เตือนรัฐบาลรักษาผลประโยชน์ชาติ ขุมทรัพย์พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
ยัง
เป็นมหากาพย์เรื่องยาวนับ 10 ปีที่ไม่สามารถเขียนบทจบได้
...กับเรื่องราวการแบ่งขุมสมบัติอันมหาศาลระหว่างไทยกับกัมพูชา
ในพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชา บริเวณตอนกลางอ่าวไทยพื้นที่ขนาด
26,000 ตร.กม.
ที่ทั้งสองประเทศต่างไม่ยอมเสียเปรียบเพราะต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิในการเป็น
เจ้าของ
หลังจากเงียบอยู่นานเรื่องนี้ได้กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังจาก “พิชัย นริพทะพันธุ์” รมว.พลังงาน ได้ขายไอเดียว่าจะนำเงินสำรองระหว่างประเทศ 1.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งก้อนใหญ่มาตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ซื้อแหล่งพลังงานต่างประเทศ รวมถึงสินทรัพย์ที่มั่นคง เช่น ทองคำ เงินสกุลหยวน รวมทั้งเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อนำก๊าซขึ้นมาใช้ แม้ว่าในวันนั้นรัฐบาลยังไม่ได้แถลงนโยบายก็ตาม
แต่ในระหว่างบรรทัดของไอเดียของ รมว.พลังงานคนใหม่ ปรากฏข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พี่ชายของนายกรัฐมนตรีหญิงคนปัจจุบัน ได้เดินทางไปกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อพบกับสมเด็จฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา และ พลเอกเตีย บันห์ รองนายกฯและรมว.กลาโหมกัมพูชา พร้อมทั้งนำนักธุรกิจ นักลงทุนต่างประเทศ เพื่อประชุมเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในกัมพูชา
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังช่วยรัฐบาลไทยเจรจากับกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา บริเวณอ่าวไทย ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เข้าไปลงทุนร่วมกับกัมพูชาด้วย
ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า ’พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชามีอะไรน่าสนใจ“ ถึงกับคนระดับ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเร่งรีบดำเนินการแบบออกหน้าออกตา หลังจากเรื่องนี้เกือบได้ข้อตกลงในช่วงที่ “พ.ต.ท.ทักษิณ” เป็นนายกฯ แต่ถูกปฏิวัติในปี 49 ซะก่อน
ว่ากันว่าสองฝ่ายเห็นพ้องกัน ในหลักการแบ่งรายได้ ดังนี้ พื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด ไทยได้รับผลประโยชน์ 80% กัมพูชา 20% ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50%-50% และพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ไทยได้ 20% กัมพูชา 80% ซึ่งในเวลานั้นหากรัฐบาลทักษิณอยู่ต่ออีก 6-7 เดือนคาดว่าจะเจรจาตกลงกันได้แน่นอน
คำตอบง่าย ๆ...คือในพื้นที่ 26,000 ตร.กม.ถือว่าเป็นขุมทรัพย์อันมหาศาลที่นักลงทุนด้านพลังงานระดับขั้นเทพเห็น ข้อมูลแล้วเป็นน้ำลายไหลทุกราย เพราะเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีศักยภาพที่ยังประเมินปริมาณไม่ได้ แต่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 5-10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เรียกว่าสามารถสร้างกำไรแก่ผู้เข้าไปลงทุนเป็นกอบเป็นกำ ขณะที่ประชาชนของทั้งสองประเทศก็สามารถนำก๊าซฯ มาใช้ได้อีก 30-40 ปี
แม้แต่ธนาคารโลกเคยประเมินว่าแหล่งพลังงานในไหล่ทวีปกัมพูชารวมถึงพื้นที่ ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาไว้ว่าน่าจะมีน้ำมัน 2,000 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ทั้งนี้ รมว.พลังงาน ’พิชัย“ ให้เหตุผลว่า การหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในอนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ที่จะมีก๊าซให้ใช้อีกไม่ต่ำกว่า 30-40 ปี หากทั้งสองประเทศตกลงกันได้ ถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ เพราะแหล่งนี้มีเนื้อก๊าซที่มีคุณภาพดีกว่าก๊าซในอ่าวไทย เพราะมีสัดส่วนปิโตรเคมีที่สามารถนำขึ้นมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ธุรกิจปิโตรเคมี ที่มีมูลค่ามากกว่าเนื้อก๊าซที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าได้ถึง 9-20 เท่า
ที่สำคัญอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและโรงแยกก๊าซ ซึ่งทำให้รายได้ของทั้ง 2 ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดเรื่องนี้ไม่มีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง แต่ถือเป็นประโยชน์ร่วมกัน เพราะเป็นการพัฒนาร่วมกันด้านปิโตรเคมีในพื้นที่ทับซ้อน เหมือนกับโครงการพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ)
อย่างไรก็ตามในแง่ของผู้ปฏิบัติงาน อย่าง “ทรงภพ พลจันทร์” อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่ระบุว่า ขณะนี้กำลังจัดเตรียมข้อมูลเรื่องการพัฒนาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนระหว่าง ไทย-กัมพูชา เสนอต่อ รมว.พลังงานคนใหม่เพื่อพัฒนาแหล่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีในการเจรจาหลังจากประเทศไทยเลือกตั้งเสร็จและ พรรคเพื่อไทยเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เพราะ “ฮอร์ นัมฮง” รมว.ต่างประเทศกัมพูชา พร้อมในการเจรจา
โดยที่ผ่านมาได้เจรจาเรื่องนี้มาจนใกล้สำเร็จแล้ว ซึ่งแบ่งพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ออกเป็น 3 พื้นที่ แต่ยังไม่ทราบว่าปริมาณสำรองที่แท้จริงมีเท่าใด แม้ทางกัมพูชา จะคาดว่ามีประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตก็ตาม แต่คาดว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพราะใกล้แหล่งเอราวัณของไทย โดยแนวทางการบริหารพื้นที่เพื่อแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกันสามารถดำเนินการได้ หลายรูป เช่น การแบ่งพื้นที่ฝ่ายละครึ่ง หรือจัดตั้งบริษัทร่วมขึ้นมาบริหารเช่นเดียวกับ พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย เป็นต้น
หากการเจรจาประสบความสำเร็จทางกัมพูชาจะได้รายได้ในการพัฒนาประเทศ ขณะที่ไทยมีปริมาณสำรองก๊าซ เพื่อความมั่นคงไปได้อีก 30-50 ปี จากที่ในขณะนี้ปริมาณก๊าซในอ่าวไทย เริ่มหมดลง และไม่มีแหล่งขนาดใหญ่เข้ามา ซึ่งปริมาณสำรองในอ่าวไทยเหลืออยู่แค่ประมาณกว่า 10 ปีเท่านั้น
แต่ในแง่ความมั่นคงแล้ว “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผู้บัญชาการทหารบก ก็ออกมาให้ข้อคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในพื้นที่ข้อพิพาทนั้น เป็นเรื่องอนาคตและไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นต้องมีการพิสูจน์หรือพูดคุยกันในเรื่องเส้นเขตแดนต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อน ที่สำคัญต้องทำเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้รับทราบทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น รัฐบาลชุดใดก็ตาม ซึ่งต้องให้เวลาในการศึกษารายละเอียดบ้าง เพราะว่าการดำเนินการไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญต้องทำอย่างระมัดระวังและยึดหลักรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ
เช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกมาคัดค้านเรื่องพื้นที่ทับซ้อนตั้งแต่ต้น พร้อมให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการขุดเจาะสำรวจน้ำมันท่าทีของกัมพูชาดีมาก แต่เมื่อมีการสำรวจรู้ถึงปริมาณน้ำมันแบบคร่าว ๆ ปรากฏว่าเพื่อนบ้านก็เปลี่ยนไปทันที โดยกัมพูชาได้อ้างสิทธิในทะเลและขอแบ่งผลประโยชน์น้ำมันในพื้นที่พัฒนาร่วม 90% แบ่งให้ไทยแค่ 10% หากเป็นเช่นนี้ประเทศไทยคงรับไม่ไหวแน่
การหาแหล่งพลังงานเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลและเอกชนต้องเดินหน้าเพื่อรอง รับความต้องการใช้ของคนไทยในอนาคตโดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับ เพื่อนบ้าน แต่การเจรจาต้องให้ประเทศไม่เสียหายและไม่ควรประเคนผลประโยชน์ให้แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง...ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะเกิดความวุ่นวาย.
มนัส แวววันจิตร
หลังจากเงียบอยู่นานเรื่องนี้ได้กลับมาเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังจาก “พิชัย นริพทะพันธุ์” รมว.พลังงาน ได้ขายไอเดียว่าจะนำเงินสำรองระหว่างประเทศ 1.87 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งก้อนใหญ่มาตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ซื้อแหล่งพลังงานต่างประเทศ รวมถึงสินทรัพย์ที่มั่นคง เช่น ทองคำ เงินสกุลหยวน รวมทั้งเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อนำก๊าซขึ้นมาใช้ แม้ว่าในวันนั้นรัฐบาลยังไม่ได้แถลงนโยบายก็ตาม
แต่ในระหว่างบรรทัดของไอเดียของ รมว.พลังงานคนใหม่ ปรากฏข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พี่ชายของนายกรัฐมนตรีหญิงคนปัจจุบัน ได้เดินทางไปกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อพบกับสมเด็จฮุนเซน นายกฯ กัมพูชา และ พลเอกเตีย บันห์ รองนายกฯและรมว.กลาโหมกัมพูชา พร้อมทั้งนำนักธุรกิจ นักลงทุนต่างประเทศ เพื่อประชุมเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในกัมพูชา
นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังช่วยรัฐบาลไทยเจรจากับกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา บริเวณอ่าวไทย ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เข้าไปลงทุนร่วมกับกัมพูชาด้วย
ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า ’พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชามีอะไรน่าสนใจ“ ถึงกับคนระดับ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเร่งรีบดำเนินการแบบออกหน้าออกตา หลังจากเรื่องนี้เกือบได้ข้อตกลงในช่วงที่ “พ.ต.ท.ทักษิณ” เป็นนายกฯ แต่ถูกปฏิวัติในปี 49 ซะก่อน
ว่ากันว่าสองฝ่ายเห็นพ้องกัน ในหลักการแบ่งรายได้ ดังนี้ พื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด ไทยได้รับผลประโยชน์ 80% กัมพูชา 20% ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50%-50% และพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ไทยได้ 20% กัมพูชา 80% ซึ่งในเวลานั้นหากรัฐบาลทักษิณอยู่ต่ออีก 6-7 เดือนคาดว่าจะเจรจาตกลงกันได้แน่นอน
คำตอบง่าย ๆ...คือในพื้นที่ 26,000 ตร.กม.ถือว่าเป็นขุมทรัพย์อันมหาศาลที่นักลงทุนด้านพลังงานระดับขั้นเทพเห็น ข้อมูลแล้วเป็นน้ำลายไหลทุกราย เพราะเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีศักยภาพที่ยังประเมินปริมาณไม่ได้ แต่คาดว่าไม่ต่ำกว่า 5-10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เรียกว่าสามารถสร้างกำไรแก่ผู้เข้าไปลงทุนเป็นกอบเป็นกำ ขณะที่ประชาชนของทั้งสองประเทศก็สามารถนำก๊าซฯ มาใช้ได้อีก 30-40 ปี
แม้แต่ธนาคารโลกเคยประเมินว่าแหล่งพลังงานในไหล่ทวีปกัมพูชารวมถึงพื้นที่ ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาไว้ว่าน่าจะมีน้ำมัน 2,000 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ทั้งนี้ รมว.พลังงาน ’พิชัย“ ให้เหตุผลว่า การหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในอนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ที่จะมีก๊าซให้ใช้อีกไม่ต่ำกว่า 30-40 ปี หากทั้งสองประเทศตกลงกันได้ ถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ เพราะแหล่งนี้มีเนื้อก๊าซที่มีคุณภาพดีกว่าก๊าซในอ่าวไทย เพราะมีสัดส่วนปิโตรเคมีที่สามารถนำขึ้นมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ธุรกิจปิโตรเคมี ที่มีมูลค่ามากกว่าเนื้อก๊าซที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าได้ถึง 9-20 เท่า
ที่สำคัญอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีและโรงแยกก๊าซ ซึ่งทำให้รายได้ของทั้ง 2 ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใดเรื่องนี้ไม่มีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง แต่ถือเป็นประโยชน์ร่วมกัน เพราะเป็นการพัฒนาร่วมกันด้านปิโตรเคมีในพื้นที่ทับซ้อน เหมือนกับโครงการพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ)
อย่างไรก็ตามในแง่ของผู้ปฏิบัติงาน อย่าง “ทรงภพ พลจันทร์” อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่ระบุว่า ขณะนี้กำลังจัดเตรียมข้อมูลเรื่องการพัฒนาพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนระหว่าง ไทย-กัมพูชา เสนอต่อ รมว.พลังงานคนใหม่เพื่อพัฒนาแหล่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีในการเจรจาหลังจากประเทศไทยเลือกตั้งเสร็จและ พรรคเพื่อไทยเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เพราะ “ฮอร์ นัมฮง” รมว.ต่างประเทศกัมพูชา พร้อมในการเจรจา
โดยที่ผ่านมาได้เจรจาเรื่องนี้มาจนใกล้สำเร็จแล้ว ซึ่งแบ่งพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ออกเป็น 3 พื้นที่ แต่ยังไม่ทราบว่าปริมาณสำรองที่แท้จริงมีเท่าใด แม้ทางกัมพูชา จะคาดว่ามีประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตก็ตาม แต่คาดว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เพราะใกล้แหล่งเอราวัณของไทย โดยแนวทางการบริหารพื้นที่เพื่อแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกันสามารถดำเนินการได้ หลายรูป เช่น การแบ่งพื้นที่ฝ่ายละครึ่ง หรือจัดตั้งบริษัทร่วมขึ้นมาบริหารเช่นเดียวกับ พื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย เป็นต้น
หากการเจรจาประสบความสำเร็จทางกัมพูชาจะได้รายได้ในการพัฒนาประเทศ ขณะที่ไทยมีปริมาณสำรองก๊าซ เพื่อความมั่นคงไปได้อีก 30-50 ปี จากที่ในขณะนี้ปริมาณก๊าซในอ่าวไทย เริ่มหมดลง และไม่มีแหล่งขนาดใหญ่เข้ามา ซึ่งปริมาณสำรองในอ่าวไทยเหลืออยู่แค่ประมาณกว่า 10 ปีเท่านั้น
แต่ในแง่ความมั่นคงแล้ว “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผู้บัญชาการทหารบก ก็ออกมาให้ข้อคิดเห็นอย่างน่าสนใจว่า การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในพื้นที่ข้อพิพาทนั้น เป็นเรื่องอนาคตและไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นต้องมีการพิสูจน์หรือพูดคุยกันในเรื่องเส้นเขตแดนต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อน ที่สำคัญต้องทำเรื่องนี้ให้สังคมได้รับรู้รับทราบทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น รัฐบาลชุดใดก็ตาม ซึ่งต้องให้เวลาในการศึกษารายละเอียดบ้าง เพราะว่าการดำเนินการไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญต้องทำอย่างระมัดระวังและยึดหลักรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ
เช่นเดียวกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ออกมาคัดค้านเรื่องพื้นที่ทับซ้อนตั้งแต่ต้น พร้อมให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ยังไม่มีการขุดเจาะสำรวจน้ำมันท่าทีของกัมพูชาดีมาก แต่เมื่อมีการสำรวจรู้ถึงปริมาณน้ำมันแบบคร่าว ๆ ปรากฏว่าเพื่อนบ้านก็เปลี่ยนไปทันที โดยกัมพูชาได้อ้างสิทธิในทะเลและขอแบ่งผลประโยชน์น้ำมันในพื้นที่พัฒนาร่วม 90% แบ่งให้ไทยแค่ 10% หากเป็นเช่นนี้ประเทศไทยคงรับไม่ไหวแน่
การหาแหล่งพลังงานเป็นเรื่องสำคัญมากที่รัฐบาลและเอกชนต้องเดินหน้าเพื่อรอง รับความต้องการใช้ของคนไทยในอนาคตโดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับ เพื่อนบ้าน แต่การเจรจาต้องให้ประเทศไม่เสียหายและไม่ควรประเคนผลประโยชน์ให้แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง...ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะเกิดความวุ่นวาย.
มนัส แวววันจิตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น