กัมพูชา ลักไก่ ให้ญี่ปุ่น เจาะน้ำมัน พื้นที่ทับซ้อนไทย
ปิดฉากการประชุมอาเซียน ซัมมิท ครังที่ 18 ให้คำมั่นเพิ่มบทบาทอาเซียนสู่เวทีโลกขณะที่ปัญหาความขัดแย้งชายแดน ไทย-กัมพูชา ยังคงคั่งค้าง
ที่มา : รูปภาพ http://hilight.kapook.com/img_cms2/news3/284151%5B0%5D.jpg
ศาลโลก เผยเตรียมกำหนดวันเวลา ในการไต่สวนจากไทยและกัมพูชา ในการแปลความคำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหาร จากคำร้องของประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ICJ ดำเนินการอย่าง "เร่งด่วน" เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับปราสาทพระวิหาร อันเป็นผลมาจากการปะทะกัน ระหว่างทหารกัมพูชาและไทย ตามแนวชายแดน รวมถึงการร้องขอให้แปลความคำตัดสิน กรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 1962 (พ.ศ. 2505)
ทั้งนี้พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเขมรไม่ได้มีแค่ทางชายแดนเขาพระ วิหารเท่านั้น รอง ผบ.ทัพเรือภาค 1 เผยเขมรขอส่วนแบ่งผลประโยชน์เขตทับซ้อนทางทะเล 90% หลังผลสำรวจพบน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติมูลค่ารวม 5 ล้านล้านบาท อดีต ผบ.ทร.อัดกัมพูชาขีดเส้นเลื่อนลอย หนุนคงกำลังทหารเพื่อความได้เปรียบเจรจาเขตแดนทางบก-ทะเล ด้าน ผอ.กองกิจการชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุ “ฮุนเซน” ลดความแข็งกร้าว แต่เสริมทหารปืนใหญ่ด้านเขาพระวิหาร
ที่มา : รูปภาพ http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1172259
สื่อทางอินเทอร์เน็ตของกัมพูชา ระบุว่า สำหรับพื้นที่บล็อค 4 เป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา บริเวณเกาะกูด จังหวัดตราดของไทยกับจังหวัดเกาะกงของประเทศกัมพูชา ซึ่งมีพิกัดอยู่ติดกับพื้นที่บล็อค 3 ที่ทางรัฐบาลกัมพูชาเคยมอบสิทธิการขุดเจาะน้ำมันให้บริษัทโตตันของประเทศ ฝรั่งเศส แต่ถูกทางรัฐบาลไทยประท้วง จนทำให้บริษัทของฝรั่งเศสไม่สามารถดำเนินการขุดเจาะได้ แต่ล่าสุดรัฐบาลกัมพูชาได้มอบสัมปทานให้กับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น รายงานข่าวยังคาดการว่า ในพื้นที่ดังกล่าวจะสามารถขุดเจาะน้ำมันและแก๊สได้จำนวนมาก
ปัญหาที่ยังตกลงไม่ได้เกิดจากการอ้างสิทธิของสองฝ่ายออกไปฝ่ายละ 200 ไมล์ทะเลจากไหล่ทวีปในองศาที่ต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน แบ่งเป็นสองส่วน คือ เกาะกูดตอนล่าง ที่ไทยยึดถือตามสนธิสัญญา ฟรังโก-สยาม ว่าเกาะกูดอยู่ในฝั่งไทย ในขณะที่ กัมพูชาใช้เส้นแนวเล็งจากเขตแดนที่ 73 ผ่านยอดเขาสูงของเกาะกูดตรงออกไปในทะเล ซึ่งกินพื้นที่พัฒนาร่วมคือ JDA ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนที่สอง คือ อ่าวไทยตอนกลางและตอนล่าง ที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2515 ในขณะที่ไทยประกาศในปี 2516
ที่มา : รูปภาพ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/337/23337/images/oil2.jpg
ช่วงปี 48 บริษัท เชฟรอน สหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนจากรัฐบาลไทยและ กัมพูชาให้สำรวจพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ได้ประเมินมูลค่าก๊าซธรรมชาติไว้ 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมัน 1.5 ล้านล้านบาท โดยกองทัพเรือยังต้องดูแลความปลอดภัย 2 ฐานขุดเจาะนางนวลนี้อยู่
บ่อน้ำมันและแก๊สธรรมชาติกลางอ่าวไทยบนพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชานั้น ทำให้กัมพูชาประกาศจะนำมาใช้พัฒนาประเทศ และปัจจุบันยกพื้นที่ดังกล่าวให้บริษัท TOtal ของฝรั่งเศษแล้ว
ธนาคารโลกประเมินว่า แหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ที่จะสร้างรายได้ให้กัมพูชาไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านเหรียญต่อปี (เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบบาร์เรลละ 60 เหรียญ)
สำหรับพื้นที่ที่น่าจะมีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันมากที่สุดก็คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไทยนั่นเอง
ชมแท่นขุดเจาะน้ำมันของไทย
วิดิโอ
ไม่มีอะไรที่น่าแปลกใจ ก็ผลประโยชน์มหาศาล นักการเมืองถึงพยายามยกแผ่นดินให้กัมพูชา
ที่น่าแปลกใจตรงที่ ผลประโยชน์พวกเราทุกคน แต่ ทำไม? ยังมีคนมากมายมัวไปหลง นักการเมืองเลวๆพวกนั้นกัน นี่ล่ะ คิดหาเหตุผลไม่เจอซะที
ข้อมูล ผ่าน Wandee Songna
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น