บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

มาทำความรู้จักกองทุนน้ำมันกันหน่อย



papa05:
                     

  ความเป็นมาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

   นโยบาย การแทรกแซงกลไกราคาน้ำมันในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 เนื่องจากในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลกราคาน้ำมันดิบในตลาด โลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น และเกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น รัฐบาลจึงได้ดำเนินการการออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลน น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
   จนกระทั่งในปี 2520  กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of the Petroleum Exporting Countries : OPEC) ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลโดยใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อ เพลิง พ.ศ. 2516   เรื่องการกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อ เพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา
   ในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ทำให้ผู้นำเข้าน้ำมันได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลเห็นว่ากำไรที่เกิดขึ้นไม่ใช่กำไรจากการดำเนินงาน จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงิน บาทเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น
 ในปี พ.ศ. 2522 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้นเพราะ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง  ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายใน ประเทศ ไม่ให้ผันผวนไปตามการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก และรัฐบาลต้องการรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นกองทุน เดียว จึงได้จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 โดยรวมกองทุนรักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิง กับ กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน
ปี 2546 เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นมาอีกครั้งโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
1.การทำสงครามของสหรัฐอเมริกาในประเทศอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
2.ปัญหา ทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกจาก ปัญหาดังกล่าวทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้
3.น้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาลดระดับลง
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น ไม่ต้องการให้ความผันผวนของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ จึงกำหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมัน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งมาตรการครั้งนี้มีประสิทธิภาพเพราะความ ผันผวนมีระยะสั้นราคาน้ำมันก็กลับสู่ภาวะปกติ
ในปี 2547 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง รัฐบาลจึงออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24


          ธันวาคม 2547) เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกัน ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อดำเนินมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันโดยการตรึงราคาน้ำมัน


การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนเชื้อเพลิงมีดังนี้
คณะ กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทําหน้าที่ เสนอนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของ ประเทศต่อคณะรัฐมนตรี กําหนดหลั กเกณฑ์และเงื่อนไขในการกําหนด ราคาพลังงานให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนา พลังงานของประเทศ รวมทั้งติดตาม ดูแล ประสาน สนับสนุ นและเร่งรั ด การดําเนินการของคณะกรรมการทั้ งหลายที่ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ พลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดําเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและ พัฒนาพลังงานของประเทศ
คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน  ทําหน้าที่กําหนดหลักเกณฑ์ ในการคํานวณราคา กําหนดราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง และกําหนดนโยบายอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ อัตราเงินชดเชยของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหาร นโยบายพลังงาน จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของนโยบายของกองทุน เท่านั้น
คณะ อนุกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อพลิง  ทําหน้าที่พิจารณาเรื่องการใช้จ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน


   สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทําหน้าที่ พิจารณาปรับอัตราเงินส่ง เขัากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซ และค่า ขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาคตามที่ได้รับมอบหมาย
กรมสรรพสามิต  รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมั นเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิต ภายในประเทศ
กรม ศุลกากรรับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชด เชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงที่นําเข้า
กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติ รับผิดชอบในการเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและจ่ายเงินชดเชย จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่ วนของก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม (ถ้ามี)
สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(องค์การมหาชน) รับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้มีสภาพคล่องเพียงพอกับรายรั บและรายจ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งจัดหา เงินทุนให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ในการดําเนินงานต่างๆ (ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์ การมหาชน) พ.ศ. 2546)

    รายรับของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายรับที่เป็นรายได้ หลักของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจากภาษีสรรพสามิตที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บ จากผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ และมาจากภาษีศุลกากรที่กรมศุลกากรเรียกเก็บจากผู้นำเข้าน้ำมันโดยทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าวจะนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนเชื้อเพลิง ขณะที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีหน้าที่เก็บเงินส่งเข้า

        กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ที่ได้รับสัมปทานก๊าซแต่เนื่องจากราคาที่ แท้จริงของก๊าซหุงต้มสูงกว่าที่รัฐกำหนดมาเป็นเวลานานทำให้ไม่มีการเก็บเงิน ส่วนนี้จากผู้รับสัมปทาน
โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงานจะนำรายได้ของกอง ทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชําระดอกเบี้ยและไถ่ถอนพันธบัตร ซึ่งรายได้ของกองทุนจะขึ้นอยู่กับ อัตราเงินส่ง เข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่กําหนดโดยคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานและ ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับอัตราเงินส่ง เข้ากองทุน โดยกำหนดอัตราสูงสุดที่สามารถเรียกเก็บได้ไว้ที่ 1.50 บาทต่อลิตรซึ่งการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนจะขึ้นอยู่กับนโยบายของ ภาครัฐ และสถานการณ์ราคาน้ำมันในแต่ละช่วงเวลาเป็นหลัก
   

   การลำดับเหตุการณ์การแทรกแซงราคาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

เดือน   เหตุการณ์
 10 ม.ค.2547   รัฐบาลกําหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดเพดานราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ระดับ 16.99 บาทต่อลิตร เบนซินออกเทน 91 อยู่ที่ระดับ 16.19 บาทต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็ว อยู่ที่ระดับ 14.59 บาทต่อลิตรโดยวิธีการที่รัฐนำมาใช้เพื่อตรึงราคาน้ำมัน จะใช้หลักการเดียวกับเมื่อครั้งเกิดสงคราม คือ การนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยราคาให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อรักษาเพดานราคาตามที่รัฐกำหนด จนกระทั่งเมื่อราคาน้ำมันกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และต่ำกว่าเพดาน รัฐจึงจะเรียกเก็บเงินคืนเข้ากองทุนน้ำมัน
16  เมษ 47   ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มียอดคงเหลือประมาณ 1,000 ล้านบาท และมีการขอเปิดวงเงินกู้อีกประมาณ 8,000 ล้านบาท (OD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการตรึงราคาน้ำมันต่อไป
พ.ค.47   น้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับขึ้น 60สตางค์
ก.ค.47   น้ำมันเบนซินทุกชนิดปรับขึ้น 60สตางค์ 
ส.ค.47   มีการปรับราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินทุกชนิดขึ้น 4 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร( วันที่ 6 11 17 24)
20 ต.ค.47    มีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 60 สตางค์
21 ต.ค.47   รัฐบาลจึงได้ยกเลิก นโยบายตรึงราคาน้ำมันเบนซินในขณะที่ยังคงการตรึงราคาน้ำมันดีเซลและราคาก๊าซหุงต้มไว้ต่อไป
พ.ย.47   มีการปรับลดราคาน้ำมันเบนซิน 3 ครั้ง ๆ 40 สตางค์/ลิตร  ( วันที่ 4 12 14)

ธ.ค. 47   น้ำมันเบนซินปรับลดลง 5 ครั้ง รวม 1.90 บาท/ลิตร (วันที่ 4 8 10 14 และ 17 ธ.ค.)
21 ก.พ.48    เพื่อเป็นการลดภาระการชดเชยราคาน้ำมันให้กับประเทศได้มีการปรับราคาขึ้นอีก 60 สตางค์ต่อลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 15.19 บาทต่อลิตร
4 มี.ค.48   กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีภาระเงินชดเชยตามมาตรการตรึงราคาที่ได้ จ่ายไปนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2547 เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้น 68,616 ล้านบาท แบ่งเป็น ดีเซล ประมาณ 61,641 ล้านบาท เบนซินออกเทน 95 ประมาณ 2,673 ล้านบาท และเบนซินออกเทน 91 ประมาณ 4,302 ล้านบาท  แม้ว่าจะช่วยลดภาระการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลลงอีก 60 สตางค์/ลิตร แต่รัฐยังคงต้องชดเชยดีเซลอีกกว่า 3 บาทต่อลิตร หรือประมาณวันละ 180 ล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการปรับราคาน้ำมัน รัฐจะมีหนี้ในการตรึงราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีหนี้รวมกันแล้วกว่า 70,000 ล้านบาท
มี.ค.48   น้ำมันเบนซินปรับขึ้น 3 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร  ( วันที่ 1 5 และ 11)
8 พ.ค. 48    แม้จะมีการลอยตัวน้ำมันเบนซินแล้ว ( เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2547 )  กองทุนน้ำมันยังคงมีหนี้ในการตรึงค่าน้ำมันรวมทั้งสิ้นประมาณ 47,285 ล้านบาท แยกเป็นเบนซิน จำนวน 6,975 ล้านบาท และดีเซล จำนวน 40,310 ล้านบาท
พ.ค.48   มีการปรับราคาเบนซินลง 2 ครั้งๆละ 40 สตางค์/ลิตร  ( วันที่ 5 17 พ.ค.)
 





1 มิ.ย.48   สํานักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ประกาศให้ยกเลิ กการตรึงราคาน้ำมันดีเซล โดยผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถกําหนดราคาขายน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามกลไก ตลาดและการแข่งขัน
แต่จัดว่าเป็นการลอยตัวราคาน้ำมันดีเซล ในรูปแบบ "การบริหารจัดการของรัฐ (Manage Float)" โดย รูปแบบบริหารจัดการ คือ การทำให้ราคาน้ำมันดีเซลไม่สูงขึ้นตามราคาตลาดโลกทันที เพราะปัจจุบัน กองทุนน้ำมัน ต้องจ่ายชดเชยราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.86 บาทต่อลิตร แต่เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงอยู่ที่ระดับเท่าเดิม รัฐได้ปรับลดภาษีน้ำมันดีเซลจำนวน 1.10 บาทต่อลิตร แบ่งเป็นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จำนวน 1 บาทต่อลิตร และภาษีเทศบาลจำนวน 10 สตางค์ต่อลิตร ทำให้เหลือการชดเชยจำนวน 1.76 บาทต่อลิตรส่วนดีเซลหมุนช้าอยู่ที่ 1.96 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นอัตราเงินชดเชยสูงสุดที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะรับภาระจ่ายชดเชย ราคาน้ำมัน ดีเซลให้แก่ผู้ผลิตน้ำมันดีเซลและนําเข้าน้ำมันดีเซล  ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 14,000 ล้านบาท






20  มิ.ย. 48   ที่ประชุมร่วมระหว่างกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และสํานักงบประมาณได้กําหนดให้สถาบันฯ ดำเนินการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อจ่ายชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อสถาบันฯ ออกพันธบัตรครบ 85,000 ล้านบาทแล้ว แต่ภาระการชดเชยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่สิ้นสุด และให้สถาบันฯ ขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในวงเงิ นไม่ เกิน 12,000 ล้านบาท ในรูปเงินยืมไม่มีดอกเบี้ย ทยอยเบิกจ่ายเงินตามความจําเป็นในช่วงที่ สถาบันฯ มี ภาระในการชําระคืนหนี้ พันธบัตร และให้สถาบันฯ ชําระคื นเงินยืมนี้ให้แก่รัฐบาลเมื่อสถาบันฯ ไถ่ถอนพั นธบัตรครบถ้วนแล้ว โดยให้สถาบันฯ ตั้งเรื่องขอใน งบประมาณรายจ่ายประจําปี 2550 แต่หากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขาดสภาพคล่องในช่วงก่อนปีงบประมาณ 2550 ให้สถาบันฯ นําเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับเงินอุดหนุนในรูปเงินยืมจากงบกลาง


25 มิ.ย.48
   คณะ กรรมการบริหาร นโยบายพลังงานได้ลดอั ตราเงินชดเชยสูงสุดสําหรับน้ำมันดี เซลหมุนเร็วไว้ที่ 1.36 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลหมุนช้าไว้ที่ 1.56 บาทต่อลิตร
มิ.ย.48   น้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น 7 ครั้ง รวม 2.8 บาท/ลิตร และปรับขึ้นราคาดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 8 ครั้ง รวม 3.20 บาท/ลิตร



13 ก.ค.48   รัฐบาลได้ประกาศให้มีการลอยตัวน้ำมันดีเซลกลับไปเหมือนเดิมอย่าง สมบูรณ์แบบ โดยได้ยกเลิกการชดเชยน้ำมันดีเซลจาก 1.36 สตางค์ต่อลิตร (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ให้เป็น 0  ทําให้ภาระการจ่ายเงินชดเชยของ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสําหรับน้ำมันดีเซลหมดไปในที่สุด และได้สรุปภาระหนี้สินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดจากการตรึงน้ำมัน เบนซินและดีเซลไว้ที่ระดับ 92,070 ล้านบาท รัฐบาลจึงจัดหาเงินกู้จากสถาบันการเงินเข้ามาช่วยเหลือถึง 71,000 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินรายได้จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เรียกเก็บจากผู้ ใช้น้ำมัน

ก.ค.48    น้ำมันเบนซินปรับราคาขึ้น 2 ครั้ง รวม 0.8 บาท/ลิตร และปรับขึ้นราคาดีเซลหมุนเร็ว ขึ้น 4 ครั้ง และ ลง 2 ครั้ง รวม 1.20 บาท/ลิตร ปตท. ปรับขึ้นดีเซลหมุนเร็วขึ้น 4 ครั้ง ลง 1 ครั้ง รวมเป็น 1.6 บาท/ลิตร และสิ้นสุดการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อวันที่ 13 ก.ค.48


20 ก.ย.48   มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพ. สามารถจัดหาเงินกู้โดยการออกตราสารหนี้เสนอขายให้แก่นักลงทุนประเภทสถาบัน และหรือประชาชนทั่วไป และให้ สบพ. สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ เพื่อนำไปชำระหนี้เดิม จ่ายดอกเบี้ย และเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวนรวมทั้งหมดไม่เกิน 85,000 ล้านบาท และให้ชำระหนี้ทั้งหมดให้ครบถ้วนภายในปี 2554 ทั้งนี้สบพ. ประมาณการแล้วพบว่า กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความต้องการเงินประมาณ 74,000 ล้านบาท

   ที่มา  http://www.efai.or.th/index-theoil.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง