by earth |
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000098451
ถึงเวลาต้องฟ้อง “ปตท.” ...มรดกบาป “รัฐบาลทักษิณ”!?
อมรรัตน์ ล้อถิรธร....รายงาน
10 ปีแล้วที่ “ปตท.” ถูกแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หลายคนรู้ว่านั่นทำให้กำไรนับหมื่นนับแสนล้านบาทที่ ปตท.ได้มาจากประชาชนผู้ใช้พลังงานในแต่ละปี ไม่ตกเป็นของรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกต่อไป เพราะต้องแบ่งเค้กก้อนใหญ่ให้กับผู้ถือหุ้นที่เข้ามาจองซื้อตั้งแต่เมื่อปี 2544 ...ใครเลยจะรู้ว่า ผู้ที่เข้ามาซื้อหุ้น ปตท.ในวันนั้น หาใช่ประชาชนรายย่อยทั่วไปไม่ แต่กลับกลายเป็นพวก “เหลือบไรนักการเมือง” ที่เข้ามารุมทึ้งหุ้น ปตท.ด้วยวิธีที่ฉ้อฉลและเกาะกินสมบัติของชาติและประชาชนจนพุงกางนับแต่นั้น มา... “มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน” เห็นว่า ถึงเวลาต้องกำจัดเหลือบไรเหล่านี้เสียที
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายงานพิเศษ
เมื่อพูดถึง “ปตท.” ที่ถูกรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร แปรรูปจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ขึ้นมาทีไร หลายคนยังไม่ลืมภาพภาคประชาชนอย่างมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ออกมาเคลื่อนไหว ฟ้องศาลปกครองให้การแปรรูป ปตท.เป็นโมฆะเช่นเดียวกับ กฟผ.หรือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่รัฐบาลทักษิณพยายามจะแปรรูปให้ได้ แต่ไม่สำเร็จ เพราะถูกมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพบทุจริตเชิงนโยบาย จึงไปฟ้องต่อศาลปกครอง กระทั่งในที่สุดศาลได้สั่งเพิกถอนกระบวนการที่จะแปรรูป กฟผ.
สำหรับ ปตท.แม้ศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2550 จะไม่ได้สั่งเพิกถอนการแปรรูป เนื่องจากเกรงว่าหากเพิกถอนหุ้นของ ปตท.ออกจากตลาดฯ อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงด้านพลังงาน (ตามที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.ในขณะนั้น และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ที่เพิ่งทิ้งตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อไปนั่งเก้าอี้รัฐมนตรีในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้ เคยอ้าง) ก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลฯ ก็ระบุชัดถึงการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลทักษิณ ที่มีมติให้โอนทรัพย์สมบัติของแผ่นดินที่ควรเป็นของรัฐ ไปให้ ปตท.ทั้งหมด อันได้แก่ ที่ดินและท่อก๊าซ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ประกอบกันเป็นระบบท่อส่งก๊าซหรือระบบขนส่งปิโตรเลียมทาง ท่อ ซึ่งได้มาจากการรอนสิทธิและเวนคืนที่ดินจากประชาชน หรือได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ ศาลฯ จึงสั่งให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ทำการแยกทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติที่ ปตท.ครอบครองอยู่ แล้วโอนคืนแก่รัฐ รวมทั้งให้ตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550
แต่น่าแปลกที่จนถึงปัจจุบัน ปตท.ก็ยังคืนทรัพย์สินให้รัฐไม่ครบตามจำนวน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เล่าให้ฟังว่า มูลนิธิฯ ได้พยายามจี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่เรียกคืนทรัพย์สินจาก ปตท. รวมทั้งขอศาลให้ช่วยบังคับคดี แต่กลับติดปัญหาด้านกฎหมาย
“ทรัพย์สินมันไม่ถูกคืนครบและการตรวจสอบทรัพย์สินที่ ครม.ให้คืนตาม สตง.(สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) จริงๆ ปตท.ก็ไม่ได้คืนครบตามที่ สตง.ให้คืน นั่นเป็นประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 คิดว่าทรัพย์สินที่ สตง.ตรวจก็เป็นทรัพย์สินก่อนการแปลงสภาพ(ปตท.) มันยังมีทรัพย์สินหลังการแปลงสภาพอีกเยอะที่ไม่ได้คืน ซึ่งรวมแล้วก็เกือบ 2 แสนล้าน คิดว่าตรงนั้นเป็นส่วนที่ ปตท.จะต้องคืน...คือมูลนิธิฯ ฟ้องไปแล้ว และศาลก็บอกแล้วว่าให้คืนทรัพย์สิน แต่มันไม่มีใครทำตาม แล้วพอเราไปขอบังคับคดี เขาก็บอกว่าเราไม่ใช่ผู้เสียหาย ซึ่งนี่เป็นช่องว่างของกฎหมายเสียหายอย่างแรง (ถาม-แล้วจะทำอย่างไร?) ตอนนี้ก็ต้องใช้กระบวนการที่เรียกว่าไปขอให้กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์เนี่ยเรียกทรัพย์สินคืน ซึ่งมันไม่มีใครเรียกไง มันก็ต้องไปใช้กระบวนการศาลปกครองอีกรอบหนึ่งเพื่อให้คืน”
ไม่ใช่แค่เรื่องทรัพย์สินที่ ปตท.ต้องคืนรัฐแต่ยังคืนไม่หมด ล่าสุด มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินได้ตรวจพบความฉ้อฉลในกระบวนการแปรรูป ปตท.หลายประเด็น จึงได้เตรียมฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้การซื้อขายหุ้น ปตท.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะในสัปดาห์นี้ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ 1 ในกรรมการมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้ค้นพบความฉ้อฉลของการแปรรูป ปตท.เล่าให้ฟังว่า หลักฐานความฉ้อฉลที่ตนได้มานั้น เป็นประเด็นใหม่ที่ไม่เคยมีใครรู้มาก่อน ซึ่งมั่นใจว่าเมื่อฟ้องต่อศาลปกครองจะนำไปสู่การสั่งให้การซื้อขายหุ้น ปตท.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะได้
“ผมเป็นคนค้นพบสิ่งผิดปกติในการซื้อขายหุ้น ปตท.หลังจากที่ได้ติดตามมานาน และผมเองก็เป็น 1 ในกรรมการของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ทำให้เรารู้ข้อมูลว่า ปตท.เนี่ยฉ้อฉลอย่างไร ทั้งเชิงลึกและมีเอกสารในมืออย่างสมบูรณ์ มากกว่าคนอื่น และเป็นการเปิดประเด็นใหม่ ในประเด็นที่ว่าเขาซื้อขายหุ้นกันไม่ชอบ ซึ่งขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคของคุณรสนา (โตสิตระกูล) เขาฟ้อง เขาก็ไปฟ้องการแปรรูปตาม พ.ร.บ. แต่ตอนนั้นยังไม่มีหลักฐานว่า ปตท.ได้จำหน่ายหุ้นไปก่อนเวลา 09.30น.อันเป็นเวลาที่เปิดจอง ให้กับบุคคลภายนอกไปถึง 863 ราย ซึ่งอันนี้ทางคนอื่นเขาไม่รู้ แต่เราไปรวบรวมหลักฐานจนได้หลักฐานมาว่า คุณประกาศว่า 9.30น.นะ เปิดรับจองนะ แต่ 863 รายมันเข้าไปก่อน 9.30น. เหตุที่ผมรู้เพราะใบจองมันจะเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วมันตีเวลาออกมา ซึ่งเอกสารเหล่านี้ ทั้ง ปตท.และ กลต.เขาเก็บเงียบหมด ไม่เปิดเผยให้ใคร ดังนั้น สาธารณชนโดยทั่วไป ถ้าใครไม่ใส่ใจเรื่องนี้จะไปเอาหลักฐานตัวนี้มาไม่ได้เลย แต่ผมไปเอามาได้ นั่นประการที่ 1”
“ประการที่ 2 พอเราได้หลักฐานมา เราก็พบว่ามีผู้ที่จองได้มากกว่า 1 ใบจอง ซึ่งตามทีโออาร์เนี่ย คนหนึ่งจะจองได้ 1 ครั้ง 1 ใบจอง 1 ใบจองก็ไม่เกิน 1 แสนหุ้น ปรากฏว่ามีเกินนั้นอีก 428 ราย 428 ราย พอผมไล่ไป เฮ้ย! ก็ไอ้นามสกุล “มหากิจศิริ”อย่างนี้ ไล่ไปมันเป็นนักการเมืองทั้งนั้นเลย มันเกือบจะทั้งนั้นพวกที่ได้เกินไปเนี่ย หรือผู้มีอิทธิพล ผู้มีประโยชน์ ผู้ที่รู้เรื่อง เมื่อเห็น 2 ประเด็นนี้ ก็ทำให้การซื้อขายเป็นโมฆะแล้ว เพราะ 1.การซื้อขายที่ผิดไปจากทีโออาร์ ทีโออาร์ต้องถือเป็นสัญญาประชาคม เพราะได้ประกาศให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าฉันจะทำอย่างนี้นะ 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10 แต่คุณไม่ทำ 2.ขัดต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการที่ดี ขัดต่อกฎหมาย ปปช. เพราะการขายหุ้นไปอย่างนี้ ก็ไม่โปร่งใสและบุคคลที่ได้ไปเหมือนว่าคนที่รู้พฤติกรรมอินไซด์หรือผู้ บริหารหรือนักการเมืองหรือคณะกรรมการควบคุมราคาพลังงานต่างๆ เหล่านี้ เมื่อคุณกลับมาซื้อหุ้น มันก็ทำให้การซื้อขายนี้เป็นโมฆะ”
เมื่อได้หลักฐานมา นายสุวัตรจึงได้ประกาศทาง ASTV เพื่อหาผู้เสียหายซึ่งเคยเป็นผู้ที่จองซื้อหุ้น ปตท.แล้วไม่ได้ เพื่อร่วมเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองด้วย ซึ่งในที่สุดก็ได้มา 7 ราย โดยเป็นผู้ที่เคยไปรอจองซื้อหุ้น ปตท.ตั้งแต่ตี 1 ตี 2 แต่กลับถูกพรรคพวกนักการเมืองแย่งชิงซื้อไปด้วยวิธีที่ฉ้อฉลก่อนเวลาเปิดจอง โดยขณะนี้มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและผู้เสียหายพร้อมที่จะยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ นอกจากมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินและผู้เสียหาย จะฟ้อง ปตท.แล้ว ยังฟ้องกระทรวงการคลังด้วย โดยคำฟ้องบรรยายให้เห็นแผนอันแยบยลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีบางคนที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีในขณะนั้นด้วย โดยได้ร่วมกันทุจริตเชิงนโยบายและร่วมกันเข้าแย่งชิงทรัพย์สินของ ปตท.เพื่อเป็นของตัวเองและพรรคพวกด้วยวิธีฉ้อฉล โดยเริ่มจากอ้างความจำเป็นว่า ปตท.ต้องเพิ่มทุน ซึ่งดูแล้วไม่มีเหตุผล เพราะขณะนั้น ปตท.มีสภาพคล่องเพียงพอ โดยมีกำไรปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท
จากนั้นก็จัดให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์ของ ปตท.ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก เพื่อให้มูลค่าหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าความเป็นจริง โดยเปิดจองหุ้นในราคาเพียงหุ้นละ 31-35 บาท ทั้งที่ราคาตามสินทรัพย์ที่แท้จริงสูงกว่านั้นมาก ขนาดราคาจองหุ้นดังกล่าวว่าต่ำแล้ว ปตท.ยังมีการขายหุ้นให้กับบุคคลกลุ่มหนึ่งในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท จำนวน 25 ล้านหุ้น ทั้งที่ ปตท.เป็นทรัพย์สินของคนไทยทั้งชาติ ไม่ใช่ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เป็นที่น่าสังเกตว่า กระบวนการกระจายหุ้นของ ปตท.จำนวน 775 ล้านหุ้นนั้น แทนที่จะเป็นไปด้วยความโปร่งใสและขายให้คนไทย ปตท.กลับกำหนดว่า จะขายให้คนไทยรายย่อยแค่ 220 ล้านหุ้น ขายให้สถาบันในประเทศ 235 ล้านหุ้น แต่ขายให้นักลงทุนต่างชาติมากถึง 320 ล้านหุ้น ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อหุ้น ปตท.นั้น คือ “ฝรั่งหัวดำ” ที่ไปตั้งกองทุนหรือมีนอมินีอยู่ต่างประเทศเพื่อมาซื้อหุ้น ปตท.หรือไม่? ขณะที่การขายหุ้นให้คนไทยรายย่อย 220 ล้านหุ้น ก็เป็นไปแบบหมกเม็ด โดยมีการลัดคิวให้คนบางกลุ่มจองซื้อหุ้นได้ก่อนเวลาเปิดจองจำนวนถึง 863 ราย แถมให้อภิสิทธิ์คนบางกลุ่มของซื้อหุ้นได้มากกว่า 1 ใบจองจำนวนถึง 428 ราย!!
นั่นคือส่วนหนึ่งเท่านั้นของความอัปยศในกระบวนการจองซื้อหุ้น ปตท.เมื่อปี 2544 ที่ระบุอยู่ในคำฟ้องของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ซึ่งนายสุวัตร อภัยภักดิ์ 1 ในกรรมการมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน บอกว่า การฟ้อง ปตท.และกระทรวงการคลังต่อศาลปกครองครั้งนี้ จะเป็น “หัวไม้ขีด” สำหรับคดีต่อๆ ไปที่จะตามมา ซึ่งมีคดีอาญาที่จะต้องดำเนินการกับผู้ที่วางแผนและร่วมกันโกงทรัพย์สินของ ประเทศ รวมถึงคนที่รู้ว่ามีการโกงเกิดขึ้น แต่กลับเพิกเฉยไม่แก้ปัญหา
“เมื่อฟ้องคดีแรกไปแล้ว จะทำให้ผมมีโอกาสที่จะออกหมายเรียกของศาล ออกหมายเรียกของศาลไปเรียกอะไร เพื่ออีก 4 ตัวไง อันที่ผมฟ้องคดีนี้ก็คือ ผู้จองซื้อรายย่อย ผ่านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศที่มีทั้งหมด 340 ล้านหุ้น แต่ผมยังไม่รู้เลยบุคคลทั่วไปหรือนักลงทุนสถาบันเนี่ย ผ่านผู้จัดการหรืออันเดอร์ไรต์อีก 235 ล้านหุ้นเนี่ย ใคร ผู้ลงทุนในต่างประเทศ เรียกว่า ฝรั่งหัวดำอีก 320 ล้านหุ้นคือใคร และผมมีความเชื่อว่าไอ้พวกนี้เกี่ยวพันกับผู้มีอำนาจ ก็คือไปตั้งไว้ในต่างประเทศแล้วเข้ามาซื้อผ่านทรัสต์ต่างๆ แล้วผมก็ยังไม่รู้ว่าบุคคลผู้มีอุปการคุณตามที่คณะกรรมการ ปตท.เห็นชอบอีก 25 ล้านหุ้นเนี่ยเป็นใคร ผมจะขอให้ศาลปกครองเรียกสิ่งเหล่านี้เข้ามาให้หมดเลย ครั้นไปขอจาก ปตท.และ กลต.เขาก็ไม่ให้ เพราะนี่คือทุจริตที่เขาหมกเม็ดกันไว้ ผมต้องใช้อันนี้เป็นหัวไม้ขีด แล้วกรณีที่จะตามมากรณีการขายหุ้น ปตท.มันจะเป็นอีกหลายสิบคดีเลย แล้วมันจะมีคดีอาญาตามมาด้วย (ถาม-(คดีอาญา)สำหรับคนที่เพิกเฉย?) สำหรับคนที่วางแผนโกง คนที่เพิกเฉยรู้แล้วว่ามีการโกง ก็ไม่ปกป้อง คือปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แล้วธนาคารที่ร่วมกับผู้จองอย่างธนาคารไทยพาณิชย์เนี่ย เห็นชัดๆ เลยว่าร่วมมือกับนักการเมือง เอาชื่อพวกนั้นเข้ามาใส่ก่อน เอามาให้ได้มากกว่า 1 ใบจอง ซึ่งไทยพาณิชย์เราก็รู้ว่าโยงถึงใคร”
ต้องติดตามการฟ้อง ปตท.และกระทรวงการคลังครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะนี่ไม่เพียงเป็นอีก 1 การต่อสู้ของ “มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน” ที่พยายามปกป้องทรัพย์สินของประเทศและประชาชนมาโดยตลอด แต่นี่จะเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญด้วยว่า กระบวนการยุติธรรมสามารถหยุดยั้งการกระทำของคนบางกลุ่มที่คบคิดและเกาะกิน สมบัติชาติมาเป็นเวลานับสิบปีได้หรือไม่?
อดีต ในช่วง
ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ - หลังลอยตัวราคาน้ำมัน
ปตท.จะเป็นกลไกหนึ่งของรัฐบาลใน​การบริหารจัดการราคาน้ำมันภายใน
ประเทศ ในช่วงภาวะน้ำมันผันผวน
ปตท.จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของ​ประชาชนด้วยคำยึดมั่นที่ว่า
"รัฐวิสาหกิจก่อตั้งขึ้นมาเพื่อ​ช่วยเหลือประชาชน
โดยไม่มุ่งหวังผลกำไร" เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูง​ขึ้น ปตท.
ใช้วิธีคิดด้วยการยึดสต๊อกน้ำมั​นที่นำเข้ามาราคาถูกขายเป็นตัว
กำหนดราคาขายให้กับประชาชนก่อน เมื่อสต๊อกน้ำมันราคาถูกหมดลง
จึง​จะนำราคาใหม่มาคำนวณเพื่อกำหนดร​าคาขายใหม่
แต่ถ้าเห็นว่าราคานั้นๆ ยังสูงอยู่แล้ว
ปตท.จะให้โรงกลั่นน้ำมันข​อง ปตท.
ลดค่าการกลั่นลงจนบางช่วงโรงกลั่นแทบจะไม่มีกำไร แม้ ปตท.จะใช้วิธีนี้
แต่ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิ​จแห่งนี้ก็มีผลกำไรทุกปี
โดยปีที่แย่ที่สุด ปตท.ยังมีกำไรมากกว่า 1,500 ล้านบาท
ปัจจุบัน ปตท. เป็นบริษัทจำกัดมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ - การดำเนินงานใช้นโยบายสร้างกำไร​สูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น ได้เปลี่ยนวิธีการกำหนดราคาไปอิ​งกับตลาดสิงคโปร์ ทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปและค่าก​ารกลั่น ปัจจุบัน ปตท. มีกำไรมากกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท การบริหารแบบสุดลิ่ง ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นเท่าไร เอาราคานั้นเป็นตัวตั้ง โดยไม่สน​ใจว่าน้ำมันในสต๊อกจะคงเหลือมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคาน้ำมันให้ทันตามราคาโลก แต่ในทางตรงกันข้าม ในช่วงที่ราคาน้ำมันโลกปรับลดลง​ ปตท.จะเอาสต๊อกน้ำมันที่เหลืออยู่มาคำนวณเป็นต้นทุนก่อนเพื่อเป็นเหตุผลที่ จะอ้างว่ายังไม่สามา​รถปรับลดราคาลงได้ และเพื่อให้แน่ใจว่า ปตท.จะสามารถกำหนดนโยบายด้านราค​าของประเทศได้ ปตท.จึงทำการซื้อกิจการน้ำมันขอ​งประเทศแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งนโยบายนี้ ปตท. ทำไปด้วยการขอรับการส่งเสริมการ​ลงทุนจาก boi จึงไม่ต้องไม่เสียภาษีให้กั​บรัฐ นโยบายนี้ทำให้ ปตท. สามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบทั้ง​ราคาน้ำมันและค่าการกลั่น น้ำมัน​ได้ส่งผลโรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท.กว่านซื้อมานั้น มีผลกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดด วิธีการนี้จึงเป็นการตอบคำถามได้ดีว่า เมื่อต้นเดือนก่อนราคาน้ำมันดิบโลกปรับขึ้น 2 วันเป็นจำนวน $3 ปตท.ไม่ลังเลที่จะขอปรับราคาน้ำมันขึ้น 60 สตางค์ แต่หลังจากนั้น ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปรับลงมากกว่า $12 ปตท.กลับใช้เวลาเกือบเดือนในการพิจารณาปรับราคาลงเพียง 60 สตางค์ (ซึ่งจะมีผลในวันพรุ่งนี้) ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วราคาในขณะนี้ ปตท.ต้องปรับราคาลงถึงลิดรละ 3 บาทด้วยซ้ำ (บทความนี้คัดลอกมาฝากให้เราช่วยกันคิดว่าเกิดอะไรขึ้นกับ ปตท. ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทั้งชาติ)
คนไทย
ปัจจุบัน ปตท. เป็นบริษัทจำกัดมหาชน จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ - การดำเนินงานใช้นโยบายสร้างกำไร​สูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น ได้เปลี่ยนวิธีการกำหนดราคาไปอิ​งกับตลาดสิงคโปร์ ทั้งราคาน้ำมันสำเร็จรูปและค่าก​ารกลั่น ปัจจุบัน ปตท. มีกำไรมากกว่าปีละ 100,000 ล้านบาท การบริหารแบบสุดลิ่ง ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นเท่าไร เอาราคานั้นเป็นตัวตั้ง โดยไม่สน​ใจว่าน้ำมันในสต๊อกจะคงเหลือมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้ออ้างในการขึ้นราคาน้ำมันให้ทันตามราคาโลก แต่ในทางตรงกันข้าม ในช่วงที่ราคาน้ำมันโลกปรับลดลง​ ปตท.จะเอาสต๊อกน้ำมันที่เหลืออยู่มาคำนวณเป็นต้นทุนก่อนเพื่อเป็นเหตุผลที่ จะอ้างว่ายังไม่สามา​รถปรับลดราคาลงได้ และเพื่อให้แน่ใจว่า ปตท.จะสามารถกำหนดนโยบายด้านราค​าของประเทศได้ ปตท.จึงทำการซื้อกิจการน้ำมันขอ​งประเทศแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งโรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ ซึ่งนโยบายนี้ ปตท. ทำไปด้วยการขอรับการส่งเสริมการ​ลงทุนจาก boi จึงไม่ต้องไม่เสียภาษีให้กั​บรัฐ นโยบายนี้ทำให้ ปตท. สามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบทั้ง​ราคาน้ำมันและค่าการกลั่น น้ำมัน​ได้ส่งผลโรงกลั่นน้ำมันที่ ปตท.กว่านซื้อมานั้น มีผลกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดด วิธีการนี้จึงเป็นการตอบคำถามได้ดีว่า เมื่อต้นเดือนก่อนราคาน้ำมันดิบโลกปรับขึ้น 2 วันเป็นจำนวน $3 ปตท.ไม่ลังเลที่จะขอปรับราคาน้ำมันขึ้น 60 สตางค์ แต่หลังจากนั้น ราคาน้ำมันดิบกลับปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปรับลงมากกว่า $12 ปตท.กลับใช้เวลาเกือบเดือนในการพิจารณาปรับราคาลงเพียง 60 สตางค์ (ซึ่งจะมีผลในวันพรุ่งนี้) ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วราคาในขณะนี้ ปตท.ต้องปรับราคาลงถึงลิดรละ 3 บาทด้วยซ้ำ (บทความนี้คัดลอกมาฝากให้เราช่วยกันคิดว่าเกิดอะไรขึ้นกับ ปตท. ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทั้งชาติ)
คนไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น