บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

ท่าทางจะเอา (ไม่) อยู่ ตอนต่อ "เจาะน้ำมันในกรุงเทพ ชาวกรุงเทพทั้งหมดมีโอกาสเสี่ยงตาย"

*จากเฟซบุ๊ก Ruktai Ace Prurapark(รักไทย บูรพ์ภาค)

ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : รองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา และ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม

ดูเหมือนว่าทางผู้ใหญ่ในกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน จะทำการขุดเจาะสำรวจน้ำมันที่เขตทวีวัฒนา (พุทธมณฑลสาย 2) แน่นอนครับ เห็นบอกว่า ดีเดย์ วันที่ 6 มีนาคมนี้ ได้ฟังข้อมูลที่ท่านพูดผ่านสิ่อมาผมได้ยินผมก็พูดไม่ออกครับ จริงๆถ้ามองอย่างเป็นกลางผมมองว่าทางท่านก็คงพยายามทำงาน อย่างเต็มที่และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ คนหนึ่งครับ ซึ่งผมก็คิดว่าท่านก็คงมองแบบหวังดี ต่อประเทศนะครับ แต่เหตุผล ที่ท่านให้มาดูเหมือนว่ายังไม่ครอบคลุมทั้งหมดครับ ที่ท่านบอกเจาะแล้วแผ่นดินแถวนั้นไม่ทรุด อันที่จริงเหตุผลของท่านที่พูดมาก็ถูกครับ หรือถ้าเกิดก็น้อย ก็จริงครับ แต่มุมมองของผมที่พอมีความรู้วิศวกรขุดเจาะน้ำมันมาบ้าง อยากเรียนให้ท่านมองรอบด้านด้วยครับ อยากให้มองถึงผลกระทบจากสารเคมี หรือ สารพิษ ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะน้ำมันด้วยครับ บทความหรือข้อคิดเห็นของผม ผมไม่ได้พูดถึงแผ่นดินทรุดตัวเลยครับ ผมทราบครับถ้ามีก็โอกาสน้อยครับ แต่ที่ผมพูดถึงผมหมายถึง โอกาสสารเคมีปนเปื้อนกับแหล่งน้ำบนดิน (อ่านเพิ่มจากตอนแรกได้ครับ)

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000027196

เช่น แม่น้ำ บ่อน้ำบาดาล ทางน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน ระบบน้ำประปา รวมไปถึง โอกาสที่จะปนเปื้อนถึงอ่าวไทยครับ ที่ผมพูดมาอย่างที่บอกครับ ว่ามีหลายกรณีตัวอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาในช่วง 2-3 ปีนี้ เกี่ยวกับแหล่งน้ำบนดิน ปนเปื้อนสารพิษที่ใกล้แหล่งขุดเจาะน้ำมัน และเกือบทุก กรณี เจ้าทุกข์ หรือ ผู้ได้รับความเสียหายชนะคดี และบริษัทที่โดนดำเนินคดี ก็โดนฟ้องจน โดนปิดบริษัทก็มีนะครับ (ส่วนใหญ่บริษัทที่โดนเป็น บริษัทน้ำมันใหม่ หรือ ขนาดเล็กนะครับ บริษัทใหญ่ๆ เค้าไม่มาเสี่ยงเจาะใกล้ๆชุมชนหรอกครับ เพราะอาจจะมีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย หรือ กระทบภาพลักษณ์บริษัทนะครับ) อีกทั้งลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งก่อนการขุดเจาะ บริษัทเหล่านี้ก็ต้องทำแบบประเมินและ ผมว่าต้องผ่านการอนุมัติมาแล้วนะครับ แต่อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือ ประมาทอย่างไร ไม่ทราบได้ แต่ผลก็อย่างที่เห็นครับ มีการดำเนินคดีต่อเนื่องเรื่อยๆ แล้ว วันนี้ชาวชุมชนบริเวณหลุมขุดเจาะ และ ชาวกทม 5 ล้านกว่าคน รวมถึงละแวกใกล้เคียง มีความรู้ มีความสามารถ เราจะมาเสี่ยงทำไมละครับ ถ้ามองให้ลึกและเปิดใจกว้างจริงๆ ในอนาคตผมเองก็ไม่ต้องการให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประชาชนและ บริษัท มิตร้า เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงานด้วยนะครับ พวกเราคนไทยยังมีทางเลือกครับ เห็นว่าวันที่เริ่มเจาะจะมีการเรียกนักข่าวไปดูสถานที่เป็นสิ่งที่ดีและน่าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ผลกระทบเหล่านี้ จะเกิดขึ้นตอนเจาะไปแล้วหรือ จนเจาะเสร็จแล้วซักระยะหนึ่งกว่าจะเห็นครับ แล้ววันนั้นจะพวกพี่ๆน้องๆสื่อมวลชนจะเห็นอะไรครับ??? ขออนุญาติถามกลับแล้วจะเจาะสำรวจหลุมนี้ทำไมครับ เพราะมันตั้งอยู่ผิดตามบรรทัดฐานหลักการสากลอยู่แล้วครับคือ ไม่สามารถเจาะใกล้แหล่งชุมชนได้ ผมเห็นมีหลายคำถามถึงผม ผมขออนุญาติตอบเป็นประเด็นดังนี้ครับ

ประเด็นแรก เจาะน้ำมันหลุมนี้ ลึก 2 กิโลเมตร จะปลอดภัยไหม ก็มีหลายความเห็นครับ ก็จริงครับไม่ใช่ว่าเจาะทุกหลุมจะเกิดอันตรายทุกหลุมนะครับ แต่มีความเสี่ยงสูงครับ โดยเฉพาะยิ่งใกล้แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ด้วย จริงๆแล้วผมไม่ได้มีอคติกับการกระบวนการขุดเจาะน้ำมันเลยครับ แม้ว่าผมจะอยากให้บ้านเราเน้นพลังงานทดแทนก็ตาม แต่ประเด็นผมคือ ทำไมเราต้องให้คนมากกว่า 5 ล้านคนต้องมารับความเสี่ยงด้วยละครับ กรณีอย่างน้ำท่วม หรือ หลายๆเหตุการณ์ในไทย ให้บทเรียนพวกเรามามากพอแล้วครับ ผมไม่อยากคิดว่าถ้าน้ำท่วมมาพร้อมกับการรั่วไหลของสารเคมีในหลุมแล้วจะเป็นอย่างไร
ประเด็นที่ สอง ทำไมผมมาพูดตอนนี้ ก็เพราะอยู่ในช่วงที่เรายังควบคุมได้เพราะทางบริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงาน ยังอยู่ในการเจาะขั้นต้น เราสามารถยับยั้งได้ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการอนุญาตการขุดเจาะน้ำมันในที่ชุมชนอีก ไม่เฉพาะแม้แต่ในกรุงเทพ นะครับ ผมเห็นว่าวันนี้ คนไทยหลายๆคน ถามหาบรรทัดฐานทางสังคม ผมว่าตรงนี้จะเป็นตัวตอบคำถามเราว่า เรายอมหรือไม่ ที่จะให้มีการขุดเจาะน้ำมัน อย่างถูกต้องอย่างเสรีทุกตารางนิ้ว ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งในชุมชน

ประเด็นสุดท้าย เรื่องนี้ที่ถูกควรเป็นอย่างไร อันนี้ผมคงตอบเแทนไม่ได้ เพราะผืนแผ่นดินนี้ เป็นของคนไทยทุกคน ก็ควรจะฟังความเห็นของคนไทยทั้งหมดนะครับ แต่ถ้าตามที่ผมทราบ ขออนุญาติเอาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ (เพราะเข้าถึงง่าย) ครับ หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา มีการร่างกฎหมายขึ้นขอยกตัวอย่างกฎหมายจากผลจากการขุดเจาะน้ำมันสั้นๆนะครับ ว่า ห้ามมีการเจาะใกล้ในเขตชุมชน ในระยะเขตอันตรายร้ายแรงในรัศมี 100 เมตร และ ให้อยู่ในเขตเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดรัศมี 80 กิโลเมตร (ยิ่งใกล้มากยิ่งเสี่ยงมาก) แล้วถ้าดูจากจุดที่เจาะแล้ว กทม อยู่ห่างจากจุดที่เจาะ น้อยกว่า 20 กิโลเมตรด้วยซ้ำ ไหนจะชุมชนละแวกนั้นอีก ผมว่าอันตรายอย่างมากครับ ที่จะเอาประชาชน บริเวณนี้ มากกว่า 5 ล้านคนเป็นตัวประกันครับ เรายังมีอีกหลายทางเลือกครับ สำหรับทางเลือกในเรื่องนี้ของหลายๆฝ่ายคงมีตามต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับที่จะเลือกกันเองนะครับ เช่น

- ทางกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน ถอนสัมปทาน หรือพูดง่ายๆยกเลิกสัมปทานแปลงนี้ไป อาจจะต้องคืนเงินผู้รับสัมปทาน และออกกฎหมายไม่ให้มีการขุดเจาะ ใกล้แหล่งชุมชนอีกต่อไปในอนาคต

- เจาะดำเนินการต่อ แล้วจ่ายค่าชดเชยให้คนในชุมชน และ กทม รวมถึงระแวกข้างเคียงทั้งหมดในฐานะที่ต้องมาเสี่ยงได้รับสารพิษ ถ้ามีการอนุญาตให้ดำเนินการขุดเจาะน้ำมันบริเวณใกล้ชุมชนแห่งนี้แล้ว อนาคตอาจมีแนวโน้มเกิดกรณีเดียวกันเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นใกล้ชุมชนอีก ความเสี่ยงอันตรายก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับครับ อีกทั้งในกระบวนการเจาะมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสี ด้วยนะครับ แม้ว่าจำนวนน้อย แต่ก็ผิดพลาดได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับ นั่นเป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทพยายามไม่เจาะใกล้แหล่งชุมชนครับ ยกตัวอย่าง เช่น การใช้สารซีเซียม137 ในกระบวนการขุดเจาะ (เป็นสารตัวเดียวกับที่มีผลกระทบจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นครับ) ผลกระทบของมันผมว่าให้ นักวิทยาศาสตร์ หรือ แพทย์ มาให้ข้อมูลจะดีกว่าผมครับ อย่างที่บอกครับน้อยแต่ก็มีความเสี่ยงครับ ซึ่งถ้าเจาะในที่ไกลแหล่งชุมชนปกติแล้วไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ ที่ผมมาบอกไม่ได้ต้องการทำให้ตื่นตระหนก แต่เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนในพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ต้องทราบครับ

อย่างที่บอกครับ ผมไม่ได้อคติกับกระบวนการขุดเจาะน้ำมันหรือ บอกว่าห้ามมีการขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทย แต่ผมชี้ให้เห็นถึงภัยของการขุดเจาะน้ำมันบนดินใกล้แหล่งชุมชนครับ โดยเฉพาะพี่น้องชาวกรุงเทพครับ

ผมว่าทางออกอย่างถาวร คือ การมีนโยบายพลังงาน อย่างมีแบบมีแผนเป็นระบบ สำหรับระยะสั้น ให้เจาะใช้เฉพาะแหล่ง เร่งนโยบายพลังงานทดแทน ไม่อนุญาติให้เจาะใกล้ชุมชน ระยะยาว ให้ขุดเจาะในประเทศน้อยลง แล้วเน้นด้านพลังงานทดแทนเต็มตัว และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การใช้พลังงานของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Demand Side Management (DSM) ครับ อยากให้มองว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องของทุกคน และทุกคนมีส่วนช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น นักรัฐศาสตร์ นักกฎหมาย สื่อมวลชน นักธรณีวิทยา วิศวกร สถาปนิก แพทย์ นักการเมือง ครู อื่นๆ และประชาชนทุกคนครับ

http://www.youtube.com/watch?v=dZe1AeH0Qz8
http://www.yourlawyer.com/topics/overview/hydraulic_fracturing_fracking
http://www.epa.gov/radiation/tenorm/oilandgas.html
http://www.dmf.go.th/dmfweb/index.php?option=com_content&view=article&id=13&Itemid=21&lang=th


แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม อัปเดตล่าสุดปี 2009 ดูที่แปลง L45/50 แปลงอื่นไม่แน่ใจว่าอัปเดตหรือไม่ จาก กรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค