ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- เสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2554 02:52:32 น.
นโยบายข้อหนึ่งที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเร่งดำเนินการโดยเร็วที่ สุดก็คือการแบ่งผลประโยชน์ในทะเลอ่าวไทยร่วมกับราชอาณาจักรกัมพูชา ที่มีสมเด็จอัครมหาเดโชฮุนเซ็นเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งก็คงไม่ ต้องบอกว่าสมเด็จฮุนเซ็นนั้นก็คือสหายสนิทคนสำคัญของพ.ต.ท.ทักษิณอดีต นายกรัฐมนตรี
เป็นที่แน่นอนที่สุดว่าพรรคเพื่อไทยของตระกูลชินวัตรและพรรคประชาชน กัมพูชาก็คือพรรคพันธมิตรทางการเมืองที่แนบแน่นด้วยผลประโยชน์อย่างดี ยิ่งข้อพิสูจน์ก็คือค่ำวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาหลังพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง เฒ่าฮอนำฮงเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศชาติแรกในอาเชี่ยนที่แสดงความ ยินดีอย่างออกนอกหน้าเพราะทั้ง 2 พรรคทั้ง 2 ประเทศเพื่อนบ้านจะมีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยอย่างมหาศาลนับไม่ถ้วน
ข้อเจรจาระหว่างรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศก็คือการตกลงในสัญญาสัมปทานขุดเจาะปิโตรเลี่ยมในอ่าวไทยนั่น เองซึ่งมีข้อมูลจากวิกิลีกส์ระบุว่ารัฐบาลทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลี่ยมในทะเลในพื้นที่ 26,400 ตารางกิโลเมตรเรียบร้อยแล้วผ่านบริษัทขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐอเมริกา ชื่อโคนอโคฟิลิปส์
รายละเอียดระบุว่าผลประโยชน์พื้นที่ใกล้ฝั่งไทย ร้อยละ 80 เป็นของไทย ร้อยละ 20 เป็นของกัมพูชา พื้นที่ตรงกลางแบ่งกันคนละ 50 : 50และพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ร้อยละ 80 เป็นของกัมพูชา และร้อยละ 20 เป็นของ
ไทยโดยเงินลงทุนในการขุดเจาะปิโตรเลี่ยมครั้งนี้รัฐบาลไทยจะลง ทุนเองผ่านบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ซึ่งจะขอกู้เงินตราสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารแห่งประ เทศไทยประมาณ 300,000 ล้านบาท
ข้อเท็จจริงก็คือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนปี 2544 รัฐบาลไทยได้ทำบันทึกข้อตกลงกับผู้แทนรัฐบาลกัมพูชาไปเป็นที่เรียบ ร้อยแล้วมีสาระสำคัญคือ การปักปันเขตแดนทางบกที่มีความยาว800กิโลเมตรหลังจากนั้นก็จะพัฒนา แหล่งปิโตรเลี่ยมซึ่งมีมูลค่าทั้งน้ำมันดิบและกาซธรรมชาติขั้นต่ำ ประมาณ5 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตามการแบ่งผลประโยชน์ในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา นั้นมีรายงานว่ามีบริษัทร่วมทุน 3 ประเทศระหว่างไทย กัมพูชาและสิงคโปร์บริษัทหนึ่งจะได้ผลประโยชน์ในการขุดเจาะปิโตร เลี่ยมครั้งนี้มากเป็นพิเศษซึ่งข้อเท็จจริงยังเผยด้วยว่ามีนักการ เมืองใหญ่ทั้ง 2 ประเทศอยู่เบื้องหลัง
การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ในพื้นที่อ่าวไทยระหว่างรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยหรือว่ารัฐบาลแห่งราช อาณาจักรกัมพูชาจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติทั้ง 2 ประเทศโดยส่วนรวมเป็นหลักและต้องเคารพอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือ ดินแดนของแต่ละประเทศซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของกระทรวงต่างประเทศและ กระทรวงพลังงานที่ต้องดูแลไม่ให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชาอย่างเด็ดขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น