไม่ มีใครที่รู้สึกขอบคุณคนอังกฤษที่อยู่ในต่างประเทศมากกว่าผม พวกเขาเป็นนักกีฬาที่ดี พร้อมที่จะรับโอกาสในการสำรวจและค้นคว้าหาสมบัติโลก ..ผมรู้สึกแปลกใจที่เพื่อนชาวอังกฤษที่ดีของผมที่บ้านไม่เห็นดีด้วยกับผมการ รณรงค์สนับสนุนให้ทุกคนมีเสรีภาพทางโอกาส และในการสำรวจผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์นี้ '
ชาวอเมริกัน เป็นจำนวนมากรู้สึกไม่แฮปปี้กับประธานาธิบดี จากความฝันที่เขาได้แสดงออกที่พระราชวังแวร์ซาย ในระหว่างการประชุมสันติภาพปารีสในปี ค.ศ.1919 เขาได้ทำให้โลกกลายเป็นสถานที่ที่มืดมน ตัวเขาเองนั้นคร่ำเครียด ทำนายแต่ความขัดแย้งที่จะเพิ่มขึ้น แต่ครั้งนี้เป็นความขัดแย้งทางด้านธุรกิจและการค้า อย่างเห็นได้ชัด
ใน ช่วงต้น 1920,เขาเขียนไว้ว่า  “เรากำลังอยู่ในวันก่อนสงครามการค้าที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่ง และผมคิดว่าบริเตนที่ยิ่งใหญ่ จะพิสูจน์ความสามารถให้เห็นว่ามีความโหดเหี้ยมแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในเชิงพานิชย์ เช่นเดียวกับที่เยอร์มันได้แสดงให้เห็นตลอดมาในด้านการแข่งขัน  ในหลายปีที่ผ่านมา”
*** แปดทศวรรษผ่านไป อเมริกาบุกโจมตีอิรัคตามลำพัง-โดยไม่ฟังเสียง UN- ด้วยข้อกล่าวหาว่า ซัดดัม ฮุสเซน มีอาวุธชีวภาพ และอาวุธทำลายล้างสูง (MWD)โดยซ่อนความกระหายที่จะครอบครองบ่อน้ำมันของอิรัคเอาไว้เบื้องหลัง
และปัจจุบันอเมริกาคือผู้ที่ปลดแอกอิรัคได้สำเร็จ และได้รับส่วนแบ่งและควบคุณน้ำมันของอิรัคมากที่สุด .. แทบจะเรียกว่า ตามลำพัง
***
ท้าย นี้เจ้าของบล๊อกอยากฝากข้อคิดไว้ ณ ที่นี้สักนิดว่า .. การที่อเมริกากล่าวหาอิหร่านว่ากำลังพัฒนาโครงการพันิวเคลียร์ ทั้งๆที่อิหร่านก็ออกมาบอกว่าเป็นพลังงานเพื่อสันติ นั้น อาจเหมือนกรณีที่กล่าวหาอิรัคก็เป็นได้ ..และจุดมุ่งหมายก็คงไม่ต่างกัน ..นั่นคือต้องการจะ "ฮุบบ่อน้ำมันของอิหร่าน?"
และ การที่อเมริกาส่ง Drone --เครื่องบินทำลายล้างชนิดไม่มีคนขับ เข้าไปฆ่านักวิทยาศาตร์ของชาวอิหร่านบนถนนในกรุงเตหราน และสมาชิกกลุ่มโมสาดของอิสราเอลที่เข้าไประเบิดรถของนักวิทยาศาสตร์ของ อิหร่านบนท้องถนนนั้นไม่ใช่การกระทำของ "ผู้ก่อการร้าย" เช่นกันหรือ? มันต่างกันตรงไหนกับการที่อิหร่านจะระเบิดนักการทูตยิวเป็นการตอบแทน?..ก็ยิวและแก๊งพี่เบิ้มอเมริกันไประรานเค้าก่อน ? บ้านของเขาเองแท้ๆ  ..ด้วยข้ออ้างงี่เง่าว่าเค้าผลิตอาวุธนิวเคลียร์ .. และถึงแม้อิหร่านจะผลิตได้จริง ก็จะแปลกอะไรในเมื่ออิสราเอลก็ยังผลิตได้???
ที่ เขียนมาทั้งหมดนี้เพียงต้องการจะให้เพื่อนๆ "คิดเอง" หาข้อมูลจากหลายๆแห่ง อย่าเพิ่งปักใจเชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ..และที่สำคัญอย่าดึงประเทศไทยไปเกี่ยวข้องกับ ข้อขัดแย้งของพวกเขา ...จะเดือดร้อนประเทศเราเปล่าๆ ..เนื้อก็ไม่ได้ หนังก็ไม่ได้ (ยิวกับไอ้กันเอาไปกินหมด) แต่พี่ไทยจะต้องเอากระดูกมาแขวนคอ ..
***
ขอบคุณ ข้อมูลจาก
"Ghosts of Empire":
'Britain's Lasting Imperial Legacy'
by Kwasi Kwarteng

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง