บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฟื้นMOUอ่าวไทย รัฐบาลดิ้นแบ่งเค้กพลังงาน


ไทยโพสต์


  "ทักษิณ” เดินทางเข้ากัมพูชา 16 ก.ย. "ฮุน เซน” ปัดหารือพลังงานในอ่าวไทย อ้างแค่เชิญเป็นวิทยากร "ปู” บังเอิญหรือตั้งใจ! บินเยือนก่อนพี่ชายเพียงหนึ่งวัน ขณะที่รัฐบาลไทยแบไต๋อ้าซ่าเตรียมฟื้นเอ็มโอยู 44 เจรจาแบ่งเค้กทรัพยากรธรรมชาติกับเขมร "ปชป.” จี้บัวแก้วล่าผู้ร้ายข้ามแดน
 การ เดินทางเข้าประเทศกัมพูชาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 16 กันยายนนี้ ถูกจับตามองจากหลายฝ่ายว่าอาจจะมีวาระการเจรจากับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวกับน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย
 ล่า สุด เมื่อวันจันทร์ สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ได้กล่าวระหว่างพิธีมอบปริญญาบัตรแก่นักศึกษาจำนวน 4,100 คน ของมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งชาติว่า อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางมายังกัมพูชาในวันที่ 16 กันยายน เพื่อบรรยายในการประชุมเรื่องอนาคตเศรษฐกิจของเอเชีย ไม่ใช่มาเจรจาเรื่องน้ำมันและก๊าซกับกัมพูชา
 "แผนการเยือนกัมพูชาของ ทักษิณได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่ก่อนที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะกำหนดแผนการเยือนในวันที่ 15 กันยายนแล้ว ทักษิณจะมาที่กัมพูชาระหว่างวันที่ 16-24 กันยายน เพื่อบรรยายในการประชุมซึ่งจัดโดยราชบัณฑิตยสถานของกัมพูชา ไม่ใช่มาเจรจาเรื่องก๊าซและน้ำมันกับกัมพูชา" ผู้นำพนมเปญกล่าว "ทักษิณไม่มีหน้าที่ที่จะเจรจาเรื่องข้อตกลงน้ำมันและก๊าซ หรือประเด็นอื่นๆ เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไทย ไม่ใช่ของทักษิณ"
 สำนักข่าวซินหัวรายงาน ว่า ไทยกับกัมพูชาได้ทำบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ในเรื่องพื้นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลในเขตไหล่ทวีปเมื่อเดือน มิถุนายน 2544 โดยกำหนดพื้นที่ที่จะต้องเจรจาปักปันและพัฒนาร่วมกัน แต่การเจรจาไม่มีความคืบหน้าในสมัยของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
โดย ฮุน เซน กล่าวอีกว่า จนถึงขณะนี้กัมพูชากับไทยยังไม่มีการบรรลุข้อตกลงเรื่องน้ำมันและก๊าซ และว่าระหว่างการเยือน ทักษิณจะบรรยายเรื่องเศรษฐกิจของเอเชียในวันที่ 17 กันยายน ณ พระราชวังสันติภาพ ต่อจากนั้นตนจะต้อนรับเขาอย่างเป็นทางการที่พระราชวังสันติภาพ และหารือกันในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ และในวันที่ 18 ตนจะออกรอบตีกอล์ฟกับทักษิณ ท้ายที่สุดในวันเสาร์ที่ 24 สมาชิกสภาฯ ของไทยกับกัมพูชา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูง จะลงเตะฟุตบอลกันที่สนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงพนมเปญ
 นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ว่า การเดินทางไปประเทศกัมพูชาของพ.ต.ท.ทักษิณ ประมาณวันที่ 19 ก.ย. เพื่อพูดในเรื่องเศรษฐกิจเอเชียกับเศรษฐกิจโลก ยืนยันว่าจะไม่มีการพบปะกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์แน่นอน ที่จะมีกำหนดเดินทางไปกัมพูชาประมาณวันที่ 14 ก.ย. เพราะช่วงเวลาเดินทางไป ที่ต่างกัน และไม่มีเหตุผลที่จะต้องเจอกัน
 "อนาคตทั้งสองคนจะเจอกันหรือ ไม่ ตนไม่สามารถทราบได้ บอกได้เพียงว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีกำหนดการพบกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เพราะท่านทราบสถานการณ์ดี จึงไม่อยากทำให้รัฐบาลลำบากใจ" นายนพดลกล่าว
         เมื่อถามว่า เหตุที่ไม่เจอกันเพราะสถานะที่ พ.ต.ท.ทักษิณมีคดีติดตัว ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์อยู่ในฐานะรัฐบาล นายนพดลย้ำว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่มีกำหนดจะพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ในช่วงนี้ ส่วนเรื่องคดีความนั้นก็เป็นสิ่งที่ได้อธิบายแล้วว่าเป็นคดีการเมือง ที่รัฐบาลที่แล้วใช้เป็นเหตุผลในการไล่ล่า พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีม ส.ส.เพื่อไทยกับรัฐบาลกัมพูชาในวันที่ 24 ก.ย.นั้น พ.ต.ท.ทักษิณคงไม่อยู่รอแข่งฟุตบอลในวันที่ 24 ก.ย.
 รายงานข่าวจากพรรค เพื่อไทยแจ้งว่า คณะทำงานด้านยุทธศาสตร์ของพรรค ที่มีแกนนำของพรรคเป็นบ้านเลขที่ 111 และ 109 ร่วมเป็นคณะทำงาน ได้หารือถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเดินทางไปเยือนกัมพูชาเป็นทางการในช่วงกลางเดือนกันยายน ซึ่งตรงกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางมากัมพูชาพอดี ทำให้ที่ประชุมมีความเห็นหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้พบ พ.ต.ท.ทักษิณที่กัมพูชาจะไม่เหมาะสม และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะสถานะของนายกฯ หากเจอหน้าพี่ชายที่ติดคดีอาญาจำคุก แต่ไม่ประสานงานให้จับกุมมาดำเนินคดีในประเทศไทย อาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
 "ดังนั้นจึงต้องประสานงานไม่ ให้จังหวะเวลาที่ไปกัมพูชาตรงกัน เช่น น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไปวันที่ 16 ก.ย. ต้องให้เดินทางออกจากกัมพูชาก่อน พ.ต.ท.ทักษิณจึงจะเดินทางเข้ากัมพูชาได้”
 นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่าง ส.ส.พรรคเพื่อไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ที่ดูแล้วไม่เหมาะสมจนอาจตกเป็นเป้าถูกโจมตีได้ เรื่องนี้จะหารือกันอีกรอบว่าจะต้องยกเลิกการแข่งขันดังกล่าวหรือไม่
 น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ บน.6 หลังเดินทางกลับจากการเยือนประเทศอินโดนีเซีย ถึงกรณีที่ฝ่ายค้านทวงถามการจับกุม พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะเดินทางเข้าประเทศกัมพูชาว่า วันนี้ตนยังไม่ทราบ เพราะทำหน้าที่ในส่วนของรัฐบาล ในการทำงานยังไม่ทราบกำหนดการเดินทางของท่าน
 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกำหนดการเดินทางเยือนประเทศกัมพูชา คือวันที่ 15 กันยายนนี้
 วัน เดียวกัน ที่รัฐสภามีการประชุมวุฒิสภา โดยมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม โดยที่ประชุมได้พิจารณากระทู้ถามด่วนของนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา เรื่องกรอบการเจรจากับกัมพูชา ในการร่วมลงทุนผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าว ไทย  
 โดยนายคำนูณกล่าวว่า ขอสอบถามความชัดเจนจากรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานี้ และจะใช้หลักเกณฑ์ใดในการเจรจา ในเมื่อรัฐบาลชุดที่แล้วมีมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่าง รัฐบาลไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน พ.ศ.2544 ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 พ.ย.52
 "ยอมรับว่าปัญหาความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-กัมพูชานั้นมีมานาน และควรหาแนวทางเพื่อให้เกิดการแก้ไขที่เป็นระบบ ดังนั้นขอเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อนำองค์ความรู้จากประชาชนที่เห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขของรัฐบาลหรือเห็น ต่าง มาทำเป็นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ได้แก่ เขตแดนทางบก, เขตแดนทางทะเล, การแสวงหาผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย" นายคำนูณกล่าว
         นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทยและรองนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจากนายกฯให้ตอบกระทู้แทน โดยชี้แจงว่ารัฐบาลยึดถือตามแนวทางของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 ที่กำหนดให้รัฐที่มีฝั่งทะเลตรงข้ามหรือประชิดกัน กำหนดเขตทางทะเลด้วยการตกลงระหว่างกันเพื่อให้บรรลุผลเที่ยงธรรม และหากไม่สามารถบรรลุผลการตกลงระหว่างกันได้ จะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มีข้อตกลงชั่วคราวร่วมกันสำหรับใช้ปฏิบัติ โดยจะต้องไม่กระทบต่อการกำหนดเขตแดนทางทะเลในขั้นสุดท้าย
          "ไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปและเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2515-2516 โดยมีการเจรจามานานกว่า 30 ปีแต่ยังไม่ได้ข้อยุติ รัฐบาลทั้งสองประเทศจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันเมื่อปี 2544 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการเจรจาแบ่งเขตแดนระหว่างกันให้ชัดเจน และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน ซึ่งรัฐบาลชุดนี้จะทบทวนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับเอ็มโอยู 2544” นายยงยุทธกล่าว
    นายยงยุทธกล่าวด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาข้อดีข้อเสียและขั้นตอนแนวทางการเจรจาเอาไว้แล้ว ยืนยันว่ารัฐบาลจะยึดประโยชน์ของประเทศ และจะเสนอกรอบการเจรจาให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
 เขา บอกว่า ตอนนี้มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์อ้างสิทธิ์อธิปไตยของตัวเอง ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็ไม่ยอมเสียสิทธิ์อ้างเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างกัน แต่ปัญหาพื้นที่ทางทะเลจะต้องแก้ไขด้วยการเจรจา เหมือนกับที่เคยใช้แนวทางนี้กับประเทศมาเลเซียจนเป็นผลสำเร็จเมื่อปี 2522 ดังนั้นการเจรจาจะต้องไม่กระทบสิทธิ์ของแต่ละประเทศ
 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางไปกัมพูชา หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางกลับแล้วว่า เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกับจับตาดู ว่ามีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีในเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจของพ.ต.ท.ทักษิณที่เกี่ยว ข้องกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
 เมื่อถามว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณไปอยู่ที่กัมพูชา ทางกระทรวงการต่างประเทศควรจะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทางกระทรวงการต่างประเทศก็คงที่จะต้องทำหนังสือขอตัวไป และควรทำตามหน้าที่ การที่แกนนำคนเสื้อแดงที่มีคดีอยู่ออกมายื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศนั้น ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง