บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ผมถูกหลอกให้ใช้ก๊าซเอ็นจีวี”


“ตอนนั้นรถแท็กซี่ส่วนใหญ่ใช้ก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้ม อยู่ๆ ทางปตท. ก็มาเสนอให้เปลี่ยนเป็นก๊าซเอ็นจีวี โดยไม่ต้องเสียค่าอุปกรณ์และติดตั้งใดๆ พร้อมกับแถมเงินให้อีกคนละสองพันบาท ราคาก๊าซเอ็นจีวีก็ถูกกว่า ใครบ้างจะไม่เอา” นี่คือความรู้สึกของคนขับรถแท็กซี่รายหนึ่งที่เล่าให้ผมฟังในช่วงเทศกาลตรุษจีน หลังจากราคาก๊าซเพิ่งขึ้นไปได้ไม่กี่วัน

“สถานีเติมก๊าซเอ็นจีวีก็มีน้อย ไปทางอีสานบางครั้งต้องรอสองสามชั่วโมงกว่าจะได้เติม บางทีพอจะถึงคิวเราก๊าซหมดอีก แท็กซี่บางคันรับผู้โดยสารที่เป็นฝรั่ง เมื่อไปแวะเติมก๊าซระหว่างทาง ต้องรอนาน ฝรั่งเขาก็ลากกระเป๋าลงไปหารถคันอื่นเฉยเลย ซึ่งก็น่าเห็นใจฝรั่งเขานะ”

“ทำไมไม่กลับไปใช้แอลพีจีอีกละ” ผมถาม

“จะเอาเงินที่ไหนละ ค่าติดตั้งสองหมื่นกว่าบาท จำนวนสถานีแอลพีจีมากกว่าก็จริง แต่ราคาก็ขึ้นเหมือนกัน ผมถูกเขาหลอกให้เลิกใช้แอลพีจีแล้วมาใช้เอ็นจีวี”

“ก็เอาเงินสองพันไปคืนให้เขาซิ แล้วบอกเขาว่าทำกลับมาให้เหมือนเดิม” ผมแหย่เล่นพร้อมกับทิ้งท้ายว่า “การตลาดของเขาแบบเดียวกับการขายยาเสพติดเลยนะ หลอกให้คนเสพฟรีจนติดแล้วค่อยขายราคาแพงๆ ในภายหลัง”

ในฐานะที่ผมเคยติดตามเรื่องพลังงานมาตั้งแต่โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียเมื่อสิบปีกว่าที่แล้วทำให้ผมพอจำได้ว่า ข้อมูลที่ผมได้รับการบอกเล่านี้เป็นความจริง และเพื่อความเข้าใจที่เป็นระบบผมจึงได้สืบค้นข้อมูลทั้งเก่าและใหม่พร้อมทั้งได้วิเคราะห์เพิ่มเติม (แต่ก็ยังไม่ครบถ้วนเพราะ ปตท.ไม่เปิดเผย) ดังต่อไปนี้

หนึ่ง ก่อนที่เศรษฐกิจฟองสบู่จะแตกในปี 2540 ประเทศไทยโดย ปตท. (ตอนนั้นยังไม่ได้แปรรูป) ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซกับประเทศพม่าไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อฟองสบู่แตกทำให้ความจำเป็นในการใช้พลังงานลดลงมาก ส่งผลให้ฝ่ายไทยต้องเสียค่า “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย (take-or-pay)” เป็นจำนวนมาก เพียง 50 เดือนแรกที่สัญญามีผลบังคับใช้ (1 ก.ค. 2541 ถึง 30 กันยายน 2545) คิดเป็นเงินถึง 35,450 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นปริมาณก๊าซที่ได้ใช้จริงก็แค่เพียง 44% ของปริมาณที่ได้ทำสัญญาไว้ ที่เหลืออีก 56% เราต้องจ่ายเงินแต่ยังไม่ได้รับก๊าซ แม้จะได้รับก๊าซฟรีในภายหลังแต่ก็เสียโอกาส

นอกจากนี้โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้ก๊าซฯ แต่ก็ได้ทำโครงการตามความต้องการของประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้ในเวลาต่อมาฝ่ายไทยต้องเสียค่า “ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย” อีกกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท ผมเข้าใจว่า เนื่องจากการวางแผนที่ผิดพลาดดังกล่าว ทาง ปตท.จึงพยายามส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซเอ็นจีวี โดยเฉพาะในหมู่รถแท็กซี่ ทั้งๆ ที่สถานีบริการยังมีไม่มากพอ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ปตท.ก็นำเงินจากกองทุนอนุรักษ์พลังงานซึ่งเก็บมาจากผู้ใช้น้ำมันมาใช้ คิดเป็นเงินก็ประมาณคันละ 4 หมื่นบาท

ในปี 2553 รถที่เติมเอ็นจีวีทั้งหมด 2.68 แสนคัน แต่มีสถานี 444 ปั๊ม ถ้าเปิดวันละ 15 ชั่วโมง และแต่ละคันเติมวันเว้นวัน พบว่าแต่ละชั่วโมงต้องเติมให้ได้ 20 คัน ทันไหม?

อนึ่ง ก๊าซเอ็นจีวีก็คือก๊าซธรรมชาติที่ผ่านโรงแยกก๊าซแล้ว จากนั้นก็ผ่านกระบวนการอัดให้มีปริมาตรน้อยกว่า 1% ของปริมาตรเดิม แต่ ปตท.ไม่ยอมเปิดเผยต้นทุนเนื้อก๊าซ รวมทั้งต้นทุนการผลิตให้ละเอียดเป็นขั้นตอน แต่กลับบอกคร่าวๆ ที่ 8.39 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแย้งว่าน่าจะเป็น 4 บากกว่าๆ

สอง เอกสารของกระทรวงพลังงานเมื่อปี 2545 ได้ให้ข้อมูล (โดยบังเอิญ ดูภาพประกอบ ฉบับเต็มอ่านจาก http://www.eppo.go.th/admin/nlt/nlt-2546-01.pdf ) ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณแล้วพบว่า ราคาก๊าซในอ่าวไทยราคาลูกบาศก์ฟุตละ 10.25 สตางค์ ในขณะที่ก๊าซจากประเทศพม่าอยู่ที่ 16.05 บาท เข้าใจว่ารวมค่าผ่านท่อแล้ว

ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพลังงานที่มาชี้แจงต่อกรรมาธิการชุดคุณรสนา โตสิตระกูล เรียบร้อยแล้ว แต่คำถามคือ ทำไม? คำตอบน่าจะเป็นเพราะต้องการเลี่ยงค่าภาคหลวงซึ่งไทยเก็บในอัตราที่ต่ำที่สุดในโลกให้ต่ำลงไปอีกนั่นเอง



สาม มติ ครม. (24 ธ.ค. 45) ได้กำหนดว่า ในช่วง 4 ปีแรกให้ขายเอ็นจีวีในราคา 50% ของน้ำมันดีเซล จากนั้นก็ค่อยๆ ขยับเป็น 55%, 60%, 65% ของราคาน้ำมันเบนซิน 91 ในปี 50, 51 และ 52 เป็นต้นไป แต่ราคาขายปลีกต้องไม่เกิน 10.34 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อแผนการตลาดเป็นที่ดึงดูดใจ จำนวนผู้ใช้ก๊าซเอ็นจีวีก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมาอยู่ที่ 5% ของการใช้ก๊าซทั้งหมด (ดังกราฟที่จำแนกการใช้) แต่แล้วก็มีการยกเลิกมติดังกล่าว

จึงเป็นที่มาของคำว่า “ผมถูกหลอกให้ใช้ก๊าซเอ็นจีวี”



สี่ ข้อมูลจากโครงการท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซีย พบว่าค่าผ่านท่อซึ่งยาวประมาณ 350 กิโลเมตรอยู่ที่อัตราประมาณ 0.44-0.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู หรือประมาณลูกบาศก์ฟุตละ 2 สตางค์ สิ่งที่ยังเป็นคำถามคือ เอ็นจีวีหนึ่งกิโลกรัมมาจากก๊าซดิบกี่ลูกบาศก์ฟุตและค่าการอัดเป็นเท่าใด

สุดท้าย ผมมีข้อมูลว่า การขึ้นลงของราคาก๊าซธรรมชาติเป็นไปตามการขึ้นลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกด้วย ไม่ใช่ตามนโยบายของแต่ละประเทศอย่างเดียวตามที่ ปตท.อ้าง และในช่วง 3 ปีมานี้ราคาก๊าซธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง แล้วเอ็นจีวีบ้านเราขึ้นราคาทำไม? บริษัทและรัฐที่มีธรรมาภิบาลต้องตอบให้กระจ่างครับ


ASTV


จ่อขายสมบัติชาติ สวาปาม


นสพ. พิมพ์ไทย

คอรัปเตอร์ปะดาบ-ช่วงปลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงหูกวาง หรือกระทรวงคมนาคม ต้องสะเทือนเลื่อนลั่นอีกครั้ง หลังกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดย”สาวิตย์ แก้วหวาน” เลขาฯสรส. พร้อมด้วย “อัปสร กฤษณะสมิต” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “แจ่มศรี สุกโชติรัตน์” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสมาชิกทั้งสองบริษัทกว่า 30 คน ได้มายื่นหนังสือต่อ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” รมว.คมนาคม เพื่อให้รัฐบาลยุตินโยบายแปรรูป บริษัท ปตท. และ การบินไทย ให้พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมี “พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก” รมช.คมนาคม
มารับหนังสือแทนในครั้งนี้ !!
“คอรัปเตอร์” บอกตามตรง “นายสาวิตย์” ในฐานะเลขาฯสรส. ระบุชัด ตามที่กระทรวงการคลังได้แถลงการณ์ออกมาในความต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือบริษัท ปตท. และการบินไทย โดยจะลดหุ้นลง 2% จากเดิม 51% ซึ่งจะทำให้ทั้งสองบริษัทเป็นเอกชนเต็มตัว แต่ไม่ได้ระบุชัดถึงเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งในส่วนของ กระทรวงคมนาคม ที่ควบคุมการบินไทยก็ยังไม่มีการพูดอะไรที่แน่ชัดออกมา เลยทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร
และมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน
ส่วน “แจ่มศรี ศรีสุกโชติรัตน์” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ระบุว่า การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ภาคภูมิใจของคนไทย ก่อตั้งมา 51 ปีจากเงินภาษีของประชาชน เพื่อต้องการบริการประชาชนและเป็นสายการบินของชาติ การบินไทยไม่ควรที่จะถูกแปรรูปการบินไทยต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่จะต้องแข่งขันกับเอกชนให้ได้ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ไม่เข้าใจว่าเหตุใด
ถึงมีแนวคิดในการลดสัดส่วน !?
โดยเฉพาะที่รัฐบาลบอกว่าจะปลดหนี้สาธารณะ มันเป็นประเด็นที่สังคมตั้งคำถามมาก การที่รัฐลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นไม่ได้ทำให้การบินไทยบริหารคล่องตัวได้จริง ซึ่งปัจจุบันการคล่องตัวอยู่ที่นโยบายของรัฐ และที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและทางการเมือง แต่ก็ยังยืนอยู่ได้ จึงอยากให้ทางรัฐบาลมีการทบทวนนโยบายและให้การบินไทย
เป็นรัฐวิสาหกิจตามเดิม !!
ขณะที่ “อัปสร กฤษณะสมิต” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจปตท. ระบุว่าปตท.เป็นพลังงานแห่งชาติ จากที่เป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กว่าจะมาเป็นบริษัท ปตท. จำกัด ภายใต้ พ.ร.บ.ทุนและจดทะเบียนตามกฎหมายแพ่ง ต้องใช้เวลาในการศึกษาวิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบรอบด้าน มีการกำหนดแก้ไขข้อกฎหมายในหลายๆเรื่อง โดยครั้งนั้นก็มีการเรียกร้องขอให้รัฐบาลคงสัดส่วนในการถือหุ้นไว้เพื่อให้ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่ผ่านมากว่า 10 ปีทางปตท.ก็เจริญรุดหน้าขึ้นเป็นลำดับ สามารถเป็นความมั่นคงของประเทศได้
หากรัฐบาลขายหุ้นปตท.ออกไป !!
ปตท.ก็จะเป็นเอกชนแบบเต็มตัว ทำให้กลไกการตรวจสอบโดยรัฐ การส่งรายได้เข้ารัฐ การแทรกแซงราคา ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการกำหนดราคาพลังงานทั้งก๊าซ และน้ำมันก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในอนาคต การที่เป็นเอกชนจะมีผลกระทบไม่ว่าทางด้านการเงิน ทางภาคธุรกิจ ด้านบุคลากร ด้านประชาชน และด้านกฎหมายต่างๆที่ต้องไปหาทางแก้ไข ก่อนหน้านี้ก็มีการตอบรับว่าจะมีการชลอไว้ก่อนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหยุดแต่อย่างใด ซึ่งรัฐยังมีแนวคิดที่ทำรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชนอยู่
ซึ่งเป็นเหตุทำให้ออกมาคัดค้าน !!
“คอรัปเตอร์” คงต้องบอกว่า แม้ “พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก” รมช.คมนาคม จะระบุว่าการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งนั้น มาจากการที่รัฐบาลต้องการเงินงบประมาณไปฟื้นฟู และป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดในอนาคต ทำให้มีแนวคิดในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง แต่ก่อนจะดำเนินการจะต้องมีความรอบคอบ ควรจะศึกษาความเหมาะสม นอกจากนี้ต้องมีการพูดคุยกับพนักงานให้มีความเข้าใจด้วย ซึ่งตนจะนำเสนอเรื่องนี้ให้ รมว.คมนาคม และจะเรียนท่านนายกฯ
ชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจน !?
“คอรัปเตอร์” บอกได้อีกเหมือนกันว่าในสัปดาห์นี้ ปมปัญหาแนวคิดการแปรรูปของทั้งสองบริษัท ปตท.และการบินไทย คงจะถูกบรรจุในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์นี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ จะขับเคลื่อนยับยั้งการขายสมบัติชาติครั้งนี้ได้หรือไม่นั้น ถือเป็นสิ่งที่สังคมต้องจับตา เพราะดูเหมือนว่ารัฐบาaล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ตั้งธงแปรรูปไว้ล่วงหน้าแล้วเด้อ…!!!
คอรัปเตอร์
********************************
น.4-คอรัปเตอร์ปะดาบ-300155
จ่อขายสมบัติชาติสวาปามปตท.-บินไทย
คอรัปเตอร์ปะดาบ-ช่วงปลายๆสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงหูกวาง หรือกระทรวงคมนาคม ต้องสะเทือนเลื่อนลั่นอีกครั้ง หลังกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นำโดย”สาวิตย์ แก้วหวาน” เลขาฯสรส. พร้อมด้วย “อัปสร กฤษณะสมิต” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “แจ่มศรี สุกโชติรัตน์” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสมาชิกทั้งสองบริษัทกว่า 30 คน ได้มายื่นหนังสือต่อ “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ” รมว.คมนาคม เพื่อให้รัฐบาลยุตินโยบายแปรรูป บริษัท ปตท. และ การบินไทย ให้พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยมี “พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก” รมช.คมนาคม มารับหนังสือแทนในครั้งนี้ !! “คอรัปเตอร์” บอกตามตรง “นายสาวิตย์” ในฐานะเลขาฯสรส. ระบุชัด ตามที่กระทรวงการคลังได้แถลงการณ์ออกมาในความต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือบริษัท ปตท. และการบินไทย โดยจะลดหุ้นลง 2% จากเดิม 51% ซึ่งจะทำให้ทั้งสองบริษัทเป็นเอกชนเต็มตัว แต่ไม่ได้ระบุชัดถึงเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งในส่วนของ กระทรวงคมนาคม ที่ควบคุมการบินไทยก็ยังไม่มีการพูดอะไรที่แน่ชัดออกมา เลยทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร และมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ส่วน “แจ่มศรี ศรีสุกโชติรัตน์” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ระบุว่า การบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจที่ภาคภูมิใจของคนไทย ก่อตั้งมา 51 ปีจากเงินภาษีของประชาชน เพื่อต้องการบริการประชาชนและเป็นสายการบินของชาติ การบินไทยไม่ควรที่จะถูกแปรรูปการบินไทยต้องเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่จะต้องแข่งขันกับเอกชนให้ได้ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ไม่เข้าใจว่าเหตุใด ถึงมีแนวคิดในการลดสัดส่วน !? โดยเฉพาะที่รัฐบาลบอกว่าจะปลดหนี้สาธารณะ มันเป็นประเด็นที่สังคมตั้งคำถามมาก การที่รัฐลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นไม่ได้ทำให้การบินไทยบริหารคล่องตัวได้จริง ซึ่งปัจจุบันการคล่องตัวอยู่ที่นโยบายของรัฐ และที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติและทางการเมือง แต่ก็ยังยืนอยู่ได้ จึงอยากให้ทางรัฐบาลมีการทบทวนนโยบายและให้การบินไทย เป็นรัฐวิสาหกิจตามเดิม !! ขณะที่ “อัปสร กฤษณะสมิต” ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจปตท. ระบุว่าปตท.เป็นพลังงานแห่งชาติ จากที่เป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กว่าจะมาเป็นบริษัท ปตท. จำกัด ภายใต้ พ.ร.บ.ทุนและจดทะเบียนตามกฎหมายแพ่ง ต้องใช้เวลาในการศึกษาวิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบรอบด้าน มีการกำหนดแก้ไขข้อกฎหมายในหลายๆเรื่อง โดยครั้งนั้นก็มีการเรียกร้องขอให้รัฐบาลคงสัดส่วนในการถือหุ้นไว้เพื่อให้ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่ผ่านมากว่า 10 ปีทางปตท.ก็เจริญรุดหน้าขึ้นเป็นลำดับ สามารถเป็นความมั่นคงของประเทศได้ หากรัฐบาลขายหุ้นปตท.ออกไป !! ปตท.ก็จะเป็นเอกชนแบบเต็มตัว ทำให้กลไกการตรวจสอบโดยรัฐ การส่งรายได้เข้ารัฐ การแทรกแซงราคา ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการกำหนดราคาพลังงานทั้งก๊าซ และน้ำมันก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในอนาคต การที่เป็นเอกชนจะมีผลกระทบไม่ว่าทางด้านการเงิน ทางภาคธุรกิจ ด้านบุคลากร ด้านประชาชน และด้านกฎหมายต่างๆที่ต้องไปหาทางแก้ไข ก่อนหน้านี้ก็มีการตอบรับว่าจะมีการชลอไว้ก่อนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหยุดแต่อย่างใด ซึ่งรัฐยังมีแนวคิดที่ทำรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชนอยู่ ซึ่งเป็นเหตุทำให้ออกมาคัดค้าน !! “คอรัปเตอร์” คงต้องบอกว่า แม้ “พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก” รมช.คมนาคม จะระบุว่าการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งนั้น มาจากการที่รัฐบาลต้องการเงินงบประมาณไปฟื้นฟู และป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดในอนาคต ทำให้มีแนวคิดในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง แต่ก่อนจะดำเนินการจะต้องมีความรอบคอบ ควรจะศึกษาความเหมาะสม นอกจากนี้ต้องมีการพูดคุยกับพนักงานให้มีความเข้าใจด้วย ซึ่งตนจะนำเสนอเรื่องนี้ให้ รมว.คมนาคม และจะเรียนท่านนายกฯ ชี้แจงเรื่องนี้ให้ชัดเจน !? “คอรัปเตอร์” บอกได้อีกเหมือนกันว่าในสัปดาห์นี้ ปมปัญหาแนวคิดการแปรรูปของทั้งสองบริษัท ปตท.และการบินไทย คงจะถูกบรรจุในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์นี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่สำคัญการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ จะขับเคลื่อนยับยั้งการขายสมบัติชาติครั้งนี้ได้หรือไม่นั้น ถือเป็นสิ่งที่สังคมต้องจับตา เพราะดูเหมือนว่ารัฐบาaล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ตั้งธงแปรรูปไว้ล่วงหน้าแล้วเด้อ…!!! คอรัปเตอร์********************************

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

สรส. ฮือ! ต้านแปรรูป ปตท. - บินไทย

"สรส." บุกคมนาคมยื่นหนังสือค้านแปรรูป "ปตท.-การบินไทย" จัดเวทีสาธารณะ 15 ก.พ.นี้ "ปตท." เตรียมหารือพลังงานดึงบุคคลที่ 3 ศึกษาราคาก๊าซ ครวญราคาต่ำกว่าต้นทุน ปัดผูกขาดธุรกิจกลั่นน้ำมัน "ปชป." ตั้งกระทู้ถล่มรัฐบาลอุ้มคนรวยขึ้นราคาพลังงาน ขณะที่ พ.ร.ก. 4 ฉบับ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เมื่อวันที่ 26 ม.ค.55 นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 27 ม.ค.55 สรส. พร้อมตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) และตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) จะเดินทางไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการเตรียมแปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ต่อนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม ในฐานะที่กระทรวงคมนาคมดำกับดูแลการบินไทย พร้อมกับขอความชัดเจนจาก รมว.คมนาคมในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะข้ออ้างของรัฐบาลจะลดสัดส่วนการถือครองหุ้นในรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง ลงร้อยละ 2 ให้กับกองทุนวายุภักษ์ เพื่อไม่ให้นับเป็นหนี้สาธารณะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการลดหุ้นบริษัปตท. จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง
นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า หลังจากรับฟังท่าทีของกระทรวงคมนาคมจะกลับไปประเมินภาพรวมก่อนเคลื่อนไหวต่อไป ส่วนนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ติดภารกิจที่ต่างประเทศ ดังนั้นยังไม่ยื่นหนังสือคัดค้านการเตรียมแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งต้องรอให้นายกิตติรัตน์กลับมาก่อน นอกจากนี้ สรส.เตรียมจัดเวทีสาธารณะในวันที่ 15 ก.พ.55 เพื่อให้ความรู้กับภาคสังคมเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยจะเชิญนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เข้าร่วมด้วย
นายเติมชัย บุญนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานต์ยนต์ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ กล่าวถึงกรณีที่ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ยังสงสัยถึงต้นทุนที่แท้จริงราคาก๊าซเอ็นจีวี ของบริษัท ปตท. ว่า ที่ผ่านมา ปตท.ได้มีความพยายามชี้แจงต้นทุนก๊าซเอ็นจีวีหลายเวทีแต่ไม่มีใครเชื่อ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับทุกฝ่ายทางปตท.ได้มีแนวคิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาเป็นผู้ทำการศึกษาต้นทุนราคาก๊าซเอ็นจีวี จะหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน อย่างไรก็ตามในการศึกษาในครั้งนี้ ทาง ปตท.จะไม่ขอออกค่าใช่จ่ายในการศึกษาเพื่อไม่ให้ถูกมองว่ามีส่วนได้เสีย
สำหรับหน่วยงานที่จะทำมาศึกษานั้น จะเป็นหน่วยงานใดก็ได้เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) หรือหน่วยงานใดก็ได้ ปตท.ยินดีจะให้มีการศึกษา ทั้งนี้เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น โดยจะขอหารือกับสนพ. กระทรวงพลังงานก่อน ก่อนหน้านี้ ปตท.ได้ว่าจ้างสถาบันปิโตรเลียมทำการศึกษาต้นทุนและจัดทำราคากลางเพื่อให้เกิดความโปร่งใส สำหรับราคากลางที่สถาบันปิโตรเลียมทำการศึกษาอยู่ที่ 15 บาท ซึ่งราคาขายก๊าซเอ็นจีวีในปัจจุบันอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม ราคาดังกล่าวนั้นต่ำกว่าต้นทุนมาก
"ปตท.ได้มีความพยายามชี้แจงต้นทุนก๊าซเอ็นจีวีมาโดยตลอด แต่ไม่มีใครเชื่อ หากจะกล่าวว่า ปตท.ไม่ชี้แจงคงไม่ใช่ เพราะ ปตท.ได้ชี้แจงทุกเวทีแล้ว นอกจากนี้การที่ ทีดีอาร์ไอมองว่า ปตท.ผูกขาดธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ทาง ปตท. ยินดีเป็นอย่างยิ่งหากใครจะเข้ามาทำธุรกิจนี้ และขาดทุนแทน ปตท." นายเติมชัย กล่าว
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์รมว.พลังงาน ระบุจะมีการทบทวนนโยบายพลังงานว่า ตนหวังว่าจะทบทวนจริงๆ และขอให้เอาหลักความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นธรรมกับประชาชนผู้ใช้พลังงานเป็นอันดับแรก เพราะกระเป๋าประชาชนต้องสำคัญกว่ากระเป๋า ปตท. อย่างไรก็ตาม การที่บอกว่าไม่สามารถหนุนนโยบายตรึงราคาก๊าซเอ็นจีวีได้ เพราะขาดทุน 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่กำไรสะสมอยู่ที่ 5 แสนล้านบาท อยากให้รมว.พลังงานไปดูว่าต้นทุนก๊าซที่แท้จริงคืออะไร หากรัฐบาลยังเดินหน้าขึ้นราคาพลังงานจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณากระทู้ถามสด เรื่อง ผลกระทบจากนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า ของนายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยนายจุติถามว่า รัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาค่าครองชีพอย่างไรบ้าง เพราะมีการปล่อยให้ราคาสินค้าแพงขึ้น อยากทราบว่ารัฐบาลจะอุ้มคนจนหรือคนรวย อย่าง ปตท. เพราะการขึ้นค่าพลังงานสร้างกำไรให้ปตท. ซึ่ง 7 ปีที่ผ่านมา ปตท. มีกำไรเกือบ 7 แสนล้านบาท
นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ ชี้แจงแทนนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลไม่ได้ปล่อยปละละเลย และมีแนวทางดูแลค่าครองชีพในปี 55 โดยการกำกับดูแลสินค้าหมวดอาหารและสินค้าปรุงสำเร็จแบบใกล้ชิด และจะเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และขณะนี้ยังไม่มีการปรับราคาก๊าชหุ้งต้มครัวเรือน จึงยังไม่กระทบต้นทุนการผลิตสินค้า รัฐบาลไม่ได้อุ้มคนรวย แต่ใส่ใจกับการแก้ปัญหาคนจนเป็นที่หนึ่ง
จากนั้น ได้พิจารณากระทู้ถามสดปัญหานโยบายการขายหุ้น ปตท. โดยนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การขายหุ้น ปตท. มีผลกระทบต่อประชาชน ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นและเพิ่มหนี้สาธารณะ ทำไมรัฐบาลจึงมองว่าการตบแต่งบัญชีเพื่อให้ดูว่าหนี้สาธารณะลดลง สำคัญกว่าการดูแลทุกข์สุขของประชาชน ขณะที่ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง กำลังจะชี้แจง นายเจะอามิง โต๊ะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประท้วงว่า ได้มีการตัดสัญญาณการถ่ายทอดสดไปแล้ว จึงมีการเสนอให้เลื่อนกระทู้ไปถามในสัปดาห์น้า
วันเดียวกัน นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ข้อความในเว็บไซต์เฟซบุ้ก "Kamnoon Sidhisamarn" ถึงกรณีการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) รับผิดชอบการชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนฟื้นฟู จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท โดยระบุว่า รัฐบาลควรเร่งทำเรื่องถึงสำนักราชเลขาธิการ ขอถอนร่าง พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท ออกมาเพื่อทบทวน เนื่องจากมีกระแสคัดค้านสูง แม้แต่ใน ครม.นัดอนุมัติร่าง พ.ร.ก.นี้ เมื่อ 4 ม.ค.ก็ตัดสินใจไปบนพื้นฐานข้อมูลที่อาจจะไม่ถูกต้องในประเด็นสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณฯ ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับเงื่อนไขรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคสองในการตรา พ.ร.ก.ว่าเป็น "กรณีฉุกเฉินจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" จริงหรือไม่
เย็นวันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พ.ร.ก. 4 ฉบับ ประกอบด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555, พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555, พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย พ.ศ. 2555 และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555

สยามรัฐ


วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

การผูกขาดธุรกิจพลังงานไทยของปตท. และชะตากรรมคนไทย


ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับการขึ้นราคาก๊าซ NGV ผู้เขียนเห็นด้วยว่า นโยบายการอุดหนุนก๊าซ NGV และ LPG นั้น ไม่ยั่งยืนเพราะราคาขายปลีกที่ถูกกว่าราคาตลาดทำให้มีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง รวมทั้งมีการลักลอบนำก๊าซ LPG ออกนอกประเทศทำให้เป็นรูรั่วทางการเงินที่อุดเท่าไรก็ไม่พอ

แต่ประเด็นที่เป็นข้อกังขาของสาธารณชนคือ ต้นทุนของก๊าซ NGV และ LPG ที่แท้จริงนั้นคือเท่าใดเพราะดูเหมือนประชาชนจะถูกมัดมือชก เนื่องจากราคาขายปลีกที่กระทรวงพลังงานอ้างถึงนั้น ล้วนเป็นราคาที่ “บวกต้นทุน” ของผู้ประกอบการ มิใช่ราคาตลาด เนื่องจากตลาดพลังงานไทยเป็นตลาดที่ผูกขาดตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำแบบเบ็ดเสร็จโดยปตท. และบริษัทในเครือ ทำให้ไม่มีราคาตลาดที่สามารถอ้างอิงได้ มีแต่ตัวเลขต้นทุนที่ “ที่ปรึกษา” ของ กระทรวงพลังงานคำนวณขึ้นมา ซึ่งในกรณีของราคา NGV ที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ คือ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 18 ของตึก ปตท.ที่ถ.วิภาวดีรังสิต และมีอดีตผู้บริหาร ปตท. รวมถึง คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. เป็นกรรมการมูลนิธิสถาบันแห่งนี้อีกด้วย

โดยหลักการแล้ว รัฐควรทำหน้าที่ในการกำกับดูแลธุรกิจผูกขาดเพื่อคุ้มครองประชาชน แต่แนวนโยบายด้านพลังงานตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน กลับสะท้อนว่ารัฐอยู่ข้างผู้ประกอบการซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น (1) การงุบงิบโอนโครงข่ายท่อก๊าซที่ผูกขาดให้แก่ บมจ. ปตท. (รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทุกประการที่ ปตท. เคยได้รับ) ในช่วงที่มีการนำ ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2544 (2) การขึ้นราคาก๊าซ LPG เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ จัดเก็บเพิ่มขึ้นถึง 12 บาท และ (3) การเปิดทางให้ ปตท. เข้าเทกโอเวอร์ธุรกิจกลั่นน้ำมันหลายแห่งจนกระทั่ง ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกลั่นน้ำมัน 5 แห่งใน 6 แห่ง (เหลือเพียง เอสโซ่ แห่งเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ถูกเทคโอเวอร์) ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทในเครือผูกขาดธุรกิจการกลั่นน้ำมันโดยมีส่วนแบ่งตลาดการกลั่นน้ำมันสูงถึงร้อยละ 85

อนึ่งการผูกขาดธุรกิจกลั่นน้ำมันส่งผลให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจต่อเนื่องคือ ธุรกิจปั๊มน้ำมันด้วย ทุกวันนี้ ท่านผู้อ่านแทบจะไม่พบเจอปั๊มน้ำมันอิสระเลย ที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพที่ร่อแร่เพราะไม่มีโรงกลั่นน้ำมันของตนเอง ต่างกับแต่ก่อนที่เราจะเห็นปั๊มน้ำมันที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เชลล์ Jet คาลเท็กซ์ หรือ เอสโซ่ ก็ดี

การที่รัฐบาลเลือกที่จะเข้าข้างปตท.ตลอดมา เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ (สำหรับระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบไทยๆ) เนื่องจากกำไรอันมหาศาลของ ปตท. (ปี พ.ศ. 2553 กำไร 167,376 ล้านบาท) เป็นขุมทรัพย์ของผู้กุมอำนาจนโยบายทั้งที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำ หากเข้าไปดูโครงสร้างกรรมการปตท. ทุกยุคทุกสมัย จะพบว่ามีข้าราชการกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานอัยการ เป็นหลัก[1] โดยมีนักธุรกิจที่มีสายโยงใยกับการเมืองเข้ามาร่วมด้วย เช่นในปัจจุบันก็มีนักธุรกิจสายโทรคมนาคมเข้าเป็นกรรมการ ปตท. ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจที่มีรายได้เกือบ 2 ล้านล้านบาท จะไม่มี “มืออาชีพ” ทางด้านพลังงาน กฎหมายพลังงาน หรือ ธุรกิจพลังงานที่เข้ามาบริหารจัดการเลย



[1]เมื่อปลายปี พ.ศ. 2553 ปปช. ได้มีข้อเสนอแก่ ครม. มิให้แต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ทั้งด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติ เป็นประธานกรรมการ และ เจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเป็นประธานหรือกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทในเครือ ด้วยเหตุผลของการทับซ้อนของบทบาทหน้าที่และผลประโยชน์ทางการเงิน


เดือนเด่น นิคมบริรักษ์


TCIJ

ขายสมบัติชาติซัดถ่ายหุ้นปตท.

พิมพ์ไทยรายวัน


“ธีระชัย”โพสต์เฟสบุ๊ครอบ4 หลังโดนเขี่ยพ้น”ขุนคลัง” ย้ำจับโกหก”กิตติรัตน์”ปมหนี้สาธารณะ ปัดทิ้งบอมบ์รบ.อ้างห่วงปท.ลั่นปชช.จำต้องรู้เช่นเห็นชาติ
ด้านปชป.ไล่บี้ตามติดตัวเลขหนี้สาธารณะ หลังโอนหุ้นไปกองทุน”วายุภักดิ์” ชี้แค่แต่งบัญชีหวังปูทางกู้เพิ่ม กัดเจ็บโอนปตท.สู่มือ”นายทุน” ถือ”ขายสมบัติชาติ”
เล็งชง ศาลรธน.ตีความ2พรก.เจ้าปัญหา
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค Thirachai Phuvanatnaranubala เมื่อ 25 ม.ค.นี้ เวลา 8:58 น. เป็นครั้งที่ 4 ภายหลังตัวเขาถูกปรับออกจากตำแหน่ง โดยให้ความเห็นถึง “อัตราส่วนภาระหนี้ 9.33 เป็นผลจากพระราชกำหนดหรือเปล่า″โดยระบุว่า
“โน้ตฉบับนี้ออกจะเน้นประเด็นวิชาการสักหน่อย แต่ผมจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน”
ขอเริ่มอธิบายว่าขั้นตอนการออกกฎหมายปกตินั้น จะทำในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งจะมีการพิจารณากันอย่างละเอียดรอบคอบ คือมีการพิจารณาในสภาถึง 3 ครั้ง และมีการตั้งคณะกรรมาธิการที่จะถกเถียงแก้ไขถ้อยคำกันทีละมาตรา และประชาชนก็จะสามารถติดตามประเด็นโต้แย้งต่างๆ ได้ แต่หากจะทำในรูปแบบพระราช กำหนด รัฐบาลจะยกร่างกฎหมายแต่ฝ่ายเดียว และในการเสนอสภา ก็จะไม่เปิดโอกาสให้มีการปรับปรุงแก้ไขใดๆ ถ้าสภาจะรับก็ต้องรับไปทั้งฉบับ ดังนั้นรัฐธรรมนูญ จึงกำหนดให้การออกกฎหมายในรูปแบบพระราชกำหนด กระทำได้เฉพาะเรื่องที่สำคัญ และเฉพาะเป็นเรื่องที่เร่งด่วนจริงๆเท่านั้น
“ปัญหาเรื่องนี้ คือในการพิจารณาร่างพระราชกำหนดเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟูนั้น รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) แจ้งครม. ว่าอัตราภาระหนี้ต่องบประมาณเท่ากับร้อยละ 12 จึงห่างจากเพดานร้อยละ 15 ไม่มากนัก ซึ่งถ้าข้อมูลเป็นดังนี้จริง ผมก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่เร่งด่วน แต่ภายหลังก่อนผมพ้นตำแหน่ง 1 วัน ผมพบว่าอัตราส่วนดังกล่าวไม่
ใช่ร้อยละ 12 แต่เป็นเพียงร้อยละ 9.33 จึงทำให้เหตุผลความเร่งด่วนหมดไป อย่างไรก็ตาม รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) อาจจะมีประเด็นอื่นๆ ที่ยังมีเหตุผลความเร่งด่วน อยู่อีกก็ได้นะครับ”
นายธีระชัย ระบุด้วยว่า ในวันนี้ นสพ. ไทยรัฐ ลงข่าวรองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) ชี้แจงว่า หากรัฐบาลไม่ออกพระราชกำหนดเกี่ยวกับหนี้กองทุนฟื้นฟู ภาระหนี้ ก็จะยังเป็นร้อยละ 12 จะไม่ลดลงมาเป็นร้อยละ 9.33 ในปี 2555 งบประมาณมี 2.38 ล้านล้านบาทครับ รัฐบาลมีภาระชำระดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู เป็นเงิน 68,424 ล้านบาท ดอกเบี้ยนี้จึงคิดเป็นร้อยละ 2.87 ของงบประมาณ จึงมีคนเข้าใจผิดได้ง่ายว่า ภาระหนี้เดิมอาจจะเป็นร้อยละ 12 หรือเปล่า แต่หากมีการออกพระราชกำหนด จะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระต้องชำระดอกเบี้ย 68,424 ล้านบาท จึงอาจจะทำให้ภาระหนี้ลดลงเหลือ 9.33 หรือเปล่า รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) เข้าใจแบบนี้ครับ ตัวของผมเอง เมื่อตอนแรกก็สงสัยว่าอาจจะเป็นแบบนี้หรือไม่ครับ
“แต่หากเปิดดูกฎหมายงบประมาณที่เพิ่งจะผ่านสภาไปเมื่อวานนี้ จะเห็นได้ ว่าดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู 68,424 ล้านบาทนั้น รวมอยู่ในรายจ่ายงบประมาณแล้วครับ และหากใช้ตัวเลขในกฎหมายงบประมาณดังกล่าว ในการคำนวณภาระหนี้ ก็จะได้ตัวเลขร้อยละ 9.33 พูดง่ายๆ ก็คือว่า ภาระหนี้ร้อยละ 9.33 นั้นรวมดอกเบี้ยหนี้กองทุน ฟื้นฟูไว้แล้ว และทั้งนี้ ถ้าหากสมมุติว่ารัฐบาลไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟู 68,424 ล้านบาท อัตราภาระหนี้ก็กลับจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 9.33 เสียอีกครับ จะเหลือ เพียงร้อยละ 6.46 เท่านั้น”
ส่วนการคำนวณตัวเลขต้องระวังนะครับ มิฉะนั้น ถ้าเข้าใจผิดบวกดอกเบี้ยหนี้กองทุนฟื้นฟูเข้าไปสองครั้ง เหมือนรองนายกฯ(นายกิตติรัตน์)ก็จะได้ตัวเลขร้อยละ12 ซึ่งไม่ถูกต้อง ตัวเลขนี้โกหกกันไม่ได้ เพราะอยู่ในกฎหมายงบประมาณทุกตัว
“ผมเองเป็นรองประธานกรรมาธิการงบประมาณ จึงเข้าใจเรื่องนี้ครับ และตัวเลขนี้ก็ได้ยืนยันกับทีมงานสำนักบริหารหนี้สาธารณะแล้ว ถ้าข้อมูลล่าสุดแสดงว่ากฎหมาย นี้ไม่เร่งด่วน หรือไม่เข้าตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญ ผมขอแนะนำให้รองนายกฯ (นายกิตติรัตน์) ควรจะต้องพิจารณาทบทวน ที่ผมชี้แจงมานี้ เพียงเพื่อต้องการให้ข้อมูลที่ถูก ต้องและเป็นประโยชน์ ไม่ใช่การทิ้งบอมบ์หรือเพราะผิดหวัง แต่เป็นห่วงประเทศชาติจริง ๆ เพราะประชาชนควรได้รับทราบข้อเท็จจริงครับ”
นอกจากนี้ ใน นสพ. ไทยรัฐวันนี้ คอลัมน์กระจก 8 หน้า โดยมิสไฟน์ กรณีที่ผมคัดค้านการพยายามแสดงตัวเลขหนี้สาธารณะที่ต่ำกว่าจริง ว่า“รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงิน อีกมาก เพื่อสร้างอนาคตประเทศ ทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ล้วนมีค่าทั้งสิ้น”
“ผมไม่ได้คัดค้านเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องกู้ครับ แต่ขอให้แสดงตัวเลขหนี้ไปตรงๆเท่านั้น อย่าพยายามหลอกว่าหนี้มีต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะถึงแม้แสดงตัวเลข ตรงๆ ก็ไม่มีปัญหาในการกู้จากตลาดเงินตลาดทุนอยู่แล้ว แต่การแสดงตัวเลขต่ำกว่าจริงนั้น ในอนาคตจะทำให้รัฐบาลกู้มากไปจนเกินกำลัง จะทำให้ประชาชนใช้ชีวิต แบบไม่พอเพียงและฟุ้งเฟ้อ “ทุกบาททุกสตางค์ไม่ว่าจะมาจากที่ไหน ล้วนมีค่าทั้งสิ้น” จริงๆ หรือครับ ผมว่าไม่จริง เงินที่ได้จากการหลอกตัวเลข ในความเห็นของผม ไม่มีค่าใดๆ อย่าไปเอามาเลยครับ”
ที่พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี โฆษก ครม.เงา แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เงาได้มีการพิจารณากรณีการแปรรูป ปตท.ที่รัฐบาลโอนหุ้นจาก กระทรวงการคลัง ไปให้กองทุนวายุภักษ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะจากการเป็นรัฐวิสาหกิจของ ปตท. โดยที่ประชุมมองว่าเป็นการขยับให้รัฐบาลสามารถไปก่อหนี้เพิ่มเติมได้
เพิ่ม จะทำให้หนี้สาธารณะลดลงเฉพาะตัวเลขเท่านั้น โดย ครม.เงาให้ไปศึกษาว่าในช่วง 5-6 เดือนที่จะเกิดขึ้นต ัวเลขหนี้สาธารณะที่แท้จริงจะเป็นจำนวนเท่าไร หลังจาก มีการตกแต่งทำบัญชี เพื่อกู้เพิ่ม จึงต้องติดตามดูว่าการปรับให้กองทุนวายุพักเข้าไปใครมีส่วนได้ส่วนเสียในครั้งนี้
“แค่เริ่มต้นก็เสียวแล้ว มีการล้วงมือเข้าไปในกระเป๋าแบงก์ชาติ ตอนนี้กำลังเอาสมบัติชาติไปขายจึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ว่าที่อ้างว่าต้องการขยับเพื่อกู้หนี้ได้เพิ่ม เป็นการเอาสมบัติชาติไปขายหรือไม่”
นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลโอนหุ้นร้อยละ 2 ให้กองทุนวายุภักษ์ ไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของปตท. เพราะบอร์ด ปตท.ก็ยังเหมือนเดิม จึงไม่ส่งผลต่อนโยบายด้านพลังงาน เพียงแต่ขยับหนี้สาธารณะให้ลดลงเท่านั้น เพราะหนี้ที่ ปตท.ก่อทุกปี ถูกนับรวมให้เป็นหนี้สาธารณะ ขณะนี้ปตท.มีหนี้มากถึง 2.52 แสนล้านบาท จาก 4.3ล้านล้านบาท เมื่อ ปตท.แปรรูปไปแล้ว จะทำให้หนี้สาธารณะลดฮวบ
นายสรรเสริญ สะมะลาภา รมช.คลังเงา กล่าวว่า การพยายามลดหนี้สาธารณะ เป็นเพียงข้ออ้างเพราะยังมีเพดานในการกู้อีกมาก ประมาณ 2 ล้านล้านบาท ครั้งนี้ รัฐบาลเพียงแค่เลี่ยงบาลีเท่านั้น หากจะมีการลดหนี้สาธารณะเพื่อจะนำไปสู่การกู้ใหม่ ก็ต้องขอดูแผนการกู้ว่าทำไมถึงกู้มากมาย และแม้จะไม่มีการโยกหนี้สาธารณะ ปตท.ก็ดูแลตัวเองได้อยู่แล้วเพราะรวยมาก จึงน่าจะมีวาระซ่อนเร้นมากกว่าในการลดหนี้สาธารณะ
“สิ่งที่น่าสังเกต คือ มีความพยายามนำกองทุนวายุภักษ์เข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเป็นโอกาสให้หุ้น17 เปอร์เซ็นต์นี้ไปอยู่ในมือนายทุน เราไม่เชื่อใจรัฐบาลชุดนี้ เพราะมีความพยายามมาตั้งแต่แรกที่จะฮุบ ปตท.จากมือประชาชนไปสู่นายทุน เพราะภาระของ ปตท.ไม่ได้มีอยู่แค่ดูแลด้านพลังงาน แต่มีการลงทุนอีกหลายอย่าง เช่น โครงการท่อก๊าซ 3 หมื่นล้านบาท หรือการลงทุนร่วมไทย-กัมพูชา ในโครงการแหล่งก๊าซธรรมชาติ
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ กล่าวว่า นอกจาก พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูให้ ธปท.รับภาระแล้ว พ.ร.ก.เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ก็เป็นสิ่ง ที่พรรคจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วย เท่ากับว่าจะยื่นตีความ 2 ฉบับ เพราะข้อมูลชัดเจนขึ้นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้เงินเร่งด่วนตามที่รัฐบาลอ้าง
ส่วนที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ ออกมาอ้างว่าตัวเลขภาระหนี้ต่องบประมาณที่เหลือร้อยละ 9.33 แทนที่จะเป็นร้อยละ 12 เป็นเพราะมีการโอนหนี้กอง
ทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาท ให้แบงก์ชาติรับผิดชอบจากการออก พ.ร.ก.นั้น ประเด็นหลักคือ ไม่ว่าจะกี่เปอร์เซ็นต์ ล้วนแต่ฟ้องว่ารัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องออก พ.ร.ก. หรือไปยุ่งวุ่นวายกับหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ เพราะยังอยู่ในวิสัยที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ซึ่งกระทรวงการคลังยืนยันแล้วว่า ตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 9.33 และสิ่งที่เกิด ขึ้นก็เป็นเพียงแค่ความพยายามสร้างเรื่องขึ้นมารองรับการออก พ.ร.ก. จึงไม่แปลกใจที่จะทำให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ธีระชัย" เฟสบุ๊กค้านแหลก คลังขายหุ้นปตท.ให้วายุภักษ์เข้าข่าย "ตกแต่งบัญชี"

สยามรัฐ

" ปธ.กยอ."การันตีซื้อหุ้นปตท.-การบินไทย เพื่อฟื้นฟูหนี้สาธารณะ ไม่หวั่นซ้ำรอยวิกฤตกรีซ-อาร์เจนติน่า "ธีระชัย" เฟสบุ๊กค้านแหลก คลังขายหุ้นปตท.ให้วายุภักษ์เข้าข่าย "ตกแต่งบัญชี" ไม่ทำให้ต่างชาติเชื่อมั่นได้ว่ารบ.จะไม่เข้าไปแทรกแซง เว้นแต่ขายให้มือที่ 3 ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้าน"มาร์ค" จวกรัฐแปรรูป ปตท.หวังเอากำไรสนองกลุ่มทุน โยนภาระให้ประชาชน
เมื่อวันที่ 20 ม.ค.55 นายวีรพงษ์ รางมากุล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.)กล่าวถึงแนวทางที่รัฐบาลจะเข้าไปซื้อหุ้นปตท.การบินไทยในตลาด หลักทรัพย์ เพื่อฟื้นฟูหนี้สาธารณะ ขณะที่สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาคัดค้านร่างพ.ร.ก.
นายวีรพงษ์ กล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจากสถาบันการเงินจากกระทรวงการคลังไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ถือเป็นความชอบธรรมของรัฐบาล เพราะสถานะการเงินของ ธปท.ขณะนี้มีความเข้มแข็งพร้อมบริหารจัดการหนี้ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทได้
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า แนวคิดการโอนหุ้นรัฐวิสาหกิจไปให้กองทุนวายุภักษ์ถือครองแทนกระทรวงการคลังเพื่อให้พ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ บมจ.ปตท.(PTT)และ บมจ.การบินไทย(THAI) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่แต่ละปีมีการใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงนั้น มองว่าไม่น่ามีปัญหา โดยเฉพาะหากรัฐบาลจะให้กองทุนวายุภักษ์เข้าซื้อหุ้นเพียงสัดส่วน 2% จาก ปตท. เพื่อทำให้ ปตท. หลุดจาการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจะทำให้หนี้ของ ปตท.ที่มีอยู่กว่า 7 แสนล้านบาทไม่กลายเป็นหนี้สาธารณะของรัฐบาลต่อไป และจะส่งผลให้สถานการคลังของรัฐบาลดีขึ้นส่วนกรณีของการบินไทย ยังต้องมีการหรือทำความเข้าใจกับสหภาพการบินไทยก่อน เพราะขณะนี้สหภาพฯยังคงคัดค้านแนวทางที่จะให้การบินไทยพ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ เรื่องเหล่านี้ไม่ต้องห่วงว่าจะเป็นอาเจนติน่า หรือกรีซ ตัวตนหวาดกลัวเรื่องวิกฤตการเงินจึงต้องระวังเรื่องนี้ให้ดีที่สุด
ด้านนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.กระทรวงการคลัง แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก "Thirachai Phuvanatnaranubala"ถึงกรณีที่รัฐบาล จะนำหุ้นรัฐวิสาหกิจ อาทิ ปตท. และ การบินไทย เข้าไปอยู่ในกองทุนวายุภักษ์ เพื่อให้รัฐบาลมีระดับหนี้สาธารณะลดลงจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเนื้อหาสรุปว่า ทางด้านภาษานักบัญชีเรียกวิธีการเช่นนี้ว่า "การตกแต่งบัญชี" คือการทำให้หน้าต่างที่แสดงสินค้าดูสวยหรู แต่เป็นการบังหน้าปัญหาที่เละเทะที่ซ่อนอยู่ภายในร้าน และตัวอย่างของประเทศกรีซ ก็เห็นแล้วว่า หากพยายามซ่อนตัวเลขหนี้สาธารณะ และภายหลังถูกจับได้ ก็จะไม่มีใครเชื่อถือเครดิตของประเทศอีกต่อไป เป็นอันตรายอย่างมาก ขอเตือนไว้
ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า รัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญในทางเศรษฐกิจใหม่ เพราะสถานการณ์วันนี้ประชาชนรอคอยให้มีการลดค่าครองชีพ และเพิ่มรายได้ ตามนโยบายที่ยังค้างอยู่ของรัฐบาลมากกว่า ที่จะมาดูช่องทางทางธุรกิจ เพราะ ปตท.ยังมีปัญหาในเรื่องระบบการกำกับดูแลเรื่องการแข่งขัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยการผลักภาระไปสู่ประชาชนและเพิ่มกำไรให้ ปตท.อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการฟ้องว่ารัฐบาลกำลังทำงานโดยคิดถึงใครเป็นสำคัญ ตอบสนองเป้าหมายของกลุ่มทุนกลุ่มเล็กๆ ดังนั้นหากมีการขายหุ้นออกไปสุดท้ายก็ตรวจสอบไม่ได้ว่าใครคือผู้ถือหุ้น ปตท.
"แม้แต่นายธีรชัย ภูวนารถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ก็วิจารณ์ว่าการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อลดหนี้สาธารณะ เป็นเรื่องอันตรายอันตราย เพราะจะถูกมองคล้ายหลายประเทศในยุโรปที่พยายามซ่อนหนี้ที่แท้จริงของภาครัฐจนไม่ได้นับความเชื่อมั่นกระทั่งกลายเป็นวิกฤตหนี้สาธารณะในที่สุด"
เมื่อถามว่า การแต่งตั้งให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ เป็นรมว.พลังงานเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการสร้างกำไรให้ ปตท.คิดว่าพ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เบื้องหลังหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าน่าจะเกี่ยวพัน ไปจนถึงเรื่องการทำข้อตกลงการทำธุรกิจกับต่างประเทศ ความพยายามที่จะเพิ่มกำไรและโยงกับเรื่องการแปรรูปด้วย และการที่ผู้บริหาร ปตท.ไปพบ รมว.พลังงานคนใหม่เพื่อผลักดันให้มีการนำก๊าซในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชามาแบ่งปันผลประโยชน์ก็แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างเชื่อมโยงกัน
กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เห็นว่า ไม่ยุติธรรม และส่งผลเสียกับประเทศในระยะยาวว่า เมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยและต้องวางระบบป้องกันอุทกภัย ขณะเดียวกันก็ว่าง เว้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นเวลานาน จนประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้าไทยไปหมด



เปลว สีเงิน : ปฏิบัติการ “ปล้นชาติ” สายฟ้าแลบ


 
เปลว สีเงิน

  ทำไมจึงมีคำว่า “สุภาพบุรุษโจร” ท่านทราบมั้ย…ผมก็ไม่ทราบ แต่ลองทบทวน “กฎ-กติกา-มารยาท” โจรสมัยก่อนก็พอเห็นเค้าลางๆ สมมุติว่าครม จ.แก๊งนั้นลงมติ “จะปล้นบ้านหลังนี้” ขั้นตอนปฏิบัติก่อนปล้น เขาจะเขียนเป็นป้ายไปปักให้รู้ตัวล่วงหน้าก่อน “แรม ๕ ค่ำ กู…จะปล้น” ครั้นถึงกำหนด ก่อนเข้าปล้น หัวหน้าโจรซึ่งส่วนมากเป็นตัวผู้ โจรตัวเมียมีน้อย  จะตะโกนให้เจ้าทรัพย์รู้ตัวอีกครั้ง ไอ้เสื่อเอาวา…หรือ…ไอ้เสือบุก!
    เหมือนจอมยุทธ์หนังกำลังภายใน ฝ่ายออกอาวุธก่อนต้องว้ากกกกเพ้ย  เพื่อ ให้อีกฝ่ายออกกระบวนท่ารับมือ แฟร์ๆ แบบนี้กระมัง หนังจีนจึงเรียกผู้นั้นว่า…จอมยุทธ์ ส่วนของเราเรียก…จอมโจรบ้าง…สุภาพบุรุษโจรบ้าง
    โดยเยี่ยง…รัฐบาลนี้มีคุณสมบัติเป็น “สุภาพบุรุษโจร”!
    เพราะ ก่อนปล้นประเทศ ชิงเอา ปตท.และการบินไทย ให้พ้นสภาพรัฐวิสาหกิจ เปิดช่องให้กลุ่มทุนฮุบรวยมโหฬารบานตระกูลแต่ผู้เดียว เขาก็ส่งสัญญาณบอกให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ ปตท.-การบินไทย รู้ตัวก่อนเหมือนกัน
    เริ่มจากนายโกร่งจุดประเด็น-เซลไอเดีย จะให้กองทุนวายุภักษ์  กระทรวง คลัง โดยภาษีประชาชน ไปซื้อหุ้น ปตท.และการบินไทยแห่งละ ๒% เมื่อคลังเหลือแห่งละ ๔๙% ทั้ง ปตท.และการบินไทย ที่เกิดขึ้นด้วยภาษีประชาชนเช่นกัน ก็จะพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจไปด้วยความเจ้าเล่ห์-แสนกล!
    แต่ความจริงไม่ง่ายหรอก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน “รู้แกว” ตีกันไว้แล้ว!
    รัฐวิสาหกิจอย่าง ขสมก. อย่างรถไฟ มันไม่เอา เพราะไม่สร้างกำไร  แถมมาก มายไปด้วยหนี้ แต่มันจะเอา ปตท.-การบินไทย กระทั่ง กฟผ.ที่เป็นพลังงานเพื่อไทย เพื่ออนาคตแข็งแกร่งประเทศไทย เป็นเส้นเลือดประเทศ และเป็นแหล่งสร้างรายได้หลักเข้าประเทศ
    การ จุดพลุประเด็นนี้ของนายกรัฐมนโทโกร่ง ผมถือว่าเขาปฏิบัติตามกฎ-กติกา-มารยาทโจร ถ้าเป็นโจรจริงๆ สามารถเข้าทำเนียบ “สุภาพบุรุษโจร” ได้เลย แต่รัฐมนโทโกร่งไม่ใช่โจร หากแต่เป็นผู้ล้ำเลิศเข้าตากระบวนการแดงทั้งแผ่นดิน จึงอัญเชิญมาออกแบบอนาคตใหม่ให้กับประเทศไทย!
    แล้ว เมื่อวาน (๑๙ ม.ค.๕๕) เมื่อนายโกร่งปักป้าย คณะปฏิบัติการก็ลงมือด้วยการประกาศตามขั้นตอน…ไอ้เสือเอาวา…เอ้า…อ่านย่อๆ “บทเอาวา” ที่ผมคัดจากข่าว “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” มาให้อ่าน เพื่ออนุโมทนาร่วมกัน ดังนี้
    นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า คลังมีนโยบายที่จะขายหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT)  และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) เพื่อ ไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้เงินกู้ของทั้ง 2 บริษัท ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ เพื่อแสดงให้นักลงทุนต่างประเทศเห็นว่าจริงๆ แล้วหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำมาก
    อย่างไรก็ตาม เรื่องการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่วน  อาจจะดำเนินการภายในปี โดยจะเป็นการขายหุ้นให้กับกองทุนวายุภักษ์ของกระทรวงการคลัง
    “แม้ ว่าตอนนี้หนี้สาธารณะของไทยจะอยู่ในระดับต่ำ 40% จากกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ก็อยากทำให้ต่างชาติเห็นว่าจริงๆ แล้วหนี้สาธารณะประเทศอยู่ต่ำกว่านั้นอีก”
    นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ  (สบ น.) กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจมีหนี้จำนวน 1 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ปตท. บริษัท การบินไทย และบริษัท การท่าอากาศยานไทย
    ด้าน นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า กองทุนวายุภักษ์มีสภาพคล่องประมาณ 5 หมื่นล้านบาท และพร้อมที่จะเข้าไปซื้อหุ้นบริษัท ปตท. และบริษัท การบินไทย แห่งละ  2% เพื่อให้เหลือสัดส่วนที่คลังถืออยู่ 49% ไม่ถือเป็นรัฐวิสาหกิจ
    เป็น ไงล่ะ…ลีลาปล้นเยี่ยงสุภาพบุรุษโจรน่านับถือใช่มั้ย บอกให้รู้ตัวทั้งก่อนปล้น และขณะจะลงมือปล้น แถมมีเหตุผลสวยหรูประกอบการปล้น ทำแบบนี้ด้วยนึกว่า นักลงทุนต่างชาติมันควาย แค่ย้ายหนี้จากกระเป๋าซ้ายไปซ่อนไว้กระเป๋าขวา มันก็นึกว่าหนี้สาธารณะไทยมีจิ๊บจ๊อย
    ซึ่ง แท้จริงแล้ว ไม่ว่าอยู่ที่ใคร-ตรงไหน ทางตรงหรือทางอ้อม มันก็คือ “หนี้ประเทศไทย” ที่คนไทยทุกคนต้องจ่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่วายุภักษ์ อยู่ที่รัฐวิสาหกิจ  หรืออยู่ที่กระทรวงการคลัง”
    มันทำ-มันปล้นกันด้านๆ ด้วยถือในอำนาจแดงอย่างนี้ แล้วนายอะไรล่ะ  ผอ.สบน.น่ะ ผมไม่กล้าเขียนชื่อ เกรงว่าเขียนผิดแล้วจะทำให้เขาเสียฮวงจุ้ย  พลาดคิวบัญชีว่าที่รัฐมนตรีคลังทักษิณประเทศคนต่อๆ ไป พูดออกมาได้  เหมือนเห็นคนไทยควายทั้งประเทศ
    “ปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจมีหนี้จำนวน 1 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ปตท. บริษัท การบินไทย และบริษัท การท่าอากาศยาน”
    ไอ้เรื่องตัวเลขทางบัญชีน่ะ จะเอาแบบขาดทุน หรือแบบกำไร มีให้เลือก  หยิบตัวเลขส่วนนั้นมาอ้างอิงประกอบเหตุที่ตัวเองต้องการล่อหลอกให้คนเชื่อได้ทั้งนั้น 
    เอา งี้ดีกว่า เจอเครือข่ายตระกูลชินคนไหน ลองแอบกระซิบที่ซอกหูถามเขาซิว่า “ตั้งแต่ซื้อมาหุ้นละ ๓๐ กว่าบาท จนถึงวันนี้ รับปันผลไปแล้วกี่หมื่น-กี่แสนล้าน หรือว่าไม่เคยมีปันผลเลย?”
    ผม เห็นแต่ ปตท.มีกำไรส่งคลังติดอันดับท็อปไฟฟ์มาตลอด แล้ว ข้า-ราชะ-การคลังนายนี้ ตีขลุมให้คนฟังเข้าใจว่า ปตท.-การบินไทย มีแต่สร้างหนี้ให้คลังแบกเป็นล้านล้านบาท ฉะนั้น ต้องขายเพื่อให้พ้นความเป็นหนี้สาธารณะ ฟังแล้วขยะแขยง
    ก็ลองดูนี่ซิ ข้อมูลแจ้งตลาดหลักทรัพย์ถึงผลประกอบการแต่ละปีของ  ปตท. ผมก็หุ้นส่วน ปตท.คนหนึ่งเหมือนกัน…ทำเล่นไป เอ้า…ดูตัวเลขนี่ซิ
    ปี ๒๕๕๑ ปตท.กำไรสุทธิ ๕๑,๗๐๔.๘๐ ล้านบาท
    ปี ๒๕๕๒ ปตท.กำไรสุทธิ ๕๙,๕๔๗.๕๙ ล้านบาท
    ปี ๒๕๕๓ ปตท.กำไรสุทธิ ๘๓,๐๘๗.๗๒ ล้านบาท
    และแค่ไตรมาส ๓ ของปี ๒๕๕๔ ปตท.ที่นายอะไรนั่นฉ้อฉลตัวเลขว่า  ปตท.เป็นตัวสร้างหนี้ให้คลัง ทำกำไรสุทธิไปแล้ว ๘๘,๖๕๑.๔๒ ล้านบาท นี่ขนาดยังไม่ทันครบ ๔ ไตรมาส คิดเป็นกำไรก็ปาเข้าไปตั้ง ๓๑.๐๘ บาท/หุ้นแล้ว!
    แบบ นี้ ปตท.ทำกำไรช่วยล้างหนี้ให้คลัง หรือ ปตท.สร้างหนี้ให้คลังอย่างที่นาย สบน.นั่นบิดเบือน หาเหตุขายสมบัติชาติ เพื่อให้กลุ่มทุนภาคเอกชนฮุบไปกินท่าเดียว!?
    รัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ๖ เดือน ใช้ประเทศเป็นทุนสร้างผลประโยชน์ให้ทักษิณและเครือข่ายแดงอย่างเดียว คนถูกน้ำท่วมน่ะ ใครบ้าง…ที่ไปตอแหลตอหลดตดใต้น้ำรับปากช่วยเหลือ-เยียวยาสารพัดสารพันกับชาว บ้านไว้น่ะ ตอนนี้ไม่มีอยู่ในความจำและลืมคำตอหลดหมดแล้วใช่มั้ย?
    เปิด หนังสือพิมพ์ เปิดโทรทัศน์ เปิดเว็บไซต์ เปิดทุกแห่งที่เป็นแหล่งให้ข่าวสาร ได้ยินคนไหนในรัฐบาลพูดถึงนโยบายที่ให้ไว้ตอนหาเสียงอีก มันเหมือนผายลมให้สุนัขดมไปหมดแล้ว กระทั่งคำสัญญาที่ไปยืนร้องไห้ขี้มูก-ขี้ลายไหล ว่าจะไม่ทอดทิ้งพ่อแม่พี่น้อง
    แจก ๒ พัน ๕ พัน ๓ หมื่นอะไรนั่น แจกเป็นโปรโมชั่นการตลาดออกโทรทัศน์ก็จบแค่นั้น สำหรับรายการคนบ้านถูกน้ำท่วม ไม่เหมือนขบวนการที่มีนางแม่มดคอยตามจิกรัฐบาลสำรวยลืมคำ ฮึ่มฮั่ม…อย่าทำเป็นวัวลืมตีนนะ เท่านั้นแหละ ฟาดไป ๒,๐๐๐ ล้าน
    ไม่ใช่ค่าบ้าน-ค่าเมืองถูกน้ำท่วม
    แต่เป็นค่า…เผาบ้าน-เผาเมือง!
    ๖ เดือน ทำแต่เรื่องเพื่อพี่ เพื่อขบวนการ เพื่อผลาญและเพื่อยึดบ้าน-ยึดเมือง หมกมุ่นแต่แก้รัฐธรรมนูญ แก้มาตรา ๑๑๒ ออก พ.ร.ก.กู้เพื่อผลาญในปัจจุบัน แล้วผันเป็นหนี้สะสมให้อนาคต แปลงโจรเป็นข้าราชการการเมือง หวังเป็นหนอนชอนประเทศให้เป็นแดง ยุแยงให้เกลียดชังสถาบัน บั่นให้คลอน ก่อนผลักล้มครืน
    -แก้มาตรา ๑๑๒
    -ปล้น ๒,๐๐๐ ล้านแจกโจร
    -ล้มรัฐธรรมนูญเขียนใหม่
    -ออก พ.ร.ก. ๔ ฉบับ สร้างหนี้สะสมให้ประเทศ
    นี่คือ “วาระแห่งชาติ” สำหรับประชาชนผู้รักบ้าน-รักเมืองต้องช่วยกันกู้  และวันนี้ ด้วยน้ำมือบริหารของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ “วาระแห่งชาติ” จำเป็นต้องบรรจุเพิ่มอีก ๒ หัวข้อ คือ
    -แก้ พ.ร.บ.กลาโหม และซิกแซ็กเอา ปตท.-การบินไทยพ้นจากรัฐวิสาหกิจให้เอกชน “กลุ่มทุน” ฮุบเป็นเจ้าของ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

ปตท. บทเรียนที่ช้ำใจของคนไทย

ปตท. บทเรียนที่ช้ำใจของคนไทย
บทความนี้ ได้เขียนไว้นานแล้วครับ นำมาให้อ่านอีกครั้งครับ เพราะเข้ากับสถานการณ์ที่เป็นข่าวในช่วงนี้พอดี
วัน ก่อนได้ยินแว่ว ๆ คำโฆษณาของ ปตท. ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ว่าเป็นสปอตวิทยุ หรือโทรทัศน์ ได้ยินเสียงโฆษณาคล้าย ๆ กับตั้งเป็นคำถาม ว่า “ มีคนถามว่ากำไรของปตท. กลับคืนไปที่ใคร” อะไรๆ ทำนองนี้แหละครับ ท่านผู้อ่านก็คงได้ยินและคงนึกในใจไม่ต่างกับผมเท่าไรว่า ถามทำไม ก็รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าใครเป็นเจ้าของ คนนั้นก็คือผู้ได้ประโยชน์จากผลกำไรที่เกิดขึ้น
ถ้า ถามคำถามกันอย่างนี้ ก่อนหน้า ปตท.เข้า ซื้อ/ขาย ในตลาดหลักทรัพย์ คนไทยทั้งประเทศ คงตอบได้เหมือนกันหมดว่า “ กำไรเป็นของพวกเราครับ!”
ทำไม รัฐบาลออกสปอตโฆษณาแบบนี้ ทำเพื่ออะไร ทำไมไม่พูดความจริง ทุกวันนี้ ผมมีความรู้สึกแปลก ๆ แปลกใจว่าเป็นแฟชั่นไปแล้วหรือ ที่คนเด่นคนดัง ผู้นำประเทศ ตั้งแต่ดาราไปจนถึงนายกรัฐมนตรีกันเลย มองพวกเราประชาชนคนไทย กินแกลบกันหรืออย่างไร
ต้องไปดูกันครับว่า ใครคือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท.?
กระทรวง การคลังแน่นอน และนอกจากกระทรวงการคลังแล้ว ก็จะเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศทั่วโลกครับ แต่เราไม่มีโอกาสที่จะรู้หรอกครับว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์ (Beneficial) ที่แท้จริง เพราะนักลงทุนเหล่านี้มาในรูปแบบของสถาบันบ้าง กองทุนบ้าง หรือแม้แต่กองทุนส่วนตัว (Private fund) ที่ใช้ตัวแทน (Nominee) ตรงนี้แหละครับที่อันตราย เพราะข่าวแว่ว ๆ ว่ามีเศรษฐีในไทยฝากเงินไว้ในต่างประเทศ ในรูปแบบของ Private Banking และขอสิทธิใช้กองทุนลักษณะนี้ ในการซื้อหุ้นราคาก่อนเข้าตลาด ที่เรียกกันว่าไอพีโอ กอบโกยกำไรกันเพลินไปเลย ที่น่าเจ็บใจ ก็คือฝ่ายรัฐบาล ( แกล้งโง่) ยินยอมให้กองทุนลักษณะนี้ ได้สิทธิในการซื้อหุ้นจำนวนมากโดยจัดชั้นว่าเป็นนักลงทุนต่างชาติ
พูด ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเป็นคนไทยใช้เงินบาทซื้อ ให้สิทธิซื้อทีละไม่เกิน 5,000-10,000 หุ้น แต่ถ้าเงินคนไทยฝากไว้ในต่างประเทศ ในลักษณะที่เรียกว่า Private Banking แล้วตั้งตัวแทน ใช้ชื่อกองทุนหรู ๆ ผ่านสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง ก็จะได้สิทธิซื้อหุ้นราคาไอพีโอเป็นล้าน ๆ หุ้น
มาดูข้อมูลกันครับ
ฝ่ายไทย เบื้องต้นมีเพียง กระทรวงการคลัง และ สำนักงานประกันสังคมเท่านั้น
ก่อน นำ ปตท. เข้าตลาดกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ 100% วันที่ 10 เมษายน 2545 จำนวนหุ้นลดลงจาก 100% เหลือ 69.28% ขายหุ้นให้นักลงทุนทั้งไทยและเทศ ได้เงินเข้าคลังเพียงประมาณ 30,000 ล้าน (ปัจจุบันราคาหุ้นสูงขึ้น 7 เท่า)
เท่านั้น ไม่พอ อยู่ดีๆก็ขายหุ้นเพิ่มอีกครับ วันที่ 22 มีนาคม 2547 เหลือหุ้นในมือเพียง48.55% ขายหุ้นออกไปอีกถึงร้อยละ 17 ราคาหุ้นช่วงนั้น ประมาณ 150 บาทต่อหุ้น ได้เงินเข้าคลังมากหน่อย ป่านนี้รัฐบาล คงใช้ไปหมดแล้ว เพราะเมื่อไม่กี่วันมานี่ก็ขอกู้อีก 80,000 ล้านบาท สำหรับสำนักงานประกันสังคม ซื้อหุ้นไว้เบื้องต้นร้อยละ 0.61 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ถือหุ้นร้อยละ 0.90 เข้าใจว่า ค่อยๆ สะสมไปเรื่อย ๆ
มีเพียงเท่านี้แหละครับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทยคือ กระทรวงการคลังและสำนักงานประกันสังคมในช่วงแรกๆ
มาภายหลังมีเพิ่มอีก 2 กองทุนที่มาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทยได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนวายุภักษ์
กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการนั้นเดิมไม่มีชื่อในบัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ครับ เพิ่งจะโผล่มาเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 ซื้อไว้ 23,369,500 หุ้น ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เหลือ 21,220,550 หุ้น ร้อยละ 0.76 ในระหว่างปีก็ซื้อๆ ขายๆ หากำไรไปเรื่อยๆ ละครับ
ส่วน กองทุนรวมวายุภักษ์ ชื่อปรากฏเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2547 ว่าถือหุ้นร้อยละ 15.58 สอดคล้องกับเวลาที่กระทรวงการคลังลดสัดส่วนที่ถือไว้ แสดงว่ากระทรวงการคลังใจดีครับ ขายหุ้นของพวกเราให้กองทุนรวมวายุภักษ์ไป
ฝ่าย ไทยที่เห็นๆ อยู่ก็มีเท่านี้แหละครับ รู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นใครกันบ้าง ความจริงก็พอจะรับได้ไม่ว่าจะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือสำนักงาน ประกันสังคม เพราะผู้ได้ประโยชน์จะเป็นหมู่ข้าราชการและลูกจ้างทั่วไปๆ 7-8 ล้านคนครับ
มาดูฝ่ายต่างประเทศกันดีกว่า จัดอันดับไว้ดังนี้ครับ
* Morgan Stanley & Co., Int’l ร้อยละ 2.36
* State Street Bank & Trust Company ร้อยละ 1.29
* Chase Nominees Limited 1 ร้อยละ 0.94
* HSBC ( Singapore) Nominees Pte.Ltd. ร้อยละ 0.77
* The Bank Of New York (Nominees Ltd) ร้อยละ 0.65
ทั้ง 5 นักลงทุนต่างชาติปรากฏชื่อในบัญชี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2545 แสดงว่าลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นครับ ท่านผู้อ่านสังเกตดูชื่อแต่ละรายชื่อซิครับ โดยเฉพาะ รายที่ 3-5 จะมีคำว่า Nominees ตามท้าย เป็นลักษณะถือแทนแบบที่ผมกล่าวไว้ในเบื้องต้น ไม่ทราบถือหุ้นแทนใคร และยังมีกองทุนแบบ Private Banking อีกที่ได้หุ้นราคาไอพีโอ รายละเป็นล้านหุ้น ไม่ต้องมานั่งรอเข้าคิวตั่งแต่เช้ามืดเพื่อขอส่วน แบ่ง 1000 -2000 หุ้น
ถึง วันนี้มูลค่าการลงทุนของทั้ง 5 รายจำนวนทั้งสิ้น 168,327,769 หุ้น มีมูลค่าเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณหุ้นละ 200 บาท คิดคร่าวๆ ถ้าขายวันนี้ได้กำไรสามหมื่นล้านบาทเศษ ไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว แบบนี้ไม่รักรัฐบาลคุณทักษิณ แล้วจะไปรักใคร!
ไม่ใช่ มีเพียงเท่านี้ เพราะถึงวันนี้ได้มีนักลงทุนจากต่างประเทศอีกหลายราย เป็นลักษณะตัวแทนเกือบทั้งหมด เข้ามาซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก
ผม สงสารนักลงทุนรายย่อยทั้งหลาย โดยเฉพาะประเภทที่ไปรอคิวขอส่วนแบ่ง 1,000 – 2,000 หุ้น ต้นทุน 35 บาท พอขึ้นไป 50-60 หรือ 100 บาทต่อหุ้นก็ขายเรียบ ดีใจเพราะคิดว่าได้กำไรมากพอแล้ว จะมีสักกี่คนกันที่มีปัญญา มีเงินเหลือเพียงพอที่จะเก็บหุ้นไว้ได้นานๆ
ลองมาดูชื่อกองทุนรายใหญ่ๆที่เข้ามาซื้อ กันครับ
1. Nortrust Nominees Ltd. ถือหุ้น 0.61% เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546 และเพิ่มเป็น 0.96% เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548
2. HSBC Bank Pcl – Clients General A/C ถือร้อยละ 0.72% เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2547 และเพิ่มเป็น 0.75% เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548
( 1% ประมาณ 30 , 000,000 หุ้น)
นอกจากนี้แล้วยังมีรายชื่อกองทุนต่างชาติอีกเป็นจำนวนมาก ที่อาจไม่นับเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ผม เพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า เวลานำหุ้นของรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ คนไทยทั่วๆ ไป ไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริงอีกแล้ว มีเพียงกลุ่มเศรษฐีไม่กี่ราย
ความ จริงแล้วทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติพิสดารตรงไหน ถ้า ปตท. เป็นเพียงบริษัทของเอกชนทั่วๆ ไป ที่เจ็บใจและช้ำใจอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะเหตุผลอย่างนี้ครับ
1. ปตท. ดำเนินธุรกิจหลักคือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน วัตถุดิบทั้งสองอย่าง ค้นพบบนผืนแผ่นดินไทย เป็นทรัพยากรของชาติ คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ พวกเรามอบให้รัฐบาล (ปตท.) นำทรัพยากรเหล่านี้ไปหาผลประโยชน์ และนำกำไรที่ได้ส่งเข้าคลัง รัฐบาลคุณทักษิณนำ ปตท. เข้าตลาด ขายหุ้นให้ต่างชาติ หวังเพียงให้มูลค่าตลาดสูงขึ้น ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าทำเพื่อใคร
2. รัฐบาลฉลาดน้อย จะขายหุ้นทั้งทีไม่รอจังหวะช่วงตลาดบูม ( การกำหนดราคาไอพีโอจะคำนึงถึงสภาพตลาดโดยร่วมในช่วงเวลานั้นๆด้วย ) ตั้งราคาไอพีโอต่ำ ทำให้ได้เงินเข้าคลังเพียงน้อยนิด แกล้งโง่หรือเปล่า ทำให้นักลงทุนจากต่างประเทศ (รวมทั้งฝรั่งหัวดำ) ได้กำไรจากงานมหกรรม ปตท. เป็น หมื่นๆล้านบาท
รัฐบาลไม่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดเดิมๆ อีกหรือถึงจะเร่งรัดนำหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้าตลาดช่วงตลาดซึมอีกครั้ง เมื่อไหร่ถึงจะรู้จักพอกันเสียที
3. ตั้งแต่นำหุ้นของ ปตท.เข้าตลาดจนถึงวันนี้ ปตท. เคยมีกำไรในปี 2544 2,953 ล้านบาท ปี 2548 ปตท. กำไรเพิ่มเป็น 68,372 ล้านบาท
อย่าบอกนะว่าถ้าไม่เข้าตลาดก็ไม่มีกำไรขนาดนี้
ราย ได้หลักของปตท.คือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ ก๊าซ ร้อย ละ 28 และผลิตภัณฑ์น้ำมัน ร้อยละ 66 แต่ถ้าดูผลกำไรของปตท.ว่าทำไมถึงกำไรมากมายขนาดนั้น ( ปี 2547 กำไร 72,000 ล้านบาท ) จะพบว่า ปตท. ได้กำไรจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติสูงถึงร้อยละ 92.0
ก๊าซ ธรรมชาติได้มาจากไหนครับ ปตท. ซื้อจากผู้ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ มีแหล่งขุดเจาะเต็มไปหมดในอ่าวไทย ซื้อแล้วก็ขายต่อให้ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้ง กฟผ. และภาคเอกชน บางส่วนก็นำไปแยกเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบเหล่านี้เป็นสมบัติของคนไทยทุกคน
จะ นำหุ้นเข้าตลาดหรือไม่ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบก็มีเท่าเดิม สายส่ง ( ท่อ ) ที่วางอยู่บนดินและในทะเล และประชาชนคนไทยยินยอมให้ใช้ที่ดินในการวางท่อได้ ก็มีเหมือนเดิม
ผู้ บริหาร ปตท. ตั้งแต่ระดับบนจนถึงล่างสุดก็เดิมๆ คนไทยทั้งสิ้น ไม่มีฝรั่งหัวขาวที่ไหนโผล่มาให้เห็น ฝีมือคนไทยทั้งนั้นล่ะครับ กำไรที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับนใยบายของคุณทักษิณในการนำปตท.เข้า ตลาดแต่อย่างไร
ถ้าประเทศไทยฐานะทางการคลังย่ำแย่ บรรยากาศอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง และปตท.ต้องใช้เงินลงทุนมาก ต้องการประหยัด หาแหล่งเงินที่ไม่มีดอกเบี้ย ก็อาจพอรับฟังได้บ้าง แต่นี่ก็ไม่ใช่
ท่านผู้อ่านครับ ทรัพย์สินถาวรของปตท.คือ ส่วนสำรองที่พิสูจน์แล้วของก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ เฉพาะในประเทศ คิดเป็นประมาณเทียบเท่าน้ำมันดิบถึง 645 ล้านบาร์เรล มูลค่าวันนี้ บาร์เรลละ 60 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยเบ็ดเสร็จประมาณ 1.48 ล้านล้านบาท เราเคยเป็นเจ้าของทั้งหมด ฝีมือคุณทักษิณ วันนี้ เราเป็นเจ้าของไม่ถึงครึ่ง
ใน ฐานะประชาชนคนไทยผมอยากได้ปตท.คืน ครับ และเป็นห่วง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมากที่สุด พวกเราต้องช่วยกันนะครับและอย่าได้ตั่งอยู่ในความประมาท
ประมาทคนชื่อทักษิณ ชินวัตรไม่ได้เป็นอันขาด


korbsak sabhavasu

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555

ปตท.ขึ้นราคาก๊าซในประเทศ










Vihokratree Khonsurin
 
รสนา โตสิตระกูล ประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา

ระบุว่า ขณะนี้ราคาก๊าซดิบในตลาดโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง เวลานี้อยู่ที่ 3.37 บาทต่อกิโลกรัม
โดยราคาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเมื่อเทียบกับราคาตลาดโลก

จะเห็นว่า ปตท.ซื้อก๊าซในประเทศถูกกว่าตลาดโลกถึง 40 - 67%
การที่ปตท.กล่าวอ้างว่ามีต้นทุนเนื้อก๊าซฯ อยู่ที่ 9.90 - 10 บาทต่อกิโลกกรัม
ไม่น่าจะถูกต้อง และปตท.มักอ้างว่าราคาขายไม่อิงตลาดโลกทำให้ขาดทุน
แต่ไม่เคยเอ่ยถึงต้นทุนเนื้อก๊าซที่ถูกกว่าตลาดโลกอย่างมากแต่อย่างใด
 
 ปตท.มีรัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำไมถึงไม่สามารถทำราคาให้เหมาะสมได้
ทั้งที่เรามีต้นทุนเนื้อก๊าซถูกเหมือนผลไม้ในสวนเราเอง
แต่ปตท.กลับทำเหมือนขาดทุนตลอดเวลา
ควรมีการตรวจสอบว่ามีการผ่องถ่ายกำไรไปยังบริษัทลูกหรือไม่
การบอกว่าขาดทุนเป็นเรื่องเพื่อให้ได้รับเงินชดเชยจากรัฐมากกว่า

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค