บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ฮุน เซน หวัง ปู ตกลงแบ่งแก๊สฯ-น้ำมัน 80:20


ฮุน เซน หวัง ปู ตกลงแบ่งแก๊สฯ-น้ำมัน 80:20


โดย  ทรงฤทธิ์ โพนเงิน
 
หลัง จากที่ได้แสดงความดีใจจนออกนอกหน้าต่อชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง ทั่วไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้วนั้น ฮุน เซน ก็ได้ตั้งหน้าตั้งตารอคอยโอกาสที่จะได้แสดงความยินดีอย่าง เป็นทางการกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรัก) อย่างใจจดใจจ่อ เนื่องเพราะมั่นใจว่าการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของน้องสาวเพื่อนรัก นั้นจะทำให้ความขัดแย้งว่าด้วยเรื่องพื้นที่พิพาทและการเผชิญหน้าทางทหาร ระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ดำเนินมาถึง 3 ปีแล้วนั้นจะได้ข้อยุติหรือจบสิ้นกันไปเสียที
โดยความมั่นใจดังกล่าวนี้ของ ฮุน เซน ยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อปรากฏว่าทั้ง ทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ได้ประสานเสียงกันตามประสาพี่น้องที่ “โคลนนิ่ง” กันมานั้นว่าปัญหาการต่างประเทศที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วนที่สุดเป็นอย่างแรก ของรัฐบาล “โคลนนิ่ง” ทักษิณ นั้น ก็คือการปรับปรุงและก็เสริมสร้างความ สัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับกัมพูชานั่นเอง
ครั้นเมื่อเห็นว่า ทักษิณ เพื่อนรักและน้องสาวได้ออกมาแสดงท่าทีเช่นนี้ ฮุน เซน ก็มิได้นิ่งดูดาย แต่ได้ออกมาเสริมในเรื่องเดียวกันนี้ว่าตนเองนั้นยินดีและพร้อมที่จะพบและ เจรจากับน้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรักทุกเวลา ทุกสถานที่ และในทุกๆเรื่องราวที่เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสอง ประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับท่าทีที่ ฮุน เซน ได้แสดงต่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นับตั้ง แต่วันแรกที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย
แน่นอนว่าการแสดงท่าทีที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเช่นนี้ของ ฮุน เซน ในด้านหนึ่งนั้นย่อมต้องการที่จะตอกย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ มีอยู่กับ ทักษิณ เพื่อนรัก แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีในบรรดาผู้ที่มีสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับ ฮุน เซน ว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ ฮุน เซน ได้ทำดีกับใคร ก็ตาม ต่างก็ล้วนแล้วแต่ต้องการสิ่งตอบแทนทั้งสิ้น” โดยไม่มีการยกเว้นแม้แต่ ทักษิณ เพื่อนรัก
ครั้นแล้วความต้องการของ ฮุน เซน ก็ถูกเปิดเผย เมื่อเวบไซต์เจ้าปัญหาอย่าง Wiki-leak นั้นได้ปล่อยข้อมูลลับออกมาว่า “ฮุน เซน กับ ทักษิณ นั้นเคยตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่อยู่ใน พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างกันในสัดส่วน 80 ต่อ 20”
ซึ่งหากจะว่าไปแล้วกรณีดังกล่าวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ได้หลุดปากออกมาในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้กับผู้จบการศึกษา จากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดให้เวลากับกลุ่ม Chevron ยักษ์ ใหญ่ในวงการน้ำมันของสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินการขุดค้น-นำเอาน้ำมันและแก๊สฯที่อยู่ในเขตน่านน้ำทางทะเลของ กัมพูชาในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะดำเนินการถอนสัมปทานทันที
พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล กัมพูชานั้น ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย
ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่นเพื่อให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่น น้ำมันแห่งแรกในกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวนี้ในกัมพูชาในระยะต่อไป
ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งทำการร่างกฎหมายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ เพื่อให้สภาแห่งชาติให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้ จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาจะผ่านการเห็นชอบในทุกวาระ ของทุกการประชุมได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบ
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สฯและน้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับ ฮุน มาเนตร บุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)
ทางด้าน Chevron Corp ก็ยังได้ร่วมทุนกับกลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่นและกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลีใต้เพื่อดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตน่านน้ำของ กัมพูชานับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาแล้วนั้น และถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้สรุปผลการสำรวจอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ Chevron Corp ก็ได้ให้การตอบสนองต่อเป้าหมายของ ฮุน เซน เป็นอย่างดีตลอดมา
โดยกลุ่ม Chevron Corp พร้อมด้วยกลุ่ม Mitsui และ กลุ่ม GS Caltex ร่วมทุนกันในสัดส่วน 55% ต่อ 30% และ 15% ตามลำดับ และได้ทำการขุดเจาะและสำรวจหาน้ำมันในเขตสัมปทาน A ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลด้านจังหวัดสีหนุวิลล์ในภาคใต้ของกัมพูชา ประมาณ 150 กิโลเมตรนั้นพบว่า 4 ใน 15 หลุมที่ได้ดำเนินการสำรวจนั้นเป็นแหล่งที่คุ้มค่าที่จะลงทุนอย่างยิ่ง
ซึ่งด้วยผลจากการสำรวจฯดังกล่าว ก็ปรากฏว่ามีบริษัทต่างชาติอีกกว่า 10 รายที่ได้หลั่งไหลเข้าไปขออนุญาตสำรวจหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในเขตอ่าวไทยในส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาถือว่าเป็นเขตน่านน้ำของฝ่ายตนนั้นแล้ว โดยในที่นี้ยังรวมถึงบริษัทในเครือของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและยักษ์ ใหญ่ด้านพลังงานจากจีนด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้นยังได้แสดงการเชื่อมั่นต่อที่ประชุมสมัชชาว่าด้วยการลงทุนขุดค้นน้ำมัน และแก๊สฯในภูมิภาคเอเชียในช่วงก่อนหน้านี้ว่าน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัมพูชากับไทยนั้น มีปริมาณน้ำมันสำรองที่มากถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และมีปริมาณแก๊สฯสำรองอีกมากกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
พร้อมกันนั้น IMF ก็ยังได้ประมาณการด้วยว่า หากมีการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯขึ้นมาใช้ประโยชน์ก็จะทำให้รัฐบาลกัมพูชามีราย รับมากกว่า 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีแรกของการขุดค้นและก็จะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือเมื่อโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของกัมพูชาได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จและได้ ทำการกลั่นน้ำมันเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น
อย่างไรก็ตาม กรณีที่นับเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนขุดค้นของกลุ่มบริษัท ต่างๆ ในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ ก็คือการที่ทางการไทยและกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้ทั้งในส่วนที่เกี่ยว กับการแบ่งปันผลประโยชน์และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันที่เป็นบริเวณกว้าง กว่า 27,000 ตารางกิโลเมตร
แต่ถึงกระนั้น ทางการไทยกับกัมพูชา ก็เคยตกลงในหลักการร่วมกันมาแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้ตกลงที่จะแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางก็ให้แบ่งผลประโยชน์จากน้ำมันและแก๊สฯ ร่วมกันในสัดส่วน 50 ต่อ 50
ส่วนเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลของไทยนั้นก็ได้ตกลงให้แบ่งผล ประโยชน์ให้กับฝ่ายไทยมากกว่าฝ่ายกัมพูชา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ฝั่งทะเลของกัมพูชา ก็ให้แบ่งผลประโยชน์ให้กับฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย แต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับสัดส่วนของการแบ่งผลประโยชน์ กล่าวก็คือฝ่ายไทยเสนอให้แบ่งเป็น 60 ต่อ 40 แต่ฝ่ายกัมพูชานั้นกลับต้องการให้แบ่งเป็น 90 ต่อ 10 เพราะเชื่อว่าเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ฝั่งกัมพูชานั้นมีน้ำมันและแก๊สฯมากกว่า ในเขตที่อยู่ใกล้ฝั่งไทยนั่นเอง
แต่นับจากที่ไทยและกัมพูชามีปัญหาพิพาทกันในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ในเขตปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่กลางปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงขั้นที่ต้องยิงปะทะกันด้วยอาวุธมาแล้วนั้นก็ได้ทำให้ไม่มีการ เจรจากันเกี่ยวกับผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สฯระหว่างกันเกิดขึ้นอีก เลย
ครั้นเมื่อ ฮุน เซน ก็ได้มองไปถึงผลประโยชน์ก้อนโตที่จะได้จากน้ำมันและแก๊สฯ (ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี) แล้วนั้น ทั้งยังหวังว่าผลประโยชน์ที่ว่านี้จะทำให้มีชัยอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้ง สภาบริหารชุมชนท้องถิ่น (Commune Council) ทั่วประเทศในต้นปี 2012 อันจะเป็นการวางฐานคะแนนเสียงไว้เพื่อรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ (National Assembly) ในกลางปี 2013 ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ฮุน เซน นั้นยิ่งจะต้องเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับไทยให้บังเกิดผลให้เร็ว ที่สุด และเพื่อเป็นการทำให้ได้ผลตามที่ต้องการดังกล่าว ฮุน เซน ก็ยอมปรับเปลี่ยนผลประโยชน์ในส่วน 90 ต่อ 10 นั้นมาเป็นสัดส่วนที่ ฮุน เซน เชื่อว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นน่าจะยอมรับได้ ก็คือ 80 ต่อ 20 และส่วนที่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันนั้นก็ให้ คงไว้ที่ 50 ต่อ 50 ต่อไป!!!
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง