บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปะทะเดือด! งานวิจัยชุมชน & EIA ท่าเรือเชฟรอน

Posted by ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ ,

‘คนกรมประมง’ปะทะ‘ชาวท่าศาลา–สิชล’ ไม่เชื่อคุณภาพวิจัยค้านEIAท่าเรือเชฟรอน
ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ (DSJ)
คณะทำงานกองบรรณาธิการสื่อภาคใต้
ชาว สิชล–ท่าศาลาชาวสิชล–ท่าศาลา จับมือนักวิชาการวลัยลักษณ์ทำวิจัยโต้EIAท่าเรือเชฟรอนระบุทะลเมืองคอนยัง อุดมสมบูรณ์สร้างมูลค่าให้ชาวประมงมหาศาลต่อปี นักวิจัยกรมประมงติงข้อมูลชาวบ้านยังไม่ได้มาตรฐาน ม.วลัยลักษณ์–ประมงจังหวัดนครฯ ยันข้อมูลชาวบ้านถูกต้อง
เมื่อเวลา 13.00–16.00 น. วันที่ 21 ตุลาคม 2554 ที่ห้อง 301 อาคารเรียนรวม 7มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายประมงพื้นบ้านอำเภอสิชล–ท่าศาลา
จังหวัดนครศรีธรรมราช และชุมชนชายฝั่งทะเลท่าศาลาได้จัดเวที “ก่อนกลายเป็นอื่นโหมฺเราขอกำหนดอนาคตตนเองจากท้องทะเลสู่ผืนแผ่นดิน:จากคนหาปลาสู่คนกินปลาทั้งโลก”สนับ สนุนโดยโครงการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินโครงการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและ สิ่งแวดล้อมสถาบันวิจัยและศูนย์วิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และกรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีนักวิชาการ นักศึกษา และชาวบ้านในชุมชนชายฝั่งทะเลท่าศาลาเข้าร่วมประมาณ 150 คน
นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล นำเสนองานวิจัยชุมชนชายฝั่งทะเลสิชล–ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชว่าจาก การศึกษา11ชุมชนชายฝั่งทะเลสิชล–ท่าศาลา พบผลผลิตจากทรัพยากรสัตว์น้ำก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 5 พันคน แต่ละคนรายได้ต่อวันอย่างน้อยวันละ 300 บาท มีเงินหมุนเวียนสำหรับค่าแรง 1.5 แสนบาทต่อวัน หรือปีละ 300 ล้านบาท
“เรือ ประมงพื้นบ้าน 1,300 ลำ รายได้เฉลี่ยขั้นต่ำปีละ 391.5 ล้านบาท ขณะเดียวกันสินค้าทะเลที่ส่งไปยังตลาดท้องถิ่น แพปลา และโรงงาน ก็ทำให้เเกิดการจ้างงานมากขึ้นเช่นกุ้งขาวจากชายฝั่งสิชลนำไปส่งโรงงานไทเฮง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปแปรรูปจะก่อให้เกิดการจ้างงานอีก 400 คน เป็นต้น” นายประสิทธิ์ชัย กล่าว
จานั้นมีการวิจารณ์งานวิจัยชิ้นดังกล่าว โดยนายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนา
กลไกการวิจัยผลกระทบด้านสุขภาพ นายดำรงค์ เครือไพบูลย์กุล รักษาการผู้อำนวยการสำนัก
วิเคราะห์สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ฝ่ายเลขานุการ
ในคณะผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมโครงการ
ท่าเทียบเรือเชฟรอน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช นายเพิ่มศักดิ์ เพิงมาก ผู้อำนวยการ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง กรมประมง นายฉัตรชัย เวชสาร เจ้าพนักงาน
ตรวจเรือชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 สาขานครศรีธรรมราช และนายเจริญ โต๊ะอีแต
กรรมการเครือข่ายประมงพื้นบ้านท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีนายนายธนิต สมพงษ์
นักวิชาการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการเสวนา
นายแพทย์วิพุธ กล่าวว่า จากการนำเสนองานวิจัยชุมชนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชาวบ้าน
ในการรวบรวมข้อมูล ค้านกับรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าเรือเชฟรอน สำหรับ
การคัดค้านท่าเรือเชฟรอน ชาวบ้านต้องรู้กระบวนการทำงานของแผนระดับชาติ เช่น แผนการ
ลงทุนของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ผังเมือง แผนก่อสร้างโรงไฟฟ้า
ที่ระบุถึงแผนการพัฒนาปิโตรเคมีอย่างชัดเจน
“ทำอย่างไรในการยกระดับประเด็นทางทรัพยากรสัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ จากที่เป็นแค่ของคน
ท่าศาลา–สิชล ขึ้นเป็นทรัพยากรของคนจังหวัดนครศรีธรรมราชและของคนไทย หรือของคนทั้งโลก
ทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดเวทีวิพากษ์ ทำให้คนจังหวัดนครศรีธรรมราชตระหนักถึงความสำคัญ
ของ ทรัพยากรร่วมกัน โดยให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นำไปต่อยอดทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมแปรรูปต่อ เนื่องจากภาคการเกษตร” นายแพทย์วิพุธ กล่าว
นายดำรงค์ เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะผู้ชำนาญการสำนักงานแผนและนโยบายทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมมีมติไม่เห็นชอบรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าเรือเชฟรอนเป็นครั้งที่2
โดยให้กลับไปทบทวนประเด็นระบบนิเวศน์วิทยา เพราะฉะนั้นข้อมูลชุมชนที่ศึกษามาจะเป็นข้อมูล
เบื้องต้นที่จะนำกลับไปเสนอต่อคณะผู้ชำนาญการ พิจารณาทบทวนรายงานการศึกษาผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมท่าเรือเชฟรอน ให้คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียจากภาคส่วนอื่นๆ ด้วย” นายดำรงค์ กล่าว
นายเพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า ข้อมูลการศึกษาของชุมชนมีคุณภาพระดับหนึ่ง แต่ข้อมูลบางตัวอาจไม่ตรง
กับความเป็นจริงมากนัก จะต้องได้ข้อมูลที่เป็นทางการมากกว่านี้ เพราะจะสามารถพัฒนาให้เป็น
เชิงวิทยาศาสตร์ได้มากขึ้น คณะผู้ชำนาญการจึงจะนำไปประกอบการพิจารณารายงานการศึกษา
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าเรือเชฟรอนได้
ว่าที่ร้อยตรีกำพล จิตตะนัง จากศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตอบโต้ว่ากระบวนการ
ศึกษา วิจัยของชุมชน มีศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมอยู่ด้วยยืนยันว่าข้อมูลความ อุดมสมบูรณ์ของทะเลสิชล–ท่าศาลา เป็นข้อมูลเชื่อถือได้ ถ้าบอกว่าเชื่อถือไม่ได้ก็แสดงว่าไม่เชื่อในคุณภาพของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ถ้าคิดว่าข้อมูลงานวิจัยชุมชนชิ้นนี้ไม่เป็นความจริง ให้นายทรงชัย เส้งโสต ประมงอำเภอท่าศาลายืนยันได้
นายทรงชัย ยืนยันว่า ที่ มีนักวิชาการหลายมหาวิทยาลัยวิเคราะห์ว่าทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราชเสื่อม โทรมนั้น ตนไม่เชื่อ เพราะจากประสบการณ์การทำงานที่อำเภอท่าศาลาเกือบ 20 ปีตนคลุกคลีกับชาวประมง และเก็บข้อมูลหยาบๆ จากเรือประมงพื้นบ้าน 750 ลำที่ทำมาหากินกันอยู่ ทรัพยากรสัตว์น้ำไม่เคยหมด
“ถ้าทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราชตายแล้ว ชาวประมงคงจะตายไปนานแล้วผมขอยืนยันถึงความอุดมสมบูรณ์ของทะเลแถบนี้” นายทรงชัย กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง