บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไทย-กัมพูชาเร่งเจรจาตกลงพื้นที่ทับซ้อนปิโตรเลียม


รมว.กระทรวงพลังงานและกระทรวงต่างประเทศของไทยหารือรมว.กัมพูชาเร่งรัดการเจรจาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงพื้่นที่ทับซ้อนปิโตรเลียม

 วันนี้ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ และเข้าพบสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในช่วงเย็นนี้
ในช่วงเช้า นายพิชัย ได้เข้าพบนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายรัฐมนตรี และนายซุน เซม รัฐมนตรีอุตสาหกรรม เหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา ในขณะที่นายสุรพงษ์ ได้เข้าพบนายฮอ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ
นายพิชัย เผยว่า ได้หารือกับนายซก อาน เรื่องการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าและการเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมคาบเกี่ยว  ซึ่งนายซก อาน ต้องการเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว และต้องการให้จบภายใน 1 ปีครึ่ง เพราะเจรจาล่าช้ามานาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเป็นประโยชน์แก่ทั้ง  2  ประเทศ สร้างความมั่นคงด้านพลังงานโดยในส่วนของไทยเห็นด้วยที่จะหารือให้จบโดยเร็ว
แต่เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับกระทรวงการต่างประเทศ  ซึ่งเป็นประธานคณะเจรจาว่าจะเจรจาให้จบอย่างไร  หากจบเร็วก็จะพัฒนาได้เร็ว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเช่นเดียวกับพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-มาเลเซีย หรือ ไทย-เวียดนาม   ซึ่งขอยืนยันว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่เบื้องหลัง  เพราะบริษัทผู้เข้ามาลงทุนก็เป็น บมจ.ปตท. บมจ.ปตท.สผ.ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นใหญ่
“ช่วงไปพม่าก็มีข้อครหาว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะได้ประโยชน์จากการเข้าไปถือหุ้นในแหล่งปิโตรเลียม แต่ท่านทักษิณ ก็ยืนยันชัดเจนว่าไม่ได้ประโยชน์ไม่ได้มีหุ้นในกลุ่ม ปตท.แต่อย่างใดก็ขอฝากว่าการมองอะไรนั้นควรจะมองถึงผลประโยชน์ระยะยาวของ ประเทศไทยจะดีกว่า” นายพิชัย กล่าว
ด้านนายสุรพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยเห็นด้วยที่จะเร่งรัดเจรจาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน ให้เสร็จโดยเร็ว  แต่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ โดยเร็ว ๆ นี้ จะเสนอต่อที่ประชุม ครม.ว่าจะเห็นชอบตามมติ ครม.ของรัฐบาลชุดที่แล้วหรือไม่ที่ให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 หากเห็นชอบ ก็จะเสนอต่อรัฐสภาให้ยกเลิก แล้วหาข้อตกลงใหม่ในการเริ่มเจรจา ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่ต้องฝากไปยังสมาชิกรัฐสภาว่า การอภิปรายเรื่องนี้ขอให้มองถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
แต่หาก ครม.มีมติให้คงใช้ เอ็มโอยู 2544  ก็จะเริ่มเจรจาตามกรอบดังกล่าว  หากเจรจาเสร็จเร็ว ขั้นตอนก็จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาก๊าซขึ้นมาใช้อีกเป็นเวลานานนับ 10  ปี  เช่น ไทย-มาเลเซียใช้เวลาถึง 20 ปี



รมว.พลังงานหนุน เอ็มโอยู ปี 44 เดินหน้าแบ่งปันผลประโยชน์อ่าวไทยของไทย-กัมพูชา ลั่นมีก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อนใช้ได้อีก 30-40 ปี

วันนี้(29ธ.ค.)ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาว่า นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน ได้ หารือร่วมกับนายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีว่า การหารือในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ทั้ง 2 ประเทศต้องการพัฒนาด้านพลังงานร่วมกัน โดยเฉพาะการใช้พลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งรัฐบาลที่แล้วได้ยกเลิกเอ็มโอยูไป ดังนั้นต้องรอความชัดเจนจากกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินการเรื่องนี้ ว่าจะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาเห็นชอบมติ ครม.ของรัฐบาลที่แล้วในการยกเลิกเอ็มโอยูด้านพลังงานระหว่างไทย-กัมพูชาหรือ ไม่ หรือจะดำเนินการต่ออย่างไร
ทั้งนี้ หากครม.เห็นชอบให้เดินหน้าต่อก็ต้องนำเข้าสู่การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อ พิจารณา อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานเห็นว่าเรื่องนี้ควรเดินหน้าต่อ เพราะอีกไม่ถึง15 ปี ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยก็จะหมดลง และเราต้องนำเข้าทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทั้งก๊าซ และไฟฟ้า ซึ่งหากเดินหน้าโครงการนี้ต่อก็จะทำให้เรามีก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ทับซ้อน ใช้ได้อีก 30-40 ปี ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของคนไทยไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง รวมถึงการพัฒนาโรงไฟฟ้าและโรงงานปิโตรเคมีคอลร่วมกันด้วย

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เชฟรอนรอไฟเขียวก่อนลุยสูบน้ำมันเขมร



แผนที่แปลงน้ำมันของกัมพูชาฟิฟทีนมูฟ –ตัวแทนเชฟรอนเผยรออนุมัติทางเอกสารจากรัฐบาล ก่อนลุยสูบน้ำมันจากบล็อค A ของเขมร หากไม่มีอะไรติดขัดพร้อมดำเนินการทันทีตามกำหนด
วิทยุเสียงอเมริกา ภาคภาษาเขมร วานนี้ (๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า นายการ์เรต โจห์นสโตน (Gareth Johnstone) ที่ปรึกษาข่าวประจำพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิก ของบริษัทเชฟรอน บริษัทน้ำมันรายใหญ๋ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในประเทศกัมพูชา เปิดเผยผ่านอีเมลว่าบริษัทกำลังรอกรอบการเงินสำหรับโครงการที่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน
นายการ์เรต โจห์นสโตน ระบุว่า เชฟรอนเตรียมพร้อมแล้วในการดำเนินการก่อสร้าง แต่ยังมีเรื่องจำเป็นที่ต้องดำเนินการก่อน คือ กรอบการเงินและการยื่นคำขอนุญาตการผลิตน้ำมันจากรัฐบาล โดยขณะนี้ กรอบทั้งหมดจัดเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นเอกสารการลงทุนล่าสุดซึ่งอาจสามารถเริ่มดำเนินการได้หากมีความเห็นชอบของรัฐบาล ในการสูบน้ำมันตามกำหนด และหากไม่มีการเรียกร้องจากกลุ่มเอ็นจีโอที่ติดตามจับตาเรื่องนี้
นายฮาย ซารัต1 ผู้ประสานงานกัมพูชาเพื่อจำนวนทรัพยากร2กลุ่มเอ็นจีโอที่ติดตามการขุดเจาะน้ำมันในกัมพูชา ระบุว่า เรื่องน้ำมันและก๊าซในกัมพูชาเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องการเทคนิคและศักยภาพขั้นสูง ดังนั้น ตนอยากเรียกร้องว่า หากมีการยืดระยะออกไปอีกเล็กน้อย ตนก็จะยินดี
กัมพูชามีแปลงน้ำมันในทะเลทั้งสิ้น ๖ แปลง คือ บล็อค A ถึง F ได้มอบให้กับบริษัทน้ำมันรายใหญ่ต่าง ๆ ที่เข้ามาทำข้อตกลงกับกัมพูชา ทั้งจากสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ฝรั่งเศสและญี่ปุ่น โดยบริษัทเซฟรอนได้รับสิทธิ์ในการขุดสำรวจน้ำมันในบล็อค A ซึ่งอยู่ติดกับอาณาเขตทางทะเลของไทยที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์ล่วงล้ำ มีพื้นที่ประมาณ ๔,๐๐๐ ตร.กม. ขณะที่ กัมพูชามีร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรปิโตรเลียม ๒ ฉบับ คือ ร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดการปิโตรเลียม และร่างกฎหมายว่าด้วยภาษีปิโตรเลียม ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของสำนักนายกรัฐมนตรี

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ซีอีโอซีนุก บ.น้ำมันจีน เข้าพบซก อาน แจ้งการขุดน้ำมันบล็อค F


นายลี ฟานรุง CEO พร้อมตัวแทนซีนุก บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของจีน เข้าพบนายซก อาน  ประธานองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงเช้า (๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)ฟิฟทีนมูฟ –ซีอีโอ บ.น้ำมัน ซีนุกของจีนเข้าพบซก อาน แจ้งการขุดเจ้าน้ำมันครั้งแรกในบล็อค F ของเขมร ขณะซก อาน ขอให้ช่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่องค์การปิโตรเลี่ยมเขมร
ศูนย์ข่าวนครวัตและบายนทีวีของกัมพูชา รายงานว่า ตัวแทนของซีนุก หรือ China National Offshore Oil Corporation  (CNOOC) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของจีน ได้เข้าพบนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นประธานองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ที่สำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงเช้า (๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔)

นายลี ฟานรุง (LI​ FANRONG) ประธานกรรมการบริหาร (CEO)1 บริษัทซีนุก ได้แจ้งกับนายซก อาน ว่าซีนุกเป็นบริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ขุดสำรวจน้ำมันในประเทศกัมพูชา และในระยะเวลาอันใกล้นี้จะทำการขุดเจาะน้ำมันเป็นครั้งแรกที่บล็อค F ในทะเลของกัมพูชา พร้อมระบุว่า การขุดเจาะน้ำมันในครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ประเทศกัมพูชาและจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และแสดงถึงความร่วมมือที่ดีของประเทศทั้งสอง เราจะไม่เพียงแค่ขุดเจาะน้ำมันที่บล็อค F เท่านั้น หากแต่เราได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ ความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์การปิโตรเลียมกัมพูชากับบริษัทซีนุกของจีนใน อนาคต
นายซก อาน ได้กล่าวกับคณะตัวแทนของบริษัทซีนุก ว่า บริษัทฯ ได้รับผลดีในการดำเนินการสำรวจที่ผ่านมา พร้อมแสดงความยินดีกับความสำเร็จของซีนุกที่ได้เริ่มต้นการขุดเจาะน้ำมัน ครั้งแรกในบล็อค F นอกจากนี้ นายซก อาน ได้เสนอขอให้ซีนุกช่วยเหลือฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในองค์การิโต รเลียมกัมพูชา ซึ่งในนายลี ฟานรุง ได้ตอบรับว่าบริษัทตนเปิดกว้างในการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าของกัมพูชา หากมีการร้องขอ
บล็อค F ของกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ ๗,๐๐๐ ตร.กม. อยู่ในอาณาเขตทางทะเลของกัมพูชา การขุดเจาะของซีนุกในครั้งนี้ ใช้เงินการลุงทุนทั้งสิ้น ๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ นายลี ฟานรุง อดีต executive director ที่ผ่านมา

วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

“ไทยปิโตรพลัส”เตรียมขุดน้ำมันปักธงชัย

ดร.ศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการบริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด (TPP) กล่าวว่า บริษัท ได้จับมือกับ 4 บริษัท ได้แก่ BGP INC.,CNPC (Thailand Branch) บริษัท Greatwall Drilling (Thailand) จากประเทศจีน และบริษัท Schlumberger Oversea S.A. บริษัท Gen Labs (Thailand) จากสหรัฐอเมริกา เพื่อลงนามสัญญาความร่วมมือในการสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทย มุ่งที่จะแสวงหาพลังงานด้วยการเป็นผู้สำรวจ ผลิต และจำหน่ายปิโตรเลียมของประเทศ

ทั้งนี้ บริษัทสนใจยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งที่ 21 ที่จะเปิดเร็วๆ นี้ โดยมีเจตนารมย์ที่จะดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทานด้วยการบริการจัดการ งานการสำรวจขุดเจาะที่เป็นมาตรฐานสากลภายใต้วิธีปฏิบัติและกรอบเงื่อนไขของ กฎหมายรวมทั้งการประกอบกิจการที่ดี เพื่อมุ่งมั่นแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานของประเทศที่สามารถตอบสนองความต้อง การใช้ของประเทศอย่างเพียงพอต่อไป

นอกจากนี้ บริษัทมีที่ดินที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1,000 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินที่เคยมีการสำตวจก่อนหน้านี้พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติ แต่ผู้ที่ได้สัมปทานเดิมยกเลิกในการขุดเจาะก่อน อย่างไรก็ตาม หากบริษัทได้รับสัมปทานและเข้าสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเชื่อว่าจะพบน้ำมันวันละ ประมาณ 30,000 บาร์เรลต่อวัน ตลอดเวลา 90 ปี พร้อมกันนี้ ในอนาคตบริษัทยังจะออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เช่น ในอินโดนีเซีย และชายแดนไทย-กัมพูชา


ปัดก๊วนเพื่อไทยลงขัน 500 ล้านสัมปทานน้ำมัน
สยามธุรกิจ > จากกรณีมีการตั้งข้อสงสัยกลุ่มทุนก๊วน “เพื่อ ไทย” ทุ่มจดทะเบียน 500 ล้าน บาทตั้งบริษัทสำรวจและผลิต ปิโตรเลียม แต่งตัวยื่นขอสัมปทานขุดน้ำมันบนพื้นที่ 1,000 ไร่ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา บิ๊กบอส “ไทยปิโตรพลัส”ได้ปฏิเสธไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง แต่ยอมรับเครือข่ายลูกพี่ลูกน้องตระกูล “นริพทะพันธุ์”ใช้คอนเน็กชั่นดึง 4 บริษัทยักษ์ใหญ่จากจีนและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตร ขณะที่ “พลโทไตรรัตน์ ปิ่นมณี” ร่วมกล่าวแสดงความยินดีในวันลงนาม MOU ด้วย

กรมเชื้อเพลิงพลังงาน เตรียมจะเปิดให้เอกชนยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ประมาณกลางปี 2555 ประกอบด้วยแปลงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 10 แปลง พื้นที่ภาคกลางจำนวน 6 แปลง และในอ่าวไทยจำนวน 5 แปลง ปรากฎว่ามีกลุ่มทุนพรรคเพื่อไทยสนใจยื่นขอสัมปทานครั้งนี้ด้วย

นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานกรรมการ บริษัท ไทยปิโตรพลัส จำกัด (TPP) ตนสนใจที่จะเข้าร่วมดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตามที่กรมเชื้อเพลิง ธรรมชาติได้ประกาศเชิญชวนให้บริษัทยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมในครั้งที่ 21 จึงได้ก่อตั้งบริษัทไทยปิโตรพลัส จำกัด (TPP) ขึ้นมาด้วยทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 โดยตนถือหุ้นในนามส่วนตัว 90% แม้ว่าไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ในธุรกิจสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียม เพราะว่าที่ผ่านมาคลุกคลีอยู่ในธุรกิจสหกรณ์โดยบุกเบิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ย นคลองจั่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคล แต่พันธมิตรทั้ง 4 บริษัทมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ระดับโลก เชื่อว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินการในธุรกิจนี้

ทั้งนี้ บริษัท ไทยปิโตรพลัส ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการสำรวจปิโตรเลียมกับ 4 บริษัทในวงการด้านพลังงาน เพื่อสนับสนุนเครื่องจักรอุปกรณ์และเทคโนโลยี พร้อมบุคลากรในด้านต่างๆ ประกอบด้วย บริษัท BGP INC.,CNPC (Thailand Branch) บริษัท Greatwall Drilling (Thailand)Co.,Ltd. จากประเทศจีน บริษัท Schlumberger Oversea S.A. และบริษัท Gen Labs (Thailand)Co.,Ltd. จากสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ ได้ดึงนายธเนศวัฒน์ นริพธพันธ์ เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT เพราะว่ารู้จักกันเป็นการส่วนตัวมานานแล้ว โดยนายธเนศวัฒน์มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับพันธมิตรต่างชาติทั้ง 4 รายโดยเฉพาะบริษัทจากประเทศจีน

“ผมไม่เคยสนใจการเมือง แต่ตั้งใจประกอบกิจการปิโตรเลียมด้วยความตั้งใจด้วยวิธีการปฏิบัติงาน ปิโตรเลียมที่ดี โดยคำนึงถึงสาธารณประโยชน์ สิ่งแวดล้อม และประโยชน์สุขของประชาชน”นายศุภชัย กล่าว

รายงานข่าวแจ้งงว่า บริษัท ไทยปิโตรพลัส ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นธุรกิจประเภทให้บริการบริหารจัดการและให้คำปรึกษา มีนายธเนศน์ นริพธพันธ์ ที่มีอาคือนายพิชัย นิริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นผู้มีอำนาจทำการ 1 นายศุภชัย ศรีศุภอักษร เป็นผู้มีอำนาจทำการ 2 โดยบริษัทตั้งอยู่เลขที่ 411 ถนนศรีนคริทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ

นอกจากนี้ ในวันเปิดตัวบริษัทและลงนามบันทึก MOU ปรากฎว่า มีพลโทไตรรัตน์ ปิ่นมณี เป็นตัวแทนพลเอกพัลลภ ปิ่นมณี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมกล่าวแสดงความยินดีด้วย

นายศุภชัย กล่าวว่า การลงนาม MOU ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอสัมปทานปิโตรเลียมแปลงหมายเลข L37 พื้นที่ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากตนมีที่ดินที่ทับซ้อนกับแปลงสัมปทานจำนวน 1,000 ไร่ ซึ่งพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะมีปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติค่อนข้างสูง โดยเบื้องต้นคาดว่าจะผลิตมีน้ำมันได้ถึง 30,000บาร์เรลต่อวัน ตลอดระยะเวลา 90 ปี ขณะเดียวกันยังสนใจขอสัมปทานปิโตรเลียมในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในอนาคตจะออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ เช่น ในอินโดนีเซีย และชายแดนไทย-กัมพูชา


 Siamturakij media

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค