บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ขายสมบัติชาติซัดถ่ายหุ้นปตท.

พิมพ์ไทยรายวัน


“ธีระชัย”โพสต์เฟสบุ๊ครอบ4 หลังโดนเขี่ยพ้น”ขุนคลัง” ย้ำจับโกหก”กิตติรัตน์”ปมหนี้สาธารณะ ปัดทิ้งบอมบ์รบ.อ้างห่วงปท.ลั่นปชช.จำต้องรู้เช่นเห็นชาติ
ด้านปชป.ไล่บี้ตามติดตัวเลขหนี้สาธารณะ หลังโอนหุ้นไปกองทุน”วายุภักดิ์” ชี้แค่แต่งบัญชีหวังปูทางกู้เพิ่ม กัดเจ็บโอนปตท.สู่มือ”นายทุน” ถือ”ขายสมบัติชาติ”
เล็งชง ศาลรธน.ตีความ2พรก.เจ้าปัญหา
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค Thirachai Phuvanatnaranubala เมื่อ 25 ม.ค.นี้ เวลา 8:58 น. เป็นครั้งที่ 4 ภายหลังตัวเขาถูกปรับออกจากตำแหน่ง โดยให้ความเห็นถึง “อัตราส่วนภาระหนี้ 9.33 เป็นผลจากพระราชกำหนดหรือเปล่า″โดยระบุว่า
“โน้ตฉบับนี้ออกจะเน้นประเด็นวิชาการสักหน่อย แต่ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน”
ขอเริ่มอธิบายว่าขั้นตอนการออกกฎหมายปกตินั้น จะทำในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งจะมีการพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบ คือมีการพิจารณาในสภาถึง 3 ครั้ง และมีการตั้งคณะกรรมาธิการที่จะถกเถียงแก้ไขถ้อยคำกันทีละมาตรา และประชาชนก็จะสามารถติดตามประเด็นโต้แย้งต่างๆ ได้ แต่หากจะทำในรูปแบบพระราช กำหนด รัฐบาลจะยกร่างกฎหมายแต่ฝ่ายเดียว และในการเสนอสภา ก็จะไม่เปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงแก้ไขใดๆ ถ้าสภาจะรับก็ต้องรับไปทั้งฉบับ ดังนั้นรัฐธรรมนูญ จึงกำหนดให้การออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนด กระทำได้เฉพาะเรื่องที่สำคัญ และเฉพาะเป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริงๆเท่านั้น
“ปัญหาเรื่องนี้ คือในการพิจารณาร่างพระราชกำหนดเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟูนั้น รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) แจ้งครม. ว่าอัตราภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 12 จึงห่างจากเพดานร้อยละ 15 ไม่มากนัก ซึ่งถ้าข้อมูลเป็นดังนี้จริง ผมก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่เร่งด่วน แต่ภายหลังก่อนผมพ้นตำแหน่ง 1 วัน ผมพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวไม่
ใช่ร้อยละ 12 แต่เป็นเพียงร้อยละ 9.33 จึงทำให้เหตุผลความเร่งด่วนหมดไป อย่างไรก็ตาม รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) อาจจะมีประเด็นอื่นๆ ที่ยังมีเหตุผลความเร่งด่วน อยู่อีกก็ได้นะครับ”
นายธีระชัย ระบุด้วยว่า ในวันนี้ นสพ. ไทยรัฐ ลงข่าวรองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) ชี้แจงว่า หากรัฐบาลไม่ออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟู ภาระหนี้ ก็จะยังเป็นร้อยละ 12 จะไม่ลดลงมาเป็นร้อยละ 9.33 ในปี 2555 งบประมาณมี 2.38 ล้านล้านบาทครับ รัฐบาลมีภาระชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นเงิน 68,424 ล้านบาท ดอกเบี้ยนี้จึงคิดเป็นร้อยละ 2.87 ของงบประมาณ จึงมีคนเข้าใจผิดได้ง่ายว่า ภาระหนี้เดิมอาจจะเป็นร้อยละ 12 หรือเปล่า แต่หากมีการออกพระราชกำหนด จะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระต้องชำระดอกเบี้ย 68,424 ล้านบาท จึงอาจจะทำให้ภาระหนี้ลดลงเหลือ 9.33 หรือเปล่า รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) เข้าใจแบบนี้ครับ ตัวของผมเอง เมื่อตอนแรกก็สงสัยว่าอาจจะเป็นแบบนี้หรือไม่ครับ
“แต่หากเปิดดูกฎหมายงบประมาณที่เพิ่งจะผ่านสภาไปเมื่อวานนี้ จะเห็นได้ ว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู 68,424 ล้านบาทนั้น รวมอยู่ในรายจ่ายงบประมาณแล้วครับ และหากใช้ตัวเลขในกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ในการคำนวณภาระหนี้ ก็จะได้ตัวเลขร้อยละ 9.33 พูดง่ายๆ ก็คือว่า ภาระหนี้ร้อยละ 9.33 นั้นรวมดอกเบี้ยหนี้กองทุน ฟื้นฟูไว้แล้ว และทั้งนี้ ถ้าหากสมมุติว่ารัฐบาลไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู 68,424 ล้านบาท อัตราภาระหนี้ก็กลับจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 9.33 เสียอีกครับ จะเหลือ เพียงร้อยละ 6.46 เท่านั้น”
ส่วนการคำนวณตัวเลขต้องระวังนะครับ มิฉะนั้น ถ้าเข้าใจผิดบวกดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูเข้าไปสองครั้ง เหมือนรองนายกฯ(นายกิตติรัตน์)ก็จะได้ตัวเลขร้อยละ12 ซึ่งไม่ถูกต้อง ตัวเลขนี้โกหกกันไม่ได้ เพราะอยู่ในกฎหมายงบประมาณทุกตัว
“ผมเองเป็นรองประธานกรรมาธิการงบประมาณ จึงเข้าใจเรื่องนี้ครับ และตัวเลขนี้ก็ได้ยืนยันกับทีมงานสำนักบริหารหนี้สาธารณะแล้ว ถ้าข้อมูลล่าสุดแสดงว่ากฎหมาย นี้ไม่เร่งด่วน หรือไม่เข้าตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ผมขอแนะนำให้รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) ควรจะต้องพิจารณาทบทวน ที่ผมชี้แจงมานี้ เพียงเพื่อต้องการให้ข้อมูลที่ถูก ต้องและเป็นประโยชน์ ไม่ใช่การทิ้งบอมบ์หรือเพราะผิดหวัง แต่เป็นห่วงประเทศชาติจริง ๆ เพราะประชาชนควรได้รับทราบข้อเท็จจริงครับ”
นอกจากนี้ ใน นสพ. ไทยรัฐวันนี้ คอลัมน์กระจก 8 หน้า โดยมิสไฟน์ กรณีที่ผมคัดค้านการพยายามแสดงตัวเลขหนี้สาธารณะที่ต่ำกว่าจริง ว่า“รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงิน อีกมาก เพื่อสร้างอนาคตประเทศ ทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ล้วนมีค่าทั้งสิ้น”
“ผมไม่ได้คัดค้านเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องกู้ครับ แต่ขอให้แสดงตัวเลขหนี้ไปตรงๆเท่านั้น อย่าพยายามหลอกว่าหนี้มีต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะถึงแม้แสดงตัวเลข ตรงๆ ก็ไม่มีปัญหาในการกู้จากตลาดเงินตลาดทุนอยู่แล้ว แต่การแสดงตัวเลขต่ำกว่าจริงนั้น ในอนาคตจะทำให้รัฐบาลกู้มากไปจนเกินกำลัง จะทำให้ประชาชนใช้ชีวิต แบบไม่พอเพียงและฟุ้งเฟ้อ “ทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ล้วนมีค่าทั้งสิ้น” จริงๆ หรือครับ ผมว่าไม่จริง เงินที่ได้จากการหลอกตัวเลข ในความเห็นของผม ไม่มีค่าใดๆ อย่าไปเอามาเลยครับ”
ที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี โฆษก ครม.เงา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เงาได้มีการพิจารณากรณีการแปรรูป ปตท.ที่รัฐบาลโอนหุ้นจาก กระทรวงการคลัง ไปให้กองทุนวายุภักษ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะจากการเป็นรัฐวิสาหกิจของ ปตท. โดยที่ประชุมมองว่าเป็นการขยับให้รัฐบาลสามารถไปก่อหนี้เพิ่มเติมได้
เพิ่ม จะทำให้หนี้สาธารณะลดลงเฉพาะตัวเลขเท่านั้น โดย ครม.เงาให้ไปศึกษาว่าในช่วง 5-6 เดือนที่จะเกิดขึ้นต ัวเลขหนี้สาธารณะที่แท้จริงจะเป็นจำนวนเท่าไร หลังจาก มีการตกแต่งทำบัญชี เพื่อกู้เพิ่ม จึงต้องติดตามดูว่าการปรับให้กองทุนวายุพักเข้าไปใครมีส่วนได้ส่วนเสียในครั้งนี้
“แค่เริ่มต้นก็เสียวแล้ว มีการล้วงมือเข้าไปในกระเป๋าแบงก์ชาติ ตอนนี้กำลังเอาสมบัติชาติไปขายจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ว่าที่อ้างว่าต้องการขยับเพื่อกู้หนี้ได้เพิ่ม เป็นการเอาสมบัติชาติไปขายหรือไม่”
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลโอนหุ้นร้อยละ 2 ให้กองทุนวายุภักษ์ ไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของปตท. เพราะบอร์ด ปตท.ก็ยังเหมือนเดิม จึงไม่ส่งผลต่อนโยบายด้านพลังงาน เพียงแต่ขยับหนี้สาธารณะให้ลดลงเท่านั้น เพราะหนี้ที่ ปตท.ก่อทุกปี ถูกนับรวมให้เป็นหนี้สาธารณะ ขณะนี้ปตท.มีหนี้มากถึง 2.52 แสนล้านบาท จาก 4.3ล้านล้านบาท เมื่อ ปตท.แปรรูปไปแล้ว จะทำให้หนี้สาธารณะลดฮวบ
นายสรรเสริญ สะมะลาภา รมช.คลังเงา กล่าวว่า การพยายามลดหนี้สาธารณะ เป็นเพียงข้ออ้างเพราะยังมีเพดานในการกู้อีกมาก ประมาณ 2 ล้านล้านบาท ครั้งนี้ รัฐบาลเพียงแค่เลี่ยงบาลีเท่านั้น หากจะมีการลดหนี้สาธารณะเพื่อจะนำไปสู่การกู้ใหม่ ก็ต้องขอดูแผนการกู้ว่าทำไมถึงกู้มากมาย และแม้จะไม่มีการโยกหนี้สาธารณะ ปตท.ก็ดูแลตัวเองได้อยู่แล้วเพราะรวยมาก จึงน่าจะมีวาระซ่อนเร้นมากกว่าในการลดหนี้สาธารณะ
“สิ่งที่น่าสังเกต คือ มีความพยายามนำกองทุนวายุภักษ์เข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้หุ้น17 เปอร์เซ็นต์นี้ไปอยู่ในมือนายทุน เราไม่เชื่อใจรัฐบาลชุดนี้ เพราะมีความพยายามมาตั้งแต่แรกที่จะฮุบ ปตท.จากมือประชาชนไปสู่นายทุน เพราะภาระของ ปตท.ไม่ได้มีอยู่แค่ดูแลด้านพลังงาน แต่มีการลงทุนอีกหลายอย่าง เช่น โครงการท่อก๊าซ 3 หมื่นล้านบาท หรือการลงทุนร่วมไทย-กัมพูชา ในโครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติ
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า นอกจาก พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูให้ ธปท.รับภาระแล้ว พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ก็เป็นสิ่ง ที่พรรคจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วย เท่ากับว่าจะยื่นตีความ 2 ฉบับ เพราะข้อมูลชัดเจนขึ้นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินเร่งด่วนตามที่รัฐบาลอ้าง
ส่วนที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ ออกมาอ้างว่าตัวเลขภาระหนี้ต่องบประมาณที่เหลือร้อยละ 9.33 แทนที่จะเป็นร้อยละ 12 เป็นเพราะมีการโอนหนี้กอง
ทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท ให้แบงก์ชาติรับผิดชอบจากการออก พ.ร.ก.นั้น ประเด็นหลักคือ ไม่ว่าจะกี่เปอร์เซ็นต์ ล้วนแต่ฟ้องว่ารัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก. หรือไปยุ่งวุ่นวายกับหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เพราะยังอยู่ในวิสัยที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันแล้วว่า ตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 9.33 และสิ่งที่เกิด ขึ้นก็เป็นเพียงแค่ความพยายามสร้างเรื่องขึ้นมารองรับการออก พ.ร.ก. จึงไม่แปลกใจที่จะทำให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค