บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

น้ำมันแพงเข้ากระเป๋าใคร?

คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม

ผมได้รับเชิญให้ร่วมเสวนาประชาชนเรื่อง “น้ำมันแพง...เข้ากระเป๋าใคร?” โดย สถาบันสหสวรรษ จึงถือโอกาสเอามาเป็นชื่อบทความเสียเลย

ในปี 2554 คนไทยใช้น้ำมันทุกชนิดรวมกันจำนวน 4.2 หมื่นล้านลิตร ดังนั้นถ้าน้ำมันแพงขึ้นอย่างไม่มีเหตุมีผลอีกลิตรละหนึ่งบาท เงินในกระเป๋าของพวกเราก็จะถูกพวกฉ้อฉลล้วงไปถึง 4.2 หมื่นล้านบาทต่อปี

ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าการต้องสูญเสียเงินก็คือ การค้าน้ำมันเป็นกิจการที่รวมศูนย์และผูกขาดเกือบทั้งหมดตั้งแต่การขุดเจาะการกลั่นและการตลาด ดังนั้น เงินจำนวนก้อนใหญ่นี้ได้ถูกรวมอยู่ในกระเป๋าของคนที่ฉ้อฉลจำนวนไม่กี่ตระกูลและมีจำนวนมากพอสำหรับการประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่ฉ้อฉล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมืองได้อีกมากมายสุดจะพรรณนาและจินตนาการได้หมด ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาข้าวแกงแพงขึ้นถึงจานละ5-10บาท แม้จะเป็นเงินก้อนใหญ่และทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนเช่นเดียวกันก็ตาม แต่เงินที่แม่ค้าได้รับจะไม่รวมศูนย์และไม่มีพลังมากพอที่จะก่อความเสียหายร้ายแรงต่อประเทศได้

เรื่องราคาน้ำมันจึงเป็นเรื่องสำคัญและใหญ่โตมาก บทความอันสั้นนี้นอกจากจะมุ่งตอบโจทย์ดังกล่าวแล้ว ยังจะเสนอแนวคิดถึงการใช้พลังงานหมุนเวียน (ที่พ่อค้าพลังงานล้างสมองว่าเป็นของล้าสมัย) เพื่อลดภัยพิบัติที่เกิดจากปัญหาสภาวะโลกร้อนด้วย นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำปัญหาการว่างงานอีกด้วย

ตารางข้างล่างนี้แสดงถึงส่วนประกอบของราคาน้ำมันดีเซลเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 54 และ 21 ก.พ. 55 ผมเลือกสองวันนี้มาเสนอก็เพราะว่า หนึ่ง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกของสองวันนี้เท่ากันคือ 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในขณะนั้นต่างกัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบต่างกัน (รายการที่ 1) และ สอง เป็นช่วงเวลาการบริหารของสองรัฐบาลคือ คุณอภิสิทธิ์ และคุณยิ่งลักษณ์



สำหรับรายการที่ 2 เป็นราคาหน้าโรงกลั่นหลังจากกลั่นเสร็จแล้วซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น เบนซิน ดีเซล ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น มูลค่าของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดรวมกันลบด้วยมูลค่าของน้ำมันดิบ (ที่โรงกลั่น) เรียกว่า ค่าการกลั่น (refinery margin) ค่าการกลั่นเฉลี่ย (รายการที่ 7) หมายถึงค่าการกลั่นทั้งหมดในช่วงวันที่ กระทรวงพลังงานระบุ สำหรับรายการอื่นๆ มีคำอธิบายอยู่แล้วในตารางแล้ว

ค่าการตลาดในรายการที่ 6 คือ ส่วนต่างราคาที่บริษัทค้าน้ำมันสำเร็จรูปที่ซื้อน้ำมันจากหน้าโรงกลั่นและปั๊มบริการได้รับ สำหรับค่าขนส่งที่เกิดขึ้นเป็นภาระผู้บริโภค จากการสอบถามเจ้าของปั๊มแห่งหนึ่งได้ความว่า เขาได้รับส่วนแบ่งประมาณ 0.60 - 0.65 บาท ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในปั๊มอยู่ที่เงินจำนวนนี้

คราวนี้ใครเชียร์หรือไม่พอใจรัฐบาลใดก็โปรดดูข้อมูลนะครับ รัฐบาลอภิสิทธิ์มีต้นทุนน้ำมันดิบสูงกว่า 1.27 บาท แต่ราคาหน้าปั๊มกลับต่ำกว่า 1.74 บาท ถ้าเราจะสรุปว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ดีกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ (ในเรื่องนี้) ก็ไม่ได้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารตัวเลขในรายการภาษีกับกองทุนน้ำมัน เช่น นำเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชยราคา 5 บาท และมีการยืดหดภาษีจาก 2.08 ถึง 7.80 บาท

แต่สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลทั้งสอง (รวมทั้งรัฐบาลอื่นๆ ด้วย) ทำเหมือนกันก็คือ ไม่มีการกำกับควบคุมราคาที่หน้าโรงกลั่นซึ่งสูงกว่าราคาน้ำมันดิบถึง 4.08 บาท (13.6%ของราคาหน้าปั๊ม) และ 6.73 บาท (21.2%) เลย ใครที่คิดว่า “คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน” เป็นผู้ควบคุมราคาน้ำมันเป็นการเข้าใจผิดครับ กิจการน้ำมันซึ่งมีขนาดโตกว่า 11% ของรายได้ประชาชาติโดยไม่มีองค์กรกำกับดูแล รัฐบาลก็ไม่ดูแล

จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี 2554 รัฐบาลได้รับค่าภาคหลวงจากพลังงาน (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ซึ่งผลิตในประเทศไทยจำนวน 5.16 หมื่นล้านบาท ถ้าคิดย้อนกลับไปจากอัตราค่าภาคหลวง 12.5% จะได้ว่ามูลค่าปิโตรเลียมที่เจาะได้ในประเทศประมาณ 4.13 แสนล้านบาท อัตราค่าภาคหลวงที่รัฐบาลไทยเรียกเก็บนี้เป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในโลก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเองอยู่ที่ 18% บางประเทศ 30-80%

ต่อไปนี้จะกล่าวถึงกิจการน้ำมันในระดับโลก นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวในทำนองเดียวกัน (เช่น Les Leopold, Bart Chliton, Paul Hodges ค้นได้จากกูเกิล) รวมทั้งผู้บริหารสูงสุดของบริษัท ExxonMobile (Rex Tillerson) ว่า ราคาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในตลาดโลกนั้น ประมาณ 15-40% เป็นผลมาจากการปั่นราคาในตลาด “Wall Street”

ในแต่ละวันชาวโลกใช้น้ำมันเพียงประมาณ 85 ล้านบาร์เรล แต่มีการซื้อขายกันในตลาดล่วงหน้าซึ่งเป็นการซื้อขายบนกระดาษมากถึงกว่าหนึ่งพันล้านบาร์เรล การซื้อขายแบบนี้ทำให้ราคาน้ำมันดิบถูกบิดเบือนไปจากเดิม “การขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น/อุปทานที่ลดลง หรือความต้องการของประเทศจีน แต่ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของ Wall Street”

นักวิเคราะห์บางคนได้เจาะลึกว่า “ทุกๆ ครั้งที่เจ้าของรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค เติมน้ำมันเต็มถัง (50 ลิตร) เงินจำนวน $7.30 (226บาท) จะไปสู่กระเป๋าของนักเก็งกำไรในตลาด Wall Street”

นอกจากเรื่องเงินที่กล่าวแล้ว มีสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากๆ ไม่แพ้กันก็คือ ต่อให้โลกนี้มีน้ำมันมากและราคาถูกราวกับน้ำทะเล แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถใช้ได้มากกว่านี้ได้อีกแล้ว เพราะขีดจำกัดที่เกิดจากปัญหาโลกร้อน ดังนั้นนอกจากการรู้เท่าทันพ่อค้าพลังงาน นักการเมือง ข้าราชการที่สมคบกันฉ้อฉลแล้ว เราต้องหันไปใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งนอกจากจะปลอดภัยจากภัยพิบัติแล้วยังช่วยกระจายรายได้ และสร้างงานจำนวนมากอีกด้วย

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แหล่งพลังงานในอ่าวไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์



แหล่งพลังงานในอ่าวไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์
 


  มีการวิเคราะห์ว่าแหล่งพลังงานหลักของโลก โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันตะวันออก กลางจะหมดไปในระยะเวลา 30-50 ปีเท่านั้น นับว่าเวลาสั้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวน การธรรมชาติที่ก่อร่างสร้างตัวให้เกิดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานอย่าง
มากมายในปัจจุบันข้อมูลนี้เป็นที่ทราบดีกันทั่วไปเหมือนกับกรณีภาวะโลกร้อนที่เป็นผลกระ
ทบอีกด้านหนึ่งของการเผาผลาญทำลายทรัพยากรพลังงานธรรมชาตินี้
            
ประเทศตะวันออกกลางดำเนินการปรับราคาและกระบวนการผลิตน้ำมัน ให้เกิด กำไรสูงสุดก่อนที่รายได้ของพวกเขาจะหมดไป ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศ ยุโรปสะสมน้ำมันสำรองเต็มพิกัดเพื่อป้องกันสภาวะขาดแคลนพลังงานในอนาคต กลยุทธ์ทาง การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้นขึ้นจากการแสวงหาแหล่งพลังงานของโลกเปรียบเสมือนยุค การล่าอาณานิคมใหม่โดยมีพลังงานเป็นเดิมพัน
            
ในอดีตเคยมีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีมหาศาล จนอดีตท่าน นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต้องกล่าวออกมาว่า “ โชติช่วงชัชวาลย์ ” แต่ในปัจจุบันประ
เทศชาติและประชาชนชาวไทยได้ประโยชน์อะไรบ้าง นอกจากราคาก๊าซถูกกว่าเพื่อนบ้านลิตร
ละ 2-3 บาทเท่านั้น ผลประโยชน์มหาศาลกลับไปอยู่ที่บริษัทน้ำมันต่างชาติ หรือหน่วยงานพลัง
งานบางแห่งที่มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการแม้จะมีชื่อเป็นไทยก็ตาม

            มีข่าวทรัพยากรในทะเลซึ่งไม่ใช่พื้นที่ทับซ้อนข่าวหนึ่งกล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ได้อนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมให้กับบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ ๑๗
กรกฎาคม ๒๕๔๖ ตามสัมปทานเลขที่ ๗/๒๕๔๖/๖๔ ในช่วงเวลาสัมปทาน ๑๕ ปี บริษัทนิว
คอสตอล ซึ่งได้รับสัมปทานในการขุดเจาะและผลิตน้ำมันในแหล่งบัวบาน ๑ - ๔ ซึ่งจะส่งผล กระทบกับอาชีพประมงชายฝั่งในพื้นที่ ๔ อำเภอ ( www.coastalenergy.com)  แหล่งบัว
บานคือแหล่งน้ำมันจำนวนมหาศาลห่างฝั่งจังหวัดสงขลาไม่เกิน ๓๐ กิโลเมตร ในช่วงขุดเจาะ
เวลา ๓ ปี ห้ามทำการประมง อีก ๑๒ ปี ช่วงผลิตระยะห่างจากแท่นเจาะ ๕๐๐ เมตรรัศมี ๔
แท่นเจาะกับ ๑ แท่นฐาน มีการห้ามทำการประมง ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมนั้นกระแสน้ำที่พัดเข้า ฝั่งตั้งแต่อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ อำเภอสิงหนคร และอำเภอเมืองสงขลาจะเป็นตัวส่งมล ภาวะต่างๆ หากเกิดอุบัติเหตุจากการขุดเจาะท่อน้ำมันรั่วหรือเรือบรรทุกน้ำมันรั่วหรือจมจะ เกิดผลกระทบมหาศาล ในขณะที่บริษัทแจ้งว่ามีทุนจดทะเบียนแค่ ๑๐๐ ล้านบาทเพียงพอต่อ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่และไม่มีการระบุความรับผิดชอบไว้ในสัญญา (บรรจง นะแส , ๓๑ ก.ค. ๒๕๕๑)

            
ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและด้านความมั่นคงเมื่อ
เดือนที่ผ่านมาจึงทำให้ทราบข้อมูลด้านพลังงานเหล่านั้นด้วย และเมื่อได้สอบถามว่ามีการคาด การณ์หรือไม่ว่าปริมาณน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีมากน้อยเพียงใด  คำตอบคือ
ปริมาณมหาศาล ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องรับทราบเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ชาติ มิใช่ปกปิดเหมือนกรณี  “ โชติช่วงชัชวาลย์ ”  ที่เราคิดว่าก๊าซธรรมชาติมีเพียงเล็กน้อย และ แท่นขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทยของต่างชาติตั้งขึ้นโดยบังเอิญเท่านั้น
  เมื่อนำมารวบรวมข้อมูลทางด้านการวิเคราะห์วิจัยแล้วก็สามารถเข้าใจถึงคำตอบ ของคำถามกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในขณะนี้ว่าทำไมบริษัทขนส่งน้ำมันของประ เทศตะวันออกกลางเข้ามาให้ทุนวิจัยแบบให้เปล่าแก่หน่วยงานประเทศไทย (๒๐ - ๓๐ ล้าน บาท) และจะให้เงินกู้อีกแสนล้านบาทโดยไม่มีเงื่อนไข (แต่มีดอกเบี้ย) หากรัฐบาลไทยสร้าง ท่าเรือน้ำลึกแห่งอันดามันขึ้นที่ท่าเรือปากบารา เชื่อมสองทะเลที่จังหวัดสตูลและจังหวัดสงขลา ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของเขา 
                        ผู้บริหารบริษัทแห่งนี้ได้ทำการบรรยายประสบการณ์ของประเทศตนที่ร่ำรวยจาก การขุดเจาะน้ำมันมีคุณภาพชีวิตระดับโลก และทำให้เราจินตนาการไปเองว่าการพัฒนาเมือง ระดับโลกจะเกิดขึ้นในประเทศไทยเช่นกัน ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วเมืองท่าอุตสาหกรรม และน้ำมันที่มีรายได้มหาศาลก็เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย ที่ท่าเรือบางสะพานจังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ และท่าเรือมาบตาพุดจังหวัดระยองที่สภาพแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับจินตนาการนั้น โดย ไม่ทราบว่าผลประโยชน์มหาศาลนั้นรัฐบาลและประชาชนไทยได้รับเท่าใด แต่สิ่งที่ได้รับอย่าง เต็มที่คือมลภาวะสภาพแวดล้อมระดับวิกฤติสู่ประชาชนในพื้นที่ทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุน แรงกลางเมืองบางสะพานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ระหว่างประชาชนและคนของผู้ประกอบการ และที่จังหวัดระยองก็ได้รับการประเมินว่าเป็นจังหวัดที่มีมลพิษมลภาวะสภาพแวดล้อมมากที่ สุดในประเทศไทยในปัจจุบันนี้

            ความเจริญและการพัฒนาทางเทคโนโลยี่นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้ในอนาคต ที่จะทำให้ประเทศของเรารุดหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ แต่การที่ประเทศชาติมิได้ผล ประโยชน์ใดๆ แต่กลับต้องกู้เงินเสียงบประมาณมากมายเพื่อสร้างอภิมหาโครงการตรงตาม เป้าหมายวัตถุประสงค์ของต่างชาติ และให้ต่างชาติกอบโกยทรัพยากรอันมีค่าจากท้องทะเล ไทยกลับไป โดยทิ้งเศษเงินให้บุคคลบางกลุ่มและทิ้งมลภาวะให้กับผืนแผ่นดินของเรานั้น เป็น สิ่งที่ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งธรรมชาติที่งดงามประชาชนและลูกหลานที่บริสุทธิ์ในพื้นที่จังหวัดชาย ฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งสองทะเลจะได้รับผลกระทบเหล่านี้

           หากจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันรายใหม่การ ควบคุมมลภาวะจะต้องอยู่ในระดับมาตรฐานโลกอย่างเข้มงวดมิใช่มาตรฐานจังหวัดระยองทุก วันนี้ประเทศชาติและประชาชนไทยจะต้องได้รับผลประโยชน์โดยตรงเหมือนประชาชนประเทศ น้ำมันหรือประเทศเจริญแล้วอื่นๆ การควบคุมกิจกรรมขุดเจาะและขนถ่ายหรือผลิตน้ำมันแปร รูปจะต้องกระทำหรือควบคุมโดยบุคลากรไทย และยังผลประโยชน์สู่องค์กรของชาติทั้งหมด

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค