บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กลุ่มการเมืองใช้เขาพระวิหารบังหน้าแลกประโยชน์-เปลี่ยนเส้นแดนบก/ทะเลไทย


ข้อเท็จจริงจากพื้นที่กรณีขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของมนุษย์” โดย ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล ผู้ช่วยนักวิจัย และทีมงาน
       โดย ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวว่า การศึกษาของทีมงานครั้งนี้ไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นการลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่โดยเป็นการชี้เบาะแสเชิงวิชาการ และมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ หลังจากที่ได้ฟัง นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการขอขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหาร ว่า เป็นเพียงการบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อน และเป็นเรื่อง win-win เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงเกิดความรู้สึกว่า ปัญหาเรื่องประสาทเขาพระวิหารเป็นเรื่องอึมครึม และน่าอึดอัดในความรู้สึกของคนไทย แต่เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่พูดเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน จึงได้ลงพื้นที่ไปศึกษาเรื่องดังกล่าว
    


สี แดงคือเกาะกูดของไทย เส้นปะเข้มคือแนวเส้นเขตแดนของไทย ส่วนแนวเส้นประไข่ปลาเป็นแนวขีดเส้นเขตแดนของกัมพูชา ที่กินเกาะกูดไปครึ่งหนึ่งและกินพื้นที่ JDA ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแหล่งใหญ่


       ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวต่อไปว่า ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา นั้น ทางฝ่ายกัมพูชาพยายามรักษาอธิปไตยของตนเอง โดยมีการสร้างชุมชน ตลาด และวัด เข้ามาในดินแดนฝั่งไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาไม่ได้ยึดถือหลักเขตแดนของไทยตามมติ ครม.เมื่อปี 2505 ของไทย โดยที่รัฐบาลของไทยไม่ได้มีความพยายามดำเนินการใดๆ และเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่กัมพูชากับไทยได้เจรจาร่วมกันมา ทางกัมพูชาได้ยื่นข้อเสนอขอเปิดจุดผ่านแดนช่องตาเฒ่า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางกัมพูชาเตรียมไว้สำหรับเปิดศูนย์การค้า แหล่งบันเทิง และ กาสิโน และเมื่อตนย้อนกลับไปดูการจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางทะเลที่ลากจากหลักกิโลเมตรที่ 73 จ.ตราด ได้พบแผนที่ของกัมพูชา ที่มีการเขียนหลักเขตแดนทางทะเลผ่านเกาะกรูด ของไทย และกินพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA ซึ่งเป็นจุดที่มีทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่ และเป็นเส้นเขตแดนทางทะเลที่แตกต่างจากเส้นเขตแดนของไทย โดยกินพื้นที่ของไทยเข้ามาด้วย ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง เรียกร้องขอให้ทหารหาญของชาติแสดงจุดยืนปกป้องผลประโยชน์ชาติ กรณีเร่งรัดแบ่งเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2549
     
       
“เส้นเขตแดนทางทะเลมีเส้นเขตแดนเดิมตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ที่เกาะกูด จะต้องเป็นของไทย และในปี 2544 รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้บรรลุข้อตกลงกับทางกัมพูชา ด้วยการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งน่าสงสัยว่า ทำไมการปักปันเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นอธิปไตยของชาติ เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในวงกว้าง หรือผ่านกระบวนการรับรองการเปลี่ยนเส้นเขตแดนที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหารรับรู้แต่ เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงเชื่อว่า เขาพระวิหารเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดน และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพื้นที่ JDA ด้วย”
     

สีแดงคือเกาะกูดของไทย เส้นปะเข้มคือแนวเส้นเขตแดนของไทย ส่วนแนวเส้นประไข่ปลาเป็นแนวขีดเส้นเขตแดนของกัมพูชา ที่กินเกาะกูดไปครึ่งหนึ่งและกินพื้นที่ JDA ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแหล่งใหญ่
       ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ในนามของคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแถลงการณ์ว่า 1.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ที่แท้จริงมิใช่ราชอาณาจักรไทยหรือราช อาณาจักรกัมพูชา แต่เป็นรัฐบาลไทยกับประชาชนไทย ดังนั้น ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือน ทุกคนจะต้องตัดสินใจแล้วว่า ตนกำลังปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือไม่ หรือของใคร 2.สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้ คือ รัฐบาลไปยอมให้ราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียว และยอมรับแผนที่ของกัมพูชาที่ไม่ยอมรับอธิปไตยตามมติคณะรัฐมนตรี 2505 และยังยอมไปทำแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่องเขตแดนแม้แต่น้อย ผลเสียตามกฎหมายปิดปากก็จะเกิดขึ้น
     
       “เมื่อรัฐบาลไทยไม่ยับยั้งหรือคัดค้าน ประชาชนคนไทยควรร่วมกันยับยั้ง หรือคัดค้านโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิชุมชน และส่งเรื่องไปตามขั้นตอนและเวลาอย่างเร่งด่วนผ่านองค์การยูเนสโกในประเทศ ไทย ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก จึงขอความร่วมมือของนักวิชาการ ข้าราชการประจำองค์กรภาคประชาชน สื่อและประชาชนทุกคนมาร่วมกัน ศึกษาพิจารณาดูข้ออ้างที่จะมาใช้ เพื่อให้มีการเลื่อนการพิจารณาประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ที่สำคัญ คณะวิจัยมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดน ทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยมีเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้า”
     
       ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากไม่ยืนยันเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 ไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา ซึ่งแผนที่ใหม่ของกัมพูชามีนัยเป็นการยืนยันท่าทีของกัมพูชาที่ไม่ยึดถือ เขตอธิปไตย หรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 เมื่อไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้ชัดเจนเสียก่อน แต่เลือกแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมและออกแถลงการณ์ร่วม ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเสียดินแดนให้กัมพูชาในที่สุด
     
       “รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาไม่มีความไม่โปร่งใสในเรื่องดัง กล่าว ซึ่งการขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหาร เป็นมรดกของโลกเป็นเรื่องดี ดังนั้น รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศควรจะทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ไม่ควรทำเพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง หรือเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับนักวิชาการที่ต้องการร่วมกันระดมความเห็นเพื่อยื่นข้อเสนอส่งให้ยูเนส โกชะลอการประกาศเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกให้ทันวันที่ 2 กรกฎาคม ที่จะถึง ซึ่งจะมีการประชุมเรื่องดังกล่าว สามารถติดต่อได้ทาง walwipha2000@yahoo.com และขอให้นักวิชาการออกมาช่วยกัน เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว และการที่ดิฉันไม่ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพราะรัฐบาลไทยเพิกเฉย จึงจำเป็นต้องยื่นข้อเสนอไปถึงยูเนสโกแทน” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว
     
       ทั้งนี้ รายละเอียดหนังสือที่นายสนธิทำถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมื่อปี 2549 ตอนหนึ่งได้ระบุว่า
     
       
“พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาอันเป็น ปมปัญหาที่ต้องเจรจากันดังกล่าวนี้มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร เป็นที่รับรู้กันทั่วว่าเป็นแหล่งที่คาดว่าจะมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแหล่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์
     
       พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี(ขณะนั้น)มีความพยายามจะเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลดัง กล่าวมาแล้วอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการเตรียมการจะหาประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรดังกล่าวพร้อมกันไป ดังจะเห็นได้จากข่าวที่นายโมฮัมเหม็ด อันฟาเยด มหาเศรษฐีชาวอียิปต์เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์และสโมสรฟุตบอลฟุตบอลฟู แลมในประเทศอังกฤษ เดินทางมาประเทศไทยในฐานะแขกส่วนตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2543 ในชั้นแรกก็อ้างว่าเพื่อสังเกตการณ์พัฒนาการฟุตบอลไทยโดยได้ร่วมมือกับ โครงการของพรรคไทยรักไทย ส่งนักฟุตบอลเยาวชนไปฝึกที่ประเทศอังกฤษ แต่ในชั้นต่อมาก็มีข่าวว่า นายโมฮัมเหม็ดมีความสนใจที่จะร่วมลงทุนในกิจการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและ น้ำมันในอ่าวไทย และเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาด้วย
     
       รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาปัญหาเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาด้วยการมี บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ไทยกับกัมพูชา อ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.44 ยังผลให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ประชุมกันครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2544 นับจากนั้นมา การเจรจาด้านเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชาได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด จากผู้ที่รักชาติรักแผ่นดิน เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายได้มีข้อเสนอที่ชัดเจนของตนเองโดยเฉพาะฝ่ายไทยยืนยันที่จะดำรงสิทธิ์และ อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูดซึ่งมีหลักฐานที่พิสูจน์ชัด ทั้งทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางวัฒนธรรมว่า ดินแดนตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ จนทำให้ต้องมีการกันพื้นที่ในการเจรจา”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง