บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อมูลประกอบการเสวนาเปิดหูเปิดตาพลังงาน : ขายหุ้น ปตท. คนไทยได้ หรือเสีย




บทเรียนจากการแปรรูป ปตท.


ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่แปรรูปโดยใช้ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารที่จะล้มเลิก พ.ร.บ.จัดตั้งรัฐวิสาหกิจได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา ปตท.นำหุ้นเข้ากระจายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนตุลาคม 2544 ซึ่งหุ้นของ ปตท.ถูกจองหมดภายในเวลาเพียง 1 นาทีเศษๆ จากราคา IPO ที่ 35 บาท/หุ้น ปัจจุบันราคาหุ้น ปตท.พุ่งสูงขึ้นถึง 339 บาท/หุ้น (ข้อมูลล่าสุด 1 ก.พ. 2555)

วัตถุประสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังการแปรรูป ปตท.


จากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่เป้าหมายในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล ความโปร่งใส และการเพิ่มการแข่งขันการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการแปรรูปกลับไม่เกิดขึ้นตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันให้บริการประชาชน

ก่อนการแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 ได้มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการเมื่อมีการนำหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คือ

  1. จะมีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่น ภายใน 1 ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขัน ลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ
  2. จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
  3. จะประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซของ ปตท. (IRROE) = 16%

แต่ปรากฏว่า 3 ปีให้หลังการแปรรูป กลับไม่มีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากบริษัท ปตท. และเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจการจัดหาก๊าซ ไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ บริษัท ปตท.ยังคงเป็นผู้ผูกขาดในธุรกิจท่อส่งก๊าซเช่นเดิม สิ่งที่รัฐบาลกระทำตามสัญญามีเพียงประการเดียวคือ การประกันผลตอบแทนการลงทุนของ ปตท. ในอัตรา 16%




นอกจากผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. ที่ได้รับประโยชน์เป็นกอบเป็นกำจากการแปรรูป ปตท. แล้ว พนักงานบริษัท ปตท. เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากตารางต่อไปนี้






โครงสร้างธุรกิจของบริษัท ปตท.


ธุรกิจของบริษัท ปตท. แบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจหลัก คือ

  1. ธุรกิจน้ำมัน
  2. ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ
  3. ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น

โดยรายได้ส่วนใหญ่ของ ปตท. มาจากธุรกิจน้ำมัน แต่ส่วนที่เป็นกำไรหลักจริงๆ นั้น มาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ

ปี 2553


ปตท.มีรายได้จากการขาย 1,900,005 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20


มี EBITDA จำนวน 167,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17


และกำไรสุทธิ 83,088 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40

บริษัท ปตท.เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวของประเทศในการดำเนินการธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นั่นหมายความว่า ปตท.เป็นผู้ผูกขาดในการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตเพื่อจำหน่ายต่อให้แก่ผู้ใช้ก๊าซกลุ่มต่างๆ คือ กฟผ. โรงไฟฟ้า IPP และ SPP และภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจต้นน้ำ คือการขุดเจาะก๊าซ บริษัท ปตท. ก็มีบริษัทลูกคือ ปตท.สผ. เป็นผู้ประกอบการสำรวจและขุดเจาะก๊าซปิโตรเลียม โดยปัจจุบัน ปตท.สผ. เป็นผู้มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในประเทศไทย




ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น


น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลก แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุนน้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน




ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูปรัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี 2544 ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้น ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก

กำไรมหาศาลของ ปตท. ตกอยู่ที่ใคร ?


ปัจจุบันหุ้นของ ปตท.และบริษัทในเครือมีมูลค่ารวมมาก เฉพาะส่วนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ 51.15% และมีเอกชนรายใหญ่จำนวน 12 รายถือหุ้นรวม 28.73% ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีจำนวนกว่า 32,548 ราย (ข้อมูลล่าสุด 1 ก.พ. 2555)






รายชื่อผู้ถือหุ้นปตท. หลังแปรรูป ปี 2544


1. นางสุวิมล มหากิจศิริ



2. นายสุธี มีนชัยนันท์





แหล่งที่มา

http://www.thaingo.org/cgibin/content/content1/show.pl?0246


http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=9530000121034



http://www.manager.co.th/politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000121199


http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=PTT&language=th&country=TH


คลิปเสวนา









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง