วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555
แจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ คณะกรรมการบริษัท ปตท. และพวก
วันที่ 28 มีนาคม 2555
เรื่องขอแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ
1. คณะกรรมการบริษัท ปตท. (รายชื่อกรรมการตามเอกสารแนบท้าย )
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3. ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย และแผนพลังงาน
กราบเรียน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้เสียหาย และเพิ่มเติมดังเอกสารแนบท้าย 1
1.1 นาย ศรัลย์ ธนากรภักดี
1.2 นายเรืองศักดิ์ เจริญผล
1.3 พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
1.4 นอ.บัญชา รัตนาภรณ์
1.5 นายอภิเดช เดชวัฒนสกุล
(3) ชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา
3.1 คณะกรรมการ บริษัทปตท.
3.2 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3.3 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(4) ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดตามข้อกล่าวหา ความเสียหายที่ได้รับพร้อมพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้
ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ได้รับความเสียหาย หรืออาจจะได้รับความเสียหาย และปฏิบัติหน้าที่รักษา ผลประโยชน์ ชาติ จากการที่ผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้รับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพลังงานของประเทศทั้งหมด เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กระทำการละเมิด ดังต่อไปนี้
4.1 ละเมิดคำสั่งศาล และใช้ทรัพน์สินของประชาชนมาแสวงหา ประโยชน์ ในช่วงเวลา ตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม พศ 2550 จนถึงปัจจุบัน เหตุเกิด ณ บริษัท ปตท สำนักงานใหญ่ เลขที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม และสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ถูกศาลปกครองสูงสุด สั่งให้คืน. ท่อก๊าซให้แก่ แผ่นดิน ในคดี หมายเลข คดีแดงที่ ฟ.35/2550 ตามเอกสารแนบ ….2 แต่ปรากฎว่า บริษัท ปตท .มิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลที่ให้คืนท่อก๊าซที่เป็น ส่วนของแผ่นดิน ให้กับรัฐให้หมด แต่ปตท คืนเพียงบางส่วน ตามเอกสารแนบ 3 ดังหนังสือ ของสำนักงานตรวจเงินเเผ่นดิน ที่ ผลสอบของ สตง. ระบุว่าปตท.ยังส่งคืน สมบัติแผ่นดิน ให้ กระทรวงการคลัง ไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา ของศาล ปกครองสูงสุด ยังมีท่อก๊าซฯบนบก และในทะเล มูลค่ารวม 32,613 ล้านบาท เวลาล่วงเลยมาสามปีกว่า จนถึงปัจจุบัน
ในจำนวนนี้เป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่ปรากฏชื่อโครงการในคำพิพากษาของ ศาลปกครอง สูงสุด จำนวน 36,642.76 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แบ่งแยก และส่งมอบให้กระทรวงการคลัง จำนวน 14,808.62 ล้านบาท คงเหลือส่วนที่บริษัทยังไม่ได้แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง จำนวน 21,834.14 ล้านบาท
และเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 ผู้ถูกกล่าวโทษที่1-3 ร่วมกันกระทำ การละเมิด อำนาจศาล ทั้งที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนที่เป็นของรัฐที่ปตท จักต้องคืน ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ทั้งยังนำเอาท่อก๊าซ ที่เป็น ทรัพย์สิน ของแผ่นดิน นำไปใช้แสวงหาประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่า ก๊าซ ผ่านท่อ เพิ่มเติมจากเดิม ตาม หนังสือ
“คู่มือการ คำนวณ ราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติ” ที่ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น มีผลบังคับ ใช้เมื่อ1 เมษายน 2552 ตามเอกสารแนบ 4 จากบันทึกใน “รายงานการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมการธิการ ศึกษา ตรวจสอบ เรื่อง การทุกจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เรื่องธรรมาภิบาล ในระบบ พลังงาน ของประเทศ ภาค1 ภาค 2 หน้า 22-26 ที่ผ่านที่ ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบเเล้วเมื่อ วันที่ 4 พค. 53 และ15 สค. 54 ทำให้เกิดรายได้ และ ผลประโยชน์ แก่เอกชน ที่ถือหุ้น ส่วนหนึ่ง ของปตท ตามเอกสารแนบ 5 รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหา ที่1
คณะกรรมการผู้บริหารที่ได้ โบนัส ตามผลกำไรของปตท. เป็นการขูดรีด และ ฉ้อโกงประชาชน ซึ่งหน้า โดย เจ้าหน้าที่รัฐทั้งสาม สมรู้ร่วมคิด ทั้งๆที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนนั้น เป็นสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้ง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้ถูกกล่าวหาที่ สอง ยังใช้เป็น กรอบในการคำนวณ และพิจารณาอนุมัติ ราคาก๊าซ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ โดยมิได้คำนึงถึงว่า ท่อก๊าซเหล่านี้ศาล ได้มีคำสั่งให้คืนแก่แผ่นดินแล้ว ซึ่งทำให้ราคาก๊าซ เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อโครงสร้าง ค่าไฟฟ้าเอฟที ที่คิดจากต้นทุนราคาก๊าซ ที่เพิ่นขึ้น ทั้งค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อ ต้นทุนสินค้าทุกชนิด สร้างความเดือดร้อนต่อ ประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้ง ผู้ร้องเรียนที่เสียหายจากการที่ต้อง รับภาระค่าไฟฟ้า (เอกสารแนบ ใบเสร็จค่าไฟฟ้า ) และราคาสินค้า ทุกชนิด ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสาม มีความผิดตาม มาตรา 368 มาตรา 148 มาตรา 152 มาตรา 157 และ ขัดประมวลจริยะธรรม นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279
4.2 ฉ้อฉลประชาชน หมกเม็ดบิดเบือนข้อมูล เอื้อประโยชน์เอกชน
ในช่วงปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกร้องเรียนที่ 1-3 ให้ข้อมูลสู่สาธารณะ มีการหมกเม็ด ปิดบังบางส่วน เพื่อประโยชน์ ตนเองหรือผู้อื่นทั้งร่วมกัน นำ เสนอ ข้อมูลที่หมกเม็ด บิดเบือน ต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซ LPG ในประเทศ ไม่พอใช้สำหรับครัวเรือน และภาคขนส่ง จนต้องสั่งจากต่างประเทศ (จากข่าวสื่อมวลชน เอกสารแนบ 7 ) จากรายงานของวุฒิสภา ฯ พบว่า ปริมาณก๊าซLPG ที่ใช้ในครัวเรือน และขนส่ง มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น น้อยกว่า ภาคปิโตรเคมี เช่นในปี 2551 และ 2552 ภาคปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 470 พันตัน ส่วนภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น 107 พันตัน ภาคขนส่ง ใช้ลดลง 110 พันตัน (อ้างอิง หนังสือที่ สว. (กมธ.2 ) 0010 /2563 ลงวันที่ 17 มิย 53 เอกสารแนบ 9 )
ส่วนในปี 2554 ช่วงเดือน มค-พค 54 (ช่วง ห้าเดือน ) เทียบกับปี 53 (12 เดือน ) สัดส่วนการใช้ LPG ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11พันตัน ในรถยนต์เพิ่มขึ้น 12 พันตัน ภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 54 พันตัน (ที่มากรมธุรกิจพลังงาน เอกสารแนบ 8 ) ดังนั้น การนำเข้า ก๊าซ LPG ที่นำเข้ามานั้น ใช้ในอุตาหกรรม ปิโตรเคมีมากกว่าครัวเรือน และขนส่ง มาก ไม่ใช่ ใช้ในครัวเรือน หรือขนส่ง แต่เวลาผู้ถูกกล่าวหา ที่หนึ่ง ให้เข่าว สื่อต่อสาธารณะ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า ครัวเรือนและ ภาคขนส่งใช้ก๊าซมากเกินจำนวนที่ผลิต ในประเทศ เอกสารแนบ 7 จนต้องนำเข้า ในราคาสูง ( ทั้งที่ ในประเทศมีปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ เพียงพอ แต่ไม่สร้างโรงแยกก๊าซให้ เพียงพอ ) และ ปตท สั่งก๊าซ โพรเพนและบิวเทน เข้ามา เพื่อ ปิโตรเคมี ในบริษัทลูกของปตท. แต่ไม่แสดงให้ประชาชนรับรู้ เพราะถ้าประชาชน ล่วงรู้ความจริง จะมีการต่อต้าน ทั้งการนำเข้านี้ราคาสูงกว่า ในประเทศ ที่ต้องเอาเงินกองทุนน้ำมัน ที่ผู้ร้องเรียน ต้องแบกภาระ ในรูปของราคาน้ำมันเบนซินและก๊าซโซฮอลล์ ที่เก็บ เงินเข้ากองทุน ลิตรละสองถึง สามบาท ( เอกสารแนบ 10 ) แต่กลับไปเอื้อประโยชน์กลุ่มปิโตรเคมี ที่ส่วนใหญ่ เป็นบริษัทลูก ของปตท ซึ่งสร้างกำไร แก่บริษัทเหล่านี้ เช่น บริษัท ปตท เคมิคอล กำไรเพิ่มขึ้น 180 % .ในไตรมาส สอง ปี 2554 ( ตามเอกสารแนบ 11 ) เท่ากับ เสนอข้อมูล ฉ้อฉล กลลวง เพื่อขูดรีด เงินค่าน้ำมัน ไปชดเชย การนำเข้า ก๊าซ โพรเพนและบิวเทน แต่ออกข่าวเสมือนหนึ่ง ว่าประชาชน ใช้มาก ครัวเรือน และยานยนต์ เพื่อผลประโยชน์ในการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย จากกองทุนน้ำมัน และการกู้เงินเพื่อไปชดเชย ราคาก๊าซที่สั่งเข้ามา เพื่อปิโตรเคมี ถือเป็น หลอกลวงผู้อื่นให้ได้มาซึ่งทรัพย์ เป็นการปกปิดบิดเบือนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ตนเองหรือ ผู้อื่น
จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อ กฎหมายอาญามาตรา 341 มาตรา 148 มาตรา 152 มาตรา 157 ขัดประมวล จริยะธรรมนักการเมือง ข้อ 6 (5) ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ14 และรัฐะรรมนูญมาตรา 279
3 ฉ้อโกง ราคาน้ำมัน
ในเดือน มกราคม- พฤศจิกายน 2553 โดยเทียบราคากับราคาน้ำมันในเดือน ธค พศ 2552 คณะกรรมการ ตรวจสอบฯวุฒิสภาได้พบว่า ประชาชนต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าความ จริง ไม่ได้ ขึ้นลง ตามกลไกราคาตลาดโลกตามมติครม. เช่นในกรณีย์ค่าเงินเเข็งขึ้น และราคาน้ำมันขึ้นลง ตามราคาตลาดโลก ปรากฎว่า ผู้ถูกกล่าวโทษที่1 ได้คิดโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่แพงกว่า ความจริงถึง กว่า 30,000 ล้านบาท เช่น จ่ายค่าราคาน้ำมันเบนซิน 91 สูงเกินไป 4,014.57 ล้านบาท จ่ายค่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 สูงเกินไป 102.10 ล้านบาท จ่ายค่าราคาน้ำมัน ดีเซล สูงเกินไป 28207.74 ล้านบาท รายละเอียดตามรายงาน ของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา (เอกสารแนบ 12 ) สังเกตได้ว่าราคาน้ำมันในประเทศมักจะขึ้น มากกว่าลง และลงช้ากว่าเวลา น้ำมันตลาดโลกแพงขึ้น จะขึ้นเร็วมาก
ดังนั้น ทาง ภาคประชาชน ที่มีรายชื่อแนบท้ายเอกสารนี้จึงขอ ร้องทุกข์ กล่าวโทษแก่บริษัทปตท.จำกัด คณะกรรมการ ปตท. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ แผนพลังงาน ขอให้ ดำเนิน คดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157 จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ที่ทำให้ ผู้ร้องทุกข์ ประชาชน ประเทศชาติ เสียหาย ขาดประโยชน์ ที่พึ่งมีพึ่งได้ตามกฎหมาย
ขอแสดงความนับถือ
ความผิดฐานฉ้อโกง
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะการกระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ :: พ.ต.ท.ศักกพล สุขปาน
1. ต้องมีการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
2. ข้อความนั้นต้องเป็นเท็จและต้องเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่ใช่เหตุการณ์ในอนาคต เว้นแต่เหตุการณ์ในอนาคตนั้นพออนุมานได้ว่าเป็นการแสดงถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันรวมอยู่ด้วย
4. การแสดงข้อความเท็จนั้น อาจเป็นเท็จต่อเพียงบางส่วนก็ได้ ไม่จำต้องเท็จทั้งหมด
5. การหลอกลวงนั้นต้องกระทำก่อนที่จะได้ทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ถ้าได้ทรัพย์มาในความครอบครองก่อนแล้ว จึงหลอกลวงไม่เป็นฉ้อโกง
7. การแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น อาจกระทำด้วยทางวาจา กิริยาท่าทาง ลายลักษณ์อักษร เครื่องขยายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ หรืออื่นๆก็ได้ กฎหมายไม่จำกัดเฉพาะทางวาจาเท่านั้น
8. การปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง คือจะต้องรู้ความจริงแล้วนิ่งเสียไม่ยอมบอกให้เขาทราบเพื่อจะให้ได้ทรัพย์สิน ฯ อาจกระทำโดยกิริยา ท่าทาง หรืออย่างอื่นๆก็ได้
10. การหลอกลวงนั้นต้องทำให้เขาหลงเชื่อและได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หรือ ทำให้เขาทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หากให้เพราะความสงสารหรือเพื่อจะเอาเป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีหรือไม่เชื่อจึงไม่ให้ทรัพย์ หรือเชื่อแต่ไม่ให้ทรัพย์หรือไม่มีทรัพย์จะให้ ดังนี้ เป็นเพียงความผิดฐานพยายามฉ้อโกง
14. ความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตมาก่อนหรือในขณะหลอกลวงอันเป็นเหตุให้ได้ทรัพย์นั้น ถ้าผู้กระทำมีเจตนาทุจริตขึ้นในภายหลังไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่ผิดฐานยักยอก
15. ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น ต้องหลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่น การหลอกลวงเอาทรัพย์ของตนเองไปจากผู้อื่นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ดูฎีกาที่ 16/2510
http://www.police.go.th/
เขียนโดย Airfresh-Society
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
เอกสารผังประเทศ พ.ศ.๒๖๐๐ กรมโยธาธิการและผังเมือง
Amy Wong
สำคัญ
เอกสารผังประเทศ พ.ศ.๒๖๐๐ เล่มนี้มีสามร้อยกว่าหน้า เป็นเล่มที่ไม่มีบนเวบ เป็นเล่มสำคัญเล่มหนึ่ง
...แผนที่ปิโตรเลียม ที่พบจนตามไปถึง บ่อน้ำมันทวีวัฒนา ก็มาจากร่องรอยในเล่นนี้ ---เป็นเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำตามติ ครม.9กค2545 โดยบริษัทที่รปึกษา ปัญญา คอท และ ทีม
หากไม่มีเวลาอ่านจริงจัง อย่างน้อยขอให้ผ่านตาทุกหน้า สักครั้ง ...
สำคัญ
เอกสารผังประเทศ พ.ศ.๒๖๐๐ เล่มนี้มีสามร้อยกว่าหน้า เป็นเล่มที่ไม่มีบนเวบ เป็นเล่มสำคัญเล่มหนึ่ง
...แผนที่ปิโตรเลียม ที่พบจนตามไปถึง บ่อน้ำมันทวีวัฒนา ก็มาจากร่องรอยในเล่นนี้ ---เป็นเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดทำตามติ ครม.9กค2545 โดยบริษัทที่รปึกษา ปัญญา คอท และ ทีม
หากไม่มีเวลาอ่านจริงจัง อย่างน้อยขอให้ผ่านตาทุกหน้า สักครั้ง ...
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
Open publication - Free publishing
วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555
น้ำมันของเรากำลังจะถูกปล้น
โดย สุนันท์ ศรีจันทรา
การขุดเจาะหาน้ำมันที่พุทธมณฑลสาย 2 เขตทวีวัฒนา ถูกชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านเพราะหวั่นเกรงผลกระทบที่จะตามมา โดยไม่มีหน่วยงานใดออกมาชี้แจงข้อมูลการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเอกชนอย่างชัดเจน
น้ำมันในเขตทวีวัฒนามีหรือไม่ หลายคนสงสัย คำตอบคือมีแน่ และบริษัทที่ได้รับสัมปทานคงสำรวจตรวจสอบก่อนหน้าแล้วโดยรู้ว่ามี เพราะถ้าไม่มี คงไม่ลงทุนขุดเจาะ
อาจมีคำถามต่อว่า ประเทศไทยมีน้ำมันมากขนาดไหน เท่าที่ดูข้อมูลการสำรวจจากหลายแหล่งต้องยืนยันว่ามีมาก และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีปริมาณน้ำมันติดอันดับต้นของโลก จะด้อยกว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางเท่านั้น
ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน กำลังติดตามข้อมูลปิโตรเลียมในประเทศไทย และเกาะติดการขุดเจาะน้ำมันที่พุทธมณฑลสาย 2 โดยตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ โดยเฉพาะผลกระทบที่ชาวบ้านเขตทวีวัฒนาจะได้รับ
แต่การชี้แจงจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นคำตอบที่อ้อมแอ้ม ไม่ได้ให้ข้อมูลสัมปทานการขุดเจาะปริมาณน้ำมันและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในเขตทวีวัฒนามากนัก
ส.ว.คำนูณรู้ข้อมูลด้านปิโตรเลียมอยู่พอสมควร แต่ก็ยังรับรู้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีใครรู้ลึก
และแทบไม่รู้เลยว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่มีปิโตรเลีมอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุเพราะข้อมูลปิโตรเลียมจัดหมวดหมู่ไว้กระจัดกระจาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลไม่พยายามเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ เข้าข่ายการอุ๊บอิ๊บปกปิดข้อมูล
เช่นเดียวกับข้อมูลการบริหารจัดการปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้เลยว่า ใช้น้ำมันดิบในประเทศเท่าไหร่ ขุดก๊าซธรรมชาติมาขายเท่าไหร่ และซื้อปิโตรเลียมจากต่างประเทศในราคาต้นทุนเท่าไหร่ กำลังการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศแต่ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคำนวณ
ข้อมูลที่สำคัญเพื่อแสดงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ถามให้คอแหบแห้งตาย ก็ไม่ได้รับคำตอบจาก ปตท.และไม่เคยมีรัฐบาลชุดใด เค้นคอให้ ปตท.ตอบเสียด้วย
ผลประโยชน์จากน้ำมันมีมหาศาล และนำไปสู่ความขัดแย้งทั่วโลกจนถึงขั้นเปิดศึกทำสงครามเข่นฆ่ากันเพื่อยึดแหล่งน้ำมัน
ปริมาณน้ำมันของไทยมีอยู่ไม่ใช่น้อย มีกลุ่มคนและกลุ่มทุนสามานย์เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์กันนับสิบๆ ปีแล้ว เพียงแต่ประชาชนถูกปิดหูปิดตา
ถ้าประชาชนได้รับรู้ว่า ปู่ย่าตายายของเราทิ้งสมบัติเป็นทองคำอยู่ใต้ดิน ถ้าได้รับรู้ว่า ลูกหลานเรามีทรัพยากรล้ำค่า มีน้ำมันที่ขุดขึ้นมาใช้มาขายทำให้ประเทศมั่นคั่ง ทุกคนได้มีชีวิตที่สุขสบายขึ้น ความขัดแย้งในทางสังคมคงปะทุขึ้น
เพราะประชาชนคงไม่ยอมให้ใครมาปล้นทรัพยากรเหมือนที่เป็นมาหลายสิบปี
ทุกวันนี้มีการขุดปิโตรเลียมขึ้นมาขายไม่ต่ำกว่าวันละ 8 แสนบาร์เรล โดยเป็นปิโตรเลียมในประเทศไทยล้วนๆ กว่า 6 แสนบาร์เรล และอีกกว่า 1 แสนบาร์เรลเป็นการขุดเจาะเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย
ในอนาคตจะมีการขุดเจาะขึ้นอีกในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีปิโตรเลียมอย่างสมบูรณ์ทั้งน้ำมันและก๊าซโดยบริษัท เชฟรอน บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ปักหลักยึดสัมปทานพื้นที่ส่วนใหญ่ไว้แล้ว
ต้องขอบอกว่า พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทย-กัมพูชา มีทรัพยากรปิโตรเลียมมหาศาล และผลประโยชน์ควรตกทอดถึงประชาชนทุกคน
แต่กำลังมีกลุ่มคนทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์ ทำให้ไทยเสียเปรียบในข้อตกลงพื้นที่ทับซ้อน เพื่อกอบโกยผลประโยชน์มหาศาลเข้ากระเป๋าตัวเอง
ปัจจุบันประเทศมีการบริโภคน้ำมันวันละประมาณ 100 ล้านลิตร คำนวณคร่าวๆ ใช้น้ำมันดิบประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรล โดย 1 บาร์เรลเท่ากับน้ำมันประมาณ 149 ลิตร
ถ้ามีการขุดเจาะน้ำมันจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาเพิ่มเติม จะทำให้มีการขุดเจาะน้ำมันดิบได้ประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรลเป็นอย่างน้อย เมื่อรวมกับแหล่งที่ขุดเจาะเดิม
ปริมาณน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศไทยโชติช่วงชัชวาลไม่ต้องเดือดร้อนการนำเข้า ไม่ต้องบริโภคน้ำมันแพง ไม่ต้องหวั่นไหวว่าน้ำมันในตลาดโลกจะทะลุไปเท่าไหร่แล้ว
แต่เสียใจด้วย ถึงเราจะมีน้ำมันใต้ดินเท่าไหร่ ประชาชนก็ยังต้องบริโภคน้ำมันแพงต่อไป เพราะพวกเราทุกคนถูกปล้นน้ำมันไปแล้ว
การขุดเจาะหาน้ำมันที่พุทธมณฑลสาย 2 เขตทวีวัฒนา ถูกชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านเพราะหวั่นเกรงผลกระทบที่จะตามมา โดยไม่มีหน่วยงานใดออกมาชี้แจงข้อมูลการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเอกชนอย่างชัดเจน
น้ำมันในเขตทวีวัฒนามีหรือไม่ หลายคนสงสัย คำตอบคือมีแน่ และบริษัทที่ได้รับสัมปทานคงสำรวจตรวจสอบก่อนหน้าแล้วโดยรู้ว่ามี เพราะถ้าไม่มี คงไม่ลงทุนขุดเจาะ
อาจมีคำถามต่อว่า ประเทศไทยมีน้ำมันมากขนาดไหน เท่าที่ดูข้อมูลการสำรวจจากหลายแหล่งต้องยืนยันว่ามีมาก และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีปริมาณน้ำมันติดอันดับต้นของโลก จะด้อยกว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางเท่านั้น
ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน กำลังติดตามข้อมูลปิโตรเลียมในประเทศไทย และเกาะติดการขุดเจาะน้ำมันที่พุทธมณฑลสาย 2 โดยตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ โดยเฉพาะผลกระทบที่ชาวบ้านเขตทวีวัฒนาจะได้รับ
แต่การชี้แจงจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นคำตอบที่อ้อมแอ้ม ไม่ได้ให้ข้อมูลสัมปทานการขุดเจาะปริมาณน้ำมันและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในเขตทวีวัฒนามากนัก
ส.ว.คำนูณรู้ข้อมูลด้านปิโตรเลียมอยู่พอสมควร แต่ก็ยังรับรู้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีใครรู้ลึก
และแทบไม่รู้เลยว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่มีปิโตรเลีมอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ
สาเหตุเพราะข้อมูลปิโตรเลียมจัดหมวดหมู่ไว้กระจัดกระจาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลไม่พยายามเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ เข้าข่ายการอุ๊บอิ๊บปกปิดข้อมูล
เช่นเดียวกับข้อมูลการบริหารจัดการปิโตรเลียมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้เลยว่า ใช้น้ำมันดิบในประเทศเท่าไหร่ ขุดก๊าซธรรมชาติมาขายเท่าไหร่ และซื้อปิโตรเลียมจากต่างประเทศในราคาต้นทุนเท่าไหร่ กำลังการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศแต่ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคำนวณ
ข้อมูลที่สำคัญเพื่อแสดงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ถามให้คอแหบแห้งตาย ก็ไม่ได้รับคำตอบจาก ปตท.และไม่เคยมีรัฐบาลชุดใด เค้นคอให้ ปตท.ตอบเสียด้วย
ผลประโยชน์จากน้ำมันมีมหาศาล และนำไปสู่ความขัดแย้งทั่วโลกจนถึงขั้นเปิดศึกทำสงครามเข่นฆ่ากันเพื่อยึดแหล่งน้ำมัน
ปริมาณน้ำมันของไทยมีอยู่ไม่ใช่น้อย มีกลุ่มคนและกลุ่มทุนสามานย์เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์กันนับสิบๆ ปีแล้ว เพียงแต่ประชาชนถูกปิดหูปิดตา
ถ้าประชาชนได้รับรู้ว่า ปู่ย่าตายายของเราทิ้งสมบัติเป็นทองคำอยู่ใต้ดิน ถ้าได้รับรู้ว่า ลูกหลานเรามีทรัพยากรล้ำค่า มีน้ำมันที่ขุดขึ้นมาใช้มาขายทำให้ประเทศมั่นคั่ง ทุกคนได้มีชีวิตที่สุขสบายขึ้น ความขัดแย้งในทางสังคมคงปะทุขึ้น
เพราะประชาชนคงไม่ยอมให้ใครมาปล้นทรัพยากรเหมือนที่เป็นมาหลายสิบปี
ทุกวันนี้มีการขุดปิโตรเลียมขึ้นมาขายไม่ต่ำกว่าวันละ 8 แสนบาร์เรล โดยเป็นปิโตรเลียมในประเทศไทยล้วนๆ กว่า 6 แสนบาร์เรล และอีกกว่า 1 แสนบาร์เรลเป็นการขุดเจาะเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย
ในอนาคตจะมีการขุดเจาะขึ้นอีกในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีปิโตรเลียมอย่างสมบูรณ์ทั้งน้ำมันและก๊าซโดยบริษัท เชฟรอน บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ปักหลักยึดสัมปทานพื้นที่ส่วนใหญ่ไว้แล้ว
ต้องขอบอกว่า พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทย-กัมพูชา มีทรัพยากรปิโตรเลียมมหาศาล และผลประโยชน์ควรตกทอดถึงประชาชนทุกคน
แต่กำลังมีกลุ่มคนทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์ ทำให้ไทยเสียเปรียบในข้อตกลงพื้นที่ทับซ้อน เพื่อกอบโกยผลประโยชน์มหาศาลเข้ากระเป๋าตัวเอง
ปัจจุบันประเทศมีการบริโภคน้ำมันวันละประมาณ 100 ล้านลิตร คำนวณคร่าวๆ ใช้น้ำมันดิบประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรล โดย 1 บาร์เรลเท่ากับน้ำมันประมาณ 149 ลิตร
ถ้ามีการขุดเจาะน้ำมันจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาเพิ่มเติม จะทำให้มีการขุดเจาะน้ำมันดิบได้ประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรลเป็นอย่างน้อย เมื่อรวมกับแหล่งที่ขุดเจาะเดิม
ปริมาณน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศไทยโชติช่วงชัชวาลไม่ต้องเดือดร้อนการนำเข้า ไม่ต้องบริโภคน้ำมันแพง ไม่ต้องหวั่นไหวว่าน้ำมันในตลาดโลกจะทะลุไปเท่าไหร่แล้ว
แต่เสียใจด้วย ถึงเราจะมีน้ำมันใต้ดินเท่าไหร่ ประชาชนก็ยังต้องบริโภคน้ำมันแพงต่อไป เพราะพวกเราทุกคนถูกปล้นน้ำมันไปแล้ว
วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555
ท่าทางจะเอา (ไม่) อยู่ ตอนต่อ "เจาะน้ำมันในกรุงเทพ ชาวกรุงเทพทั้งหมดมีโอกาสเสี่ยงตาย"
*จากเฟซบุ๊ก Ruktai Ace Prurapark(รักไทย บูรพ์ภาค)
ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : รองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา และ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม
ดูเหมือนว่าทางผู้ใหญ่ในกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน จะทำการขุดเจาะสำรวจน้ำมันที่เขตทวีวัฒนา (พุทธมณฑลสาย 2) แน่นอนครับ เห็นบอกว่า ดีเดย์ วันที่ 6 มีนาคมนี้ ได้ฟังข้อมูลที่ท่านพูดผ่านสิ่อมาผมได้ยินผมก็พูดไม่ออกครับ จริงๆถ้ามองอย่างเป็นกลางผมมองว่าทางท่านก็คงพยายามทำงาน อย่างเต็มที่และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ คนหนึ่งครับ ซึ่งผมก็คิดว่าท่านก็คงมองแบบหวังดี ต่อประเทศนะครับ แต่เหตุผล ที่ท่านให้มาดูเหมือนว่ายังไม่ครอบคลุมทั้งหมดครับ ที่ท่านบอกเจาะแล้วแผ่นดินแถวนั้นไม่ทรุด อันที่จริงเหตุผลของท่านที่พูดมาก็ถูกครับ หรือถ้าเกิดก็น้อย ก็จริงครับ แต่มุมมองของผมที่พอมีความรู้วิศวกรขุดเจาะน้ำมันมาบ้าง อยากเรียนให้ท่านมองรอบด้านด้วยครับ อยากให้มองถึงผลกระทบจากสารเคมี หรือ สารพิษ ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะน้ำมันด้วยครับ บทความหรือข้อคิดเห็นของผม ผมไม่ได้พูดถึงแผ่นดินทรุดตัวเลยครับ ผมทราบครับถ้ามีก็โอกาสน้อยครับ แต่ที่ผมพูดถึงผมหมายถึง โอกาสสารเคมีปนเปื้อนกับแหล่งน้ำบนดิน (อ่านเพิ่มจากตอนแรกได้ครับ)
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000027196
เช่น แม่น้ำ บ่อน้ำบาดาล ทางน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน ระบบน้ำประปา รวมไปถึง โอกาสที่จะปนเปื้อนถึงอ่าวไทยครับ ที่ผมพูดมาอย่างที่บอกครับ ว่ามีหลายกรณีตัวอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาในช่วง 2-3 ปีนี้ เกี่ยวกับแหล่งน้ำบนดิน ปนเปื้อนสารพิษที่ใกล้แหล่งขุดเจาะน้ำมัน และเกือบทุก กรณี เจ้าทุกข์ หรือ ผู้ได้รับความเสียหายชนะคดี และบริษัทที่โดนดำเนินคดี ก็โดนฟ้องจน โดนปิดบริษัทก็มีนะครับ (ส่วนใหญ่บริษัทที่โดนเป็น บริษัทน้ำมันใหม่ หรือ ขนาดเล็กนะครับ บริษัทใหญ่ๆ เค้าไม่มาเสี่ยงเจาะใกล้ๆชุมชนหรอกครับ เพราะอาจจะมีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย หรือ กระทบภาพลักษณ์บริษัทนะครับ) อีกทั้งลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งก่อนการขุดเจาะ บริษัทเหล่านี้ก็ต้องทำแบบประเมินและ ผมว่าต้องผ่านการอนุมัติมาแล้วนะครับ แต่อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือ ประมาทอย่างไร ไม่ทราบได้ แต่ผลก็อย่างที่เห็นครับ มีการดำเนินคดีต่อเนื่องเรื่อยๆ แล้ว วันนี้ชาวชุมชนบริเวณหลุมขุดเจาะ และ ชาวกทม 5 ล้านกว่าคน รวมถึงละแวกใกล้เคียง มีความรู้ มีความสามารถ เราจะมาเสี่ยงทำไมละครับ ถ้ามองให้ลึกและเปิดใจกว้างจริงๆ ในอนาคตผมเองก็ไม่ต้องการให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประชาชนและ บริษัท มิตร้า เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงานด้วยนะครับ พวกเราคนไทยยังมีทางเลือกครับ เห็นว่าวันที่เริ่มเจาะจะมีการเรียกนักข่าวไปดูสถานที่เป็นสิ่งที่ดีและน่าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ผลกระทบเหล่านี้ จะเกิดขึ้นตอนเจาะไปแล้วหรือ จนเจาะเสร็จแล้วซักระยะหนึ่งกว่าจะเห็นครับ แล้ววันนั้นจะพวกพี่ๆน้องๆสื่อมวลชนจะเห็นอะไรครับ??? ขออนุญาติถามกลับแล้วจะเจาะสำรวจหลุมนี้ทำไมครับ เพราะมันตั้งอยู่ผิดตามบรรทัดฐานหลักการสากลอยู่แล้วครับคือ ไม่สามารถเจาะใกล้แหล่งชุมชนได้ ผมเห็นมีหลายคำถามถึงผม ผมขออนุญาติตอบเป็นประเด็นดังนี้ครับ
ประเด็นแรก เจาะน้ำมันหลุมนี้ ลึก 2 กิโลเมตร จะปลอดภัยไหม ก็มีหลายความเห็นครับ ก็จริงครับไม่ใช่ว่าเจาะทุกหลุมจะเกิดอันตรายทุกหลุมนะครับ แต่มีความเสี่ยงสูงครับ โดยเฉพาะยิ่งใกล้แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ด้วย จริงๆแล้วผมไม่ได้มีอคติกับการกระบวนการขุดเจาะน้ำมันเลยครับ แม้ว่าผมจะอยากให้บ้านเราเน้นพลังงานทดแทนก็ตาม แต่ประเด็นผมคือ ทำไมเราต้องให้คนมากกว่า 5 ล้านคนต้องมารับความเสี่ยงด้วยละครับ กรณีอย่างน้ำท่วม หรือ หลายๆเหตุการณ์ในไทย ให้บทเรียนพวกเรามามากพอแล้วครับ ผมไม่อยากคิดว่าถ้าน้ำท่วมมาพร้อมกับการรั่วไหลของสารเคมีในหลุมแล้วจะเป็นอย่างไร
ประเด็นที่ สอง ทำไมผมมาพูดตอนนี้ ก็เพราะอยู่ในช่วงที่เรายังควบคุมได้เพราะทางบริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงาน ยังอยู่ในการเจาะขั้นต้น เราสามารถยับยั้งได้ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการอนุญาตการขุดเจาะน้ำมันในที่ชุมชนอีก ไม่เฉพาะแม้แต่ในกรุงเทพ นะครับ ผมเห็นว่าวันนี้ คนไทยหลายๆคน ถามหาบรรทัดฐานทางสังคม ผมว่าตรงนี้จะเป็นตัวตอบคำถามเราว่า เรายอมหรือไม่ ที่จะให้มีการขุดเจาะน้ำมัน อย่างถูกต้องอย่างเสรีทุกตารางนิ้ว ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งในชุมชน
ประเด็นสุดท้าย เรื่องนี้ที่ถูกควรเป็นอย่างไร อันนี้ผมคงตอบเแทนไม่ได้ เพราะผืนแผ่นดินนี้ เป็นของคนไทยทุกคน ก็ควรจะฟังความเห็นของคนไทยทั้งหมดนะครับ แต่ถ้าตามที่ผมทราบ ขออนุญาติเอาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ (เพราะเข้าถึงง่าย) ครับ หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา มีการร่างกฎหมายขึ้นขอยกตัวอย่างกฎหมายจากผลจากการขุดเจาะน้ำมันสั้นๆนะครับ ว่า ห้ามมีการเจาะใกล้ในเขตชุมชน ในระยะเขตอันตรายร้ายแรงในรัศมี 100 เมตร และ ให้อยู่ในเขตเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดรัศมี 80 กิโลเมตร (ยิ่งใกล้มากยิ่งเสี่ยงมาก) แล้วถ้าดูจากจุดที่เจาะแล้ว กทม อยู่ห่างจากจุดที่เจาะ น้อยกว่า 20 กิโลเมตรด้วยซ้ำ ไหนจะชุมชนละแวกนั้นอีก ผมว่าอันตรายอย่างมากครับ ที่จะเอาประชาชน บริเวณนี้ มากกว่า 5 ล้านคนเป็นตัวประกันครับ เรายังมีอีกหลายทางเลือกครับ สำหรับทางเลือกในเรื่องนี้ของหลายๆฝ่ายคงมีตามต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับที่จะเลือกกันเองนะครับ เช่น
- ทางกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน ถอนสัมปทาน หรือพูดง่ายๆยกเลิกสัมปทานแปลงนี้ไป อาจจะต้องคืนเงินผู้รับสัมปทาน และออกกฎหมายไม่ให้มีการขุดเจาะ ใกล้แหล่งชุมชนอีกต่อไปในอนาคต
- เจาะดำเนินการต่อ แล้วจ่ายค่าชดเชยให้คนในชุมชน และ กทม รวมถึงระแวกข้างเคียงทั้งหมดในฐานะที่ต้องมาเสี่ยงได้รับสารพิษ ถ้ามีการอนุญาตให้ดำเนินการขุดเจาะน้ำมันบริเวณใกล้ชุมชนแห่งนี้แล้ว อนาคตอาจมีแนวโน้มเกิดกรณีเดียวกันเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นใกล้ชุมชนอีก ความเสี่ยงอันตรายก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับครับ อีกทั้งในกระบวนการเจาะมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสี ด้วยนะครับ แม้ว่าจำนวนน้อย แต่ก็ผิดพลาดได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับ นั่นเป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทพยายามไม่เจาะใกล้แหล่งชุมชนครับ ยกตัวอย่าง เช่น การใช้สารซีเซียม137 ในกระบวนการขุดเจาะ (เป็นสารตัวเดียวกับที่มีผลกระทบจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นครับ) ผลกระทบของมันผมว่าให้ นักวิทยาศาสตร์ หรือ แพทย์ มาให้ข้อมูลจะดีกว่าผมครับ อย่างที่บอกครับน้อยแต่ก็มีความเสี่ยงครับ ซึ่งถ้าเจาะในที่ไกลแหล่งชุมชนปกติแล้วไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ ที่ผมมาบอกไม่ได้ต้องการทำให้ตื่นตระหนก แต่เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนในพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ต้องทราบครับ
อย่างที่บอกครับ ผมไม่ได้อคติกับกระบวนการขุดเจาะน้ำมันหรือ บอกว่าห้ามมีการขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทย แต่ผมชี้ให้เห็นถึงภัยของการขุดเจาะน้ำมันบนดินใกล้แหล่งชุมชนครับ โดยเฉพาะพี่น้องชาวกรุงเทพครับ
ผมว่าทางออกอย่างถาวร คือ การมีนโยบายพลังงาน อย่างมีแบบมีแผนเป็นระบบ สำหรับระยะสั้น ให้เจาะใช้เฉพาะแหล่ง เร่งนโยบายพลังงานทดแทน ไม่อนุญาติให้เจาะใกล้ชุมชน ระยะยาว ให้ขุดเจาะในประเทศน้อยลง แล้วเน้นด้านพลังงานทดแทนเต็มตัว และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การใช้พลังงานของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Demand Side Management (DSM) ครับ อยากให้มองว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องของทุกคน และทุกคนมีส่วนช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น นักรัฐศาสตร์ นักกฎหมาย สื่อมวลชน นักธรณีวิทยา วิศวกร สถาปนิก แพทย์ นักการเมือง ครู อื่นๆ และประชาชนทุกคนครับ
http://www.youtube.com/watch?v=dZe1AeH0Qz8
http://www.yourlawyer.com/topics/overview/hydraulic_fracturing_fracking
http://www.epa.gov/radiation/tenorm/oilandgas.html
http://www.dmf.go.th/dmfweb/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=21&lang=th
แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม อัปเดตล่าสุดปี 2009 ดูที่แปลง L45/50 แปลงอื่นไม่แน่ใจว่าอัปเดตหรือไม่ จาก กรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน
ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : รองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา และ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม
ดูเหมือนว่าทางผู้ใหญ่ในกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน จะทำการขุดเจาะสำรวจน้ำมันที่เขตทวีวัฒนา (พุทธมณฑลสาย 2) แน่นอนครับ เห็นบอกว่า ดีเดย์ วันที่ 6 มีนาคมนี้ ได้ฟังข้อมูลที่ท่านพูดผ่านสิ่อมาผมได้ยินผมก็พูดไม่ออกครับ จริงๆถ้ามองอย่างเป็นกลางผมมองว่าทางท่านก็คงพยายามทำงาน อย่างเต็มที่และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ คนหนึ่งครับ ซึ่งผมก็คิดว่าท่านก็คงมองแบบหวังดี ต่อประเทศนะครับ แต่เหตุผล ที่ท่านให้มาดูเหมือนว่ายังไม่ครอบคลุมทั้งหมดครับ ที่ท่านบอกเจาะแล้วแผ่นดินแถวนั้นไม่ทรุด อันที่จริงเหตุผลของท่านที่พูดมาก็ถูกครับ หรือถ้าเกิดก็น้อย ก็จริงครับ แต่มุมมองของผมที่พอมีความรู้วิศวกรขุดเจาะน้ำมันมาบ้าง อยากเรียนให้ท่านมองรอบด้านด้วยครับ อยากให้มองถึงผลกระทบจากสารเคมี หรือ สารพิษ ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะน้ำมันด้วยครับ บทความหรือข้อคิดเห็นของผม ผมไม่ได้พูดถึงแผ่นดินทรุดตัวเลยครับ ผมทราบครับถ้ามีก็โอกาสน้อยครับ แต่ที่ผมพูดถึงผมหมายถึง โอกาสสารเคมีปนเปื้อนกับแหล่งน้ำบนดิน (อ่านเพิ่มจากตอนแรกได้ครับ)
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000027196
เช่น แม่น้ำ บ่อน้ำบาดาล ทางน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน ระบบน้ำประปา รวมไปถึง โอกาสที่จะปนเปื้อนถึงอ่าวไทยครับ ที่ผมพูดมาอย่างที่บอกครับ ว่ามีหลายกรณีตัวอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาในช่วง 2-3 ปีนี้ เกี่ยวกับแหล่งน้ำบนดิน ปนเปื้อนสารพิษที่ใกล้แหล่งขุดเจาะน้ำมัน และเกือบทุก กรณี เจ้าทุกข์ หรือ ผู้ได้รับความเสียหายชนะคดี และบริษัทที่โดนดำเนินคดี ก็โดนฟ้องจน โดนปิดบริษัทก็มีนะครับ (ส่วนใหญ่บริษัทที่โดนเป็น บริษัทน้ำมันใหม่ หรือ ขนาดเล็กนะครับ บริษัทใหญ่ๆ เค้าไม่มาเสี่ยงเจาะใกล้ๆชุมชนหรอกครับ เพราะอาจจะมีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย หรือ กระทบภาพลักษณ์บริษัทนะครับ) อีกทั้งลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งก่อนการขุดเจาะ บริษัทเหล่านี้ก็ต้องทำแบบประเมินและ ผมว่าต้องผ่านการอนุมัติมาแล้วนะครับ แต่อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือ ประมาทอย่างไร ไม่ทราบได้ แต่ผลก็อย่างที่เห็นครับ มีการดำเนินคดีต่อเนื่องเรื่อยๆ แล้ว วันนี้ชาวชุมชนบริเวณหลุมขุดเจาะ และ ชาวกทม 5 ล้านกว่าคน รวมถึงละแวกใกล้เคียง มีความรู้ มีความสามารถ เราจะมาเสี่ยงทำไมละครับ ถ้ามองให้ลึกและเปิดใจกว้างจริงๆ ในอนาคตผมเองก็ไม่ต้องการให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประชาชนและ บริษัท มิตร้า เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงานด้วยนะครับ พวกเราคนไทยยังมีทางเลือกครับ เห็นว่าวันที่เริ่มเจาะจะมีการเรียกนักข่าวไปดูสถานที่เป็นสิ่งที่ดีและน่าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ผลกระทบเหล่านี้ จะเกิดขึ้นตอนเจาะไปแล้วหรือ จนเจาะเสร็จแล้วซักระยะหนึ่งกว่าจะเห็นครับ แล้ววันนั้นจะพวกพี่ๆน้องๆสื่อมวลชนจะเห็นอะไรครับ??? ขออนุญาติถามกลับแล้วจะเจาะสำรวจหลุมนี้ทำไมครับ เพราะมันตั้งอยู่ผิดตามบรรทัดฐานหลักการสากลอยู่แล้วครับคือ ไม่สามารถเจาะใกล้แหล่งชุมชนได้ ผมเห็นมีหลายคำถามถึงผม ผมขออนุญาติตอบเป็นประเด็นดังนี้ครับ
ประเด็นแรก เจาะน้ำมันหลุมนี้ ลึก 2 กิโลเมตร จะปลอดภัยไหม ก็มีหลายความเห็นครับ ก็จริงครับไม่ใช่ว่าเจาะทุกหลุมจะเกิดอันตรายทุกหลุมนะครับ แต่มีความเสี่ยงสูงครับ โดยเฉพาะยิ่งใกล้แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ด้วย จริงๆแล้วผมไม่ได้มีอคติกับการกระบวนการขุดเจาะน้ำมันเลยครับ แม้ว่าผมจะอยากให้บ้านเราเน้นพลังงานทดแทนก็ตาม แต่ประเด็นผมคือ ทำไมเราต้องให้คนมากกว่า 5 ล้านคนต้องมารับความเสี่ยงด้วยละครับ กรณีอย่างน้ำท่วม หรือ หลายๆเหตุการณ์ในไทย ให้บทเรียนพวกเรามามากพอแล้วครับ ผมไม่อยากคิดว่าถ้าน้ำท่วมมาพร้อมกับการรั่วไหลของสารเคมีในหลุมแล้วจะเป็นอย่างไร
ประเด็นที่ สอง ทำไมผมมาพูดตอนนี้ ก็เพราะอยู่ในช่วงที่เรายังควบคุมได้เพราะทางบริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงาน ยังอยู่ในการเจาะขั้นต้น เราสามารถยับยั้งได้ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการอนุญาตการขุดเจาะน้ำมันในที่ชุมชนอีก ไม่เฉพาะแม้แต่ในกรุงเทพ นะครับ ผมเห็นว่าวันนี้ คนไทยหลายๆคน ถามหาบรรทัดฐานทางสังคม ผมว่าตรงนี้จะเป็นตัวตอบคำถามเราว่า เรายอมหรือไม่ ที่จะให้มีการขุดเจาะน้ำมัน อย่างถูกต้องอย่างเสรีทุกตารางนิ้ว ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งในชุมชน
ประเด็นสุดท้าย เรื่องนี้ที่ถูกควรเป็นอย่างไร อันนี้ผมคงตอบเแทนไม่ได้ เพราะผืนแผ่นดินนี้ เป็นของคนไทยทุกคน ก็ควรจะฟังความเห็นของคนไทยทั้งหมดนะครับ แต่ถ้าตามที่ผมทราบ ขออนุญาติเอาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ (เพราะเข้าถึงง่าย) ครับ หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา มีการร่างกฎหมายขึ้นขอยกตัวอย่างกฎหมายจากผลจากการขุดเจาะน้ำมันสั้นๆนะครับ ว่า ห้ามมีการเจาะใกล้ในเขตชุมชน ในระยะเขตอันตรายร้ายแรงในรัศมี 100 เมตร และ ให้อยู่ในเขตเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดรัศมี 80 กิโลเมตร (ยิ่งใกล้มากยิ่งเสี่ยงมาก) แล้วถ้าดูจากจุดที่เจาะแล้ว กทม อยู่ห่างจากจุดที่เจาะ น้อยกว่า 20 กิโลเมตรด้วยซ้ำ ไหนจะชุมชนละแวกนั้นอีก ผมว่าอันตรายอย่างมากครับ ที่จะเอาประชาชน บริเวณนี้ มากกว่า 5 ล้านคนเป็นตัวประกันครับ เรายังมีอีกหลายทางเลือกครับ สำหรับทางเลือกในเรื่องนี้ของหลายๆฝ่ายคงมีตามต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับที่จะเลือกกันเองนะครับ เช่น
- ทางกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน ถอนสัมปทาน หรือพูดง่ายๆยกเลิกสัมปทานแปลงนี้ไป อาจจะต้องคืนเงินผู้รับสัมปทาน และออกกฎหมายไม่ให้มีการขุดเจาะ ใกล้แหล่งชุมชนอีกต่อไปในอนาคต
- เจาะดำเนินการต่อ แล้วจ่ายค่าชดเชยให้คนในชุมชน และ กทม รวมถึงระแวกข้างเคียงทั้งหมดในฐานะที่ต้องมาเสี่ยงได้รับสารพิษ ถ้ามีการอนุญาตให้ดำเนินการขุดเจาะน้ำมันบริเวณใกล้ชุมชนแห่งนี้แล้ว อนาคตอาจมีแนวโน้มเกิดกรณีเดียวกันเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นใกล้ชุมชนอีก ความเสี่ยงอันตรายก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับครับ อีกทั้งในกระบวนการเจาะมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสี ด้วยนะครับ แม้ว่าจำนวนน้อย แต่ก็ผิดพลาดได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับ นั่นเป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทพยายามไม่เจาะใกล้แหล่งชุมชนครับ ยกตัวอย่าง เช่น การใช้สารซีเซียม137 ในกระบวนการขุดเจาะ (เป็นสารตัวเดียวกับที่มีผลกระทบจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นครับ) ผลกระทบของมันผมว่าให้ นักวิทยาศาสตร์ หรือ แพทย์ มาให้ข้อมูลจะดีกว่าผมครับ อย่างที่บอกครับน้อยแต่ก็มีความเสี่ยงครับ ซึ่งถ้าเจาะในที่ไกลแหล่งชุมชนปกติแล้วไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ ที่ผมมาบอกไม่ได้ต้องการทำให้ตื่นตระหนก แต่เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนในพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ต้องทราบครับ
อย่างที่บอกครับ ผมไม่ได้อคติกับกระบวนการขุดเจาะน้ำมันหรือ บอกว่าห้ามมีการขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทย แต่ผมชี้ให้เห็นถึงภัยของการขุดเจาะน้ำมันบนดินใกล้แหล่งชุมชนครับ โดยเฉพาะพี่น้องชาวกรุงเทพครับ
ผมว่าทางออกอย่างถาวร คือ การมีนโยบายพลังงาน อย่างมีแบบมีแผนเป็นระบบ สำหรับระยะสั้น ให้เจาะใช้เฉพาะแหล่ง เร่งนโยบายพลังงานทดแทน ไม่อนุญาติให้เจาะใกล้ชุมชน ระยะยาว ให้ขุดเจาะในประเทศน้อยลง แล้วเน้นด้านพลังงานทดแทนเต็มตัว และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การใช้พลังงานของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Demand Side Management (DSM) ครับ อยากให้มองว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องของทุกคน และทุกคนมีส่วนช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น นักรัฐศาสตร์ นักกฎหมาย สื่อมวลชน นักธรณีวิทยา วิศวกร สถาปนิก แพทย์ นักการเมือง ครู อื่นๆ และประชาชนทุกคนครับ
http://www.youtube.com/watch?v=dZe1AeH0Qz8
http://www.yourlawyer.com/topics/overview/hydraulic_fracturing_fracking
http://www.epa.gov/radiation/tenorm/oilandgas.html
http://www.dmf.go.th/dmfweb/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=21&lang=th
แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม อัปเดตล่าสุดปี 2009 ดูที่แปลง L45/50 แปลงอื่นไม่แน่ใจว่าอัปเดตหรือไม่ จาก กรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)