ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการบริษัท ไทยปิโตรพลัส
จำกัด (TPP) กล่าวว่า บริษัท ได้จับมือกับ 4 บริษัท ได้แก่ BGP INC.,CNPC
(Thailand Branch) บริษัท Greatwall Drilling (Thailand) จากประเทศจีน
และบริษัท Schlumberger Oversea S.A. บริษัท Gen Labs (Thailand)
จากสหรัฐอเมริกา
เพื่อลงนามสัญญาความร่วมมือในการสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทย
มุ่งที่จะแสวงหาพลังงานด้วยการเป็นผู้สำรวจ ผลิต
และจำหน่ายปิโตรเลียมของประเทศ
ทั้งนี้ บริษัทสนใจยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งที่ 21 ที่จะเปิดเร็วๆ
นี้
โดยมีเจตนารมย์ที่จะดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานด้วยการบริการจัดการ
งานการสำรวจขุดเจาะที่เป็นมาตรฐานสากลภายใต้วิธีปฏิบัติและกรอบเงื่อนไขของ
กฎหมายรวมทั้งการประกอบกิจการที่ดี
เพื่อมุ่งมั่นแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานของประเทศที่สามารถตอบสนองความต้อง
การใช้ของประเทศอย่างเพียงพอต่อไป
นอกจากนี้ บริษัทมีที่ดินที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,000
ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินที่เคยมีการสำตวจก่อนหน้านี้พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติ
แต่ผู้ที่ได้สัมปทานเดิมยกเลิกในการขุดเจาะก่อน อย่างไรก็ตาม
หากบริษัทได้รับสัมปทานและเข้าสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเชื่อว่าจะพบน้ำมันวันละ
ประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ตลอดเวลา 90 ปี พร้อมกันนี้
ในอนาคตบริษัทยังจะออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เช่น ในอินโดนีเซีย
และชายแดนไทย-กัมพูชา
ปัดก๊วนเพื่อไทยลงขัน 500 ล้านสัมปทานน้ำมัน
สยามธุรกิจ > จากกรณีมีการตั้งข้อสงสัยกลุ่มทุนก๊วน
“เพื่อ ไทย” ทุ่มจดทะเบียน 500 ล้าน บาทตั้งบริษัทสำรวจและผลิต ปิโตรเลียม
แต่งตัวยื่นขอสัมปทานขุดน้ำมันบนพื้นที่ 1,000 ไร่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
บิ๊กบอส “ไทยปิโตรพลัส”ได้ปฏิเสธไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง
แต่ยอมรับเครือข่ายลูกพี่ลูกน้องตระกูล “นริพทะพันธุ์”ใช้คอนเน็กชั่นดึง 4
บริษัทยักษ์ใหญ่จากจีนและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตร ขณะที่ “พลโทไตรรัตน์
ปิ่นมณี” ร่วมกล่าวแสดงความยินดีในวันลงนาม MOU ด้วย
กรมเชื้อเพลิงพลังงาน เตรียมจะเปิดให้เอกชนยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่
21 ประมาณกลางปี 2555 ประกอบด้วยแปลงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน
10 แปลง พื้นที่ภาคกลางจำนวน 6 แปลง และในอ่าวไทยจำนวน 5 แปลง
ปรากฎว่ามีกลุ่มทุนพรรคเพื่อไทยสนใจยื่นขอสัมปทานครั้งนี้ด้วย
นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการ บริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด (TPP)
ตนสนใจที่จะเข้าร่วมดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตามที่กรมเชื้อเพลิง
ธรรมชาติได้ประกาศเชิญชวนให้บริษัทยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งที่ 21
จึงได้ก่อตั้งบริษัทไทยปิโตรพลัส จำกัด (TPP) ขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 500
ล้านบาท เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 โดยตนถือหุ้นในนามส่วนตัว 90%
แม้ว่าไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในธุรกิจสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม
เพราะว่าที่ผ่านมาคลุกคลีอยู่ในธุรกิจสหกรณ์โดยบุกเบิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ย
นคลองจั่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคล แต่พันธมิตรทั้ง 4
บริษัทมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ระดับโลก
เชื่อว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการในธุรกิจนี้
ทั้งนี้ บริษัท ไทยปิโตรพลัส
ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการสำรวจปิโตรเลียมกับ 4
บริษัทในวงการด้านพลังงาน เพื่อสนับสนุนเครื่องจักรอุปกรณ์และเทคโนโลยี
พร้อมบุคลากรในด้านต่างๆ ประกอบด้วย บริษัท BGP INC.,CNPC (Thailand
Branch) บริษัท Greatwall Drilling (Thailand)Co.,Ltd. จากประเทศจีน บริษัท
Schlumberger Oversea S.A. และบริษัท Gen Labs (Thailand)Co.,Ltd.
จากสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ ได้ดึงนายธเนศวัฒน์ นริพธพันธ์
เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT
เพราะว่ารู้จักกันเป็นการส่วนตัวมานานแล้ว
โดยนายธเนศวัฒน์มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรต่างชาติทั้ง 4
รายโดยเฉพาะบริษัทจากประเทศจีน
“ผมไม่เคยสนใจการเมือง
แต่ตั้งใจประกอบกิจการปิโตรเลียมด้วยความตั้งใจด้วยวิธีการปฏิบัติงาน
ปิโตรเลียมที่ดี โดยคำนึงถึงสาธารณประโยชน์ สิ่งแวดล้อม
และประโยชน์สุขของประชาชน”นายศุภชัย กล่าว
รายงานข่าวแจ้งงว่า บริษัท ไทยปิโตรพลัส
ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นธุรกิจประเภทให้บริการบริหารจัดการและให้คำปรึกษา
มีนายธเนศน์ นริพธพันธ์ ที่มีอาคือนายพิชัย นิริพทะพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้มีอำนาจทำการ 1 นายศุภชัย
ศรีศุภอักษร เป็นผู้มีอำนาจทำการ 2 โดยบริษัทตั้งอยู่เลขที่ 411
ถนนศรีนคริทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ ในวันเปิดตัวบริษัทและลงนามบันทึก MOU ปรากฎว่า มีพลโทไตรรัตน์
ปิ่นมณี เป็นตัวแทนพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
เดินทางไปร่วมกล่าวแสดงความยินดีด้วย
นายศุภชัย กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้ง
เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอสัมปทานปิโตรเลียมแปลงหมายเลข L37 พื้นที่
อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
เนื่องจากตนมีที่ดินที่ทับซ้อนกับแปลงสัมปทานจำนวน 1,000 ไร่
ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะมีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติค่อนข้างสูง
โดยเบื้องต้นคาดว่าจะผลิตมีน้ำมันได้ถึง 30,000บาร์เรลต่อวัน ตลอดระยะเวลา
90 ปี ขณะเดียวกันยังสนใจขอสัมปทานปิโตรเลียมในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ
บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และในอนาคตจะออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เช่น ในอินโดนีเซีย
และชายแดนไทย-กัมพูชา
Siamturakij media
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(37)
- ► กุมภาพันธ์ (9)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น