บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไทย-กัมพูชาเร่งเจรจาตกลงพื้นที่ทับซ้อนปิโตรเลียม


รมว.กระทรวงพลังงานและกระทรวงต่างประเทศของไทยหารือรมว.กัมพูชาเร่งรัดการเจรจาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงพื้่นที่ทับซ้อนปิโตรเลียม

 วันนี้ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ และเข้าพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในช่วงเย็นนี้
ในช่วงเช้า นายพิชัย ได้เข้าพบนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี และนายซุน เซม รัฐมนตรีอุตสาหกรรม เหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ในขณะที่นายสุรพงษ์ ได้เข้าพบนายฮอ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ
นายพิชัย เผยว่า ได้หารือกับนายซก อาน เรื่องการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าและการเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมคาบเกี่ยว  ซึ่งนายซก อาน ต้องการเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว และต้องการให้จบภายใน 1 ปีครึ่ง เพราะเจรจาล่าช้ามานาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นประโยชน์แก่ทั้ง  2  ประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานโดยในส่วนของไทยเห็นด้วยที่จะหารือให้จบโดยเร็ว
แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ  ซึ่งเป็นประธานคณะเจรจาว่าจะเจรจาให้จบอย่างไร  หากจบเร็วก็จะพัฒนาได้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเช่นเดียวกับพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-มาเลเซีย หรือ ไทย-เวียดนาม   ซึ่งขอยืนยันว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่เบื้องหลัง  เพราะบริษัทผู้เข้ามาลงทุนก็เป็น บมจ.ปตท. บมจ.ปตท.สผ.ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นใหญ่
“ช่วงไปพม่าก็มีข้อครหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้ประโยชน์จากการเข้าไปถือหุ้นในแหล่งปิโตรเลียม แต่ท่านทักษิณ ก็ยืนยันชัดเจนว่าไม่ได้ประโยชน์ไม่ได้มีหุ้นในกลุ่ม ปตท.แต่อย่างใดก็ขอฝากว่าการมองอะไรนั้นควรจะมองถึงผลประโยชน์ระยะยาวของ ประเทศไทยจะดีกว่า” นายพิชัย กล่าว
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยเห็นด้วยที่จะเร่งรัดเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน ให้เสร็จโดยเร็ว  แต่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ โดยเร็ว ๆ นี้ จะเสนอต่อที่ประชุม ครม.ว่าจะเห็นชอบตามมติ ครม.ของรัฐบาลชุดที่แล้วหรือไม่ที่ให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 หากเห็นชอบ ก็จะเสนอต่อรัฐสภาให้ยกเลิก แล้วหาข้อตกลงใหม่ในการเริ่มเจรจา ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่ต้องฝากไปยังสมาชิกรัฐสภาว่า การอภิปรายเรื่องนี้ขอให้มองถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
แต่หาก ครม.มีมติให้คงใช้ เอ็มโอยู 2544  ก็จะเริ่มเจรจาตามกรอบดังกล่าว  หากเจรจาเสร็จเร็ว ขั้นตอนก็จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาก๊าซขึ้นมาใช้อีกเป็นเวลานานนับ 10  ปี  เช่น ไทย-มาเลเซียใช้เวลาถึง 20 ปี



รมว.พลังงานหนุน เอ็มโอยู ปี 44 เดินหน้าแบ่งปันผลประโยชน์อ่าวไทยของไทย-กัมพูชา ลั่นมีก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนใช้ได้อีก 30-40 ปี

วันนี้(29ธ.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาว่า นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ได้ หารือร่วมกับนายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า การหารือในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ทั้ง 2 ประเทศต้องการพัฒนาด้านพลังงานร่วมกัน โดยเฉพาะการใช้พลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้ยกเลิกเอ็มโอยูไป ดังนั้นต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินการเรื่องนี้ ว่าจะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเห็นชอบมติ ครม.ของรัฐบาลที่แล้วในการยกเลิกเอ็มโอยูด้านพลังงานระหว่างไทย-กัมพูชาหรือ ไม่ หรือจะดำเนินการต่ออย่างไร
ทั้งนี้ หากครม.เห็นชอบให้เดินหน้าต่อก็ต้องนำเข้าสู่การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อ พิจารณา อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานเห็นว่าเรื่องนี้ควรเดินหน้าต่อ เพราะอีกไม่ถึง15 ปี ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยก็จะหมดลง และเราต้องนำเข้าทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทั้งก๊าซ และไฟฟ้า ซึ่งหากเดินหน้าโครงการนี้ต่อก็จะทำให้เรามีก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อน ใช้ได้อีก 30-40 ปี ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของคนไทยไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง รวมถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและโรงงานปิโตรเคมีคอลร่วมกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค