บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ก๊าซธรรมชาติในทะเลเกี่ยวข้องกับสมุททานุภาพหรือ


ก๊าซธรรมชาติในทะเลเกี่ยวข้องกับสมุททานุภาพหรือผู้เขียน พลเรือเอก สุนทร กระเทศ


   สมุททานุภาพ (Sea Power)

  • จำนวนและคุณลักษณะของประชากร
  • คุณลักษณะของรัฐบาล
  • เครื่องมือการทำสงครามทางทะเล
  • ใช้ทะเลเป็นฐานสำหรับแผ่อำนาจสู่แผ่นดิน
  • ใช้ทะเลเป็นทางขนส่ง
  • ใช้ทะเลเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรทางธรรมชาติ
  • สรุป








  • สมุททานุภาพ (Sea Power) เป็นส่วนหนึ่งของกำลังอำนาจแห่งชาติ ดังนั้นสมุททานุภาพ ก็คือ ขีดความสามารถของรัฐที่จะสามารถดำเนินการเอาสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์จากทะเลมาใช้ให้เกิดเป็นพลังส่วนหนึ่งของกำลังอำนาจแห่งชาติ
    ปัจจัยแห่งสมุททานุภาพ (The Elements of the Sea Power) มีดังต่อไปนี้
    1. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
    2. ลักษณะเกื้อกูลทางธรรมชาติ
    3. ขอบเขตของดินแดน
    4. จำนวนและคุณลักษณะของประชากร
    5. คุณลักษณะของรัฐบาล
    เครื่องมือแห่งสมุทรนานภุาพมีดังต่อไปนี้
    6. เครื่องมือการทำสงครามทางทะเล (Seagoing Instruments of War)
    7. ฐานทัพต่างๆเพื่อการสนับสนุน (Supporting Bases)
    8. พาณิชย์นาวี (A Merchant Marine)
    9. ท่าเรือที่เหมาะสม (Suitable Harbours)

    จะขอยกตัวอย่างบางหัวข้อที่สำคัญบางหัวข้อให้ทราบเพียงสั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้

    หัวข้อที 4 จำนวนและคุณลักษณะของประชากร
    จำนวนนั้นไม่ค่อยจะมีความสำคัญมากนักแต่ "วัฒนธรรมและคุณภาพของประชากร" ชาติที่เจริญแล้วเห็นว่ามีความสำคัญมากต่อการที่จะพัฒนาประเทศในอนาคต สำหรับประเทศของเรานั้น คุณภาพของนักการเมือง คุณภาพขอข้าราชการ คุณภาพของประชาชน ทั้งระดับกลางและรดับล่าง รวมทั้งความรู้พื้นฐานต่างๆ ยังงมงายลุ่มหลงในสิ่งไร้สาระ ไม่มองเห็นผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ ถูกชักจูงได้ง่าย คัดค้านและวิจารณืทุกเรื่องโยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือรู้ไม่จริง ดังนั้น ถ้าจะดูว่าประเทศใดจะก้าวหน้าเพียงใดนั้นให้ดูที่ "วัฒนธรรมและคุณภาพของประชากร" มีนักการเมืองของเราบางท่านได้กล่าวว่า ผู้แทนราษฎรไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี ผู้ที่มีความรู้ต่ำกว่าก็เป็นผู้แทนราษฎร และเห็นรัฐมนตรีได้ น่าเป็นห่วงว่าในไม่ช้า พม่า เขมร และเวียดนาม คงจะแซ้งขึ้นหน้าเราในทุกๆ ด้านอย่างแน่นอน ทุกวันนี้ผู้คนเบื่อหน่ายกับลัทธิประท้วง ก่อม็อบวุ่นวาย เอากฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย อ้างสิทธิต่างๆ นาๆ มาขัดขว่างการพัฒนาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหลายดคนกังวลว่า เรากำลังเดินตามแบบความวุ่นวายเหมือนฟิลิปินส์ หรืออินโดนีเซีย หรือเปล่า

    หัวข้อที่ 5 คุณลักษณะของรัฐบาล
    สมุททรานุภาพจะเข้มแข็งหรืออ่อนแอขึ้นอยู่กับ รัฐบาลจะสนับสนุนมากน้อยเพียงใด ประเทศเราหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 หัวหน้ารัฐบาลมัีกจะเป็นทหารลก และได้ละเลยไม่สนใจในเรื่อสมุททานุภาพ จนกระทั่งมาถึงสมัย ฯพณฯพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้สนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้มีท่าเรือที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น และกิจการพาณิชย์นาวี ก็เร่ิมดีขึ้นตามลำดับแต่ก้ไดแต่วิงไล่ตามชาติอื่นๆเขา ทั้งๆที่เราควรจะเจริญก้าวหน้าเท่าๆกับ เกาหลีใต้ และไต้หวัน เหตุการณืในอดีตในปี 2533 ผมได้เป็นผู้แทนกองทัพไทยร่วมเดินทางไปกับ ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ฯ นายกรัฐมนตรีไปเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่ ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ฯ และผมได้ปรึกษาข้อราชการกับท่านประธานาธิบดี George Bush ในทำเนียบ White House แล้ว ในระหว่างเดินทางกลับที่พัก ผมได้มีโอกาสคุยกับ ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ฯ ถึงเรื่่องพาณิชย์นาวีที่ท่านเห็นความสำคัญและสนับสนุน ท่านบอกว่าท่านได้เคยมารับราชการในต่างประเทศอยู่หลายประเทศและเป็นเวลานาน เห็นชาติต่างๆ เห็นความสำคัีญของการใช้ทะเลให้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพาณิชย์ นาวี ท่าเรื่อพาณิชย์และความสำคัญของนาวิกานุภาพ ดังนัี้นเมื่อท่านมีโอกาสและมีอำนาจที่จะดำเนินการได้้ท่านจึงสนับสนุนและ ให้ดำเนินการพร้อมทั้งให้จัดหากำลังรบทางเรือด้วย

    หัวข้อที่ 6 เครื่องมือการทำสงครามทางทะเล
    เครื่องมือการทำสงครามทางทะเล (Maritime Warfare) ก็คือ นาวิกานุภาพ (Naval Power) หมายถึงกำลังรบทางเรือและนาวิกโยธิน ซึ่งอนาคตของ นาวิกานุภาพของกองทัพเรือไทยในอนาคตนั้น กองทัพเรือไทยนั้จะต้องใช้ความรู้ในเรื่อสงครามทางทะเล (Maritime Warfare) สงครามทางเรือ (Naval Warfare) โดยการปฎิบัติการในเรื่อง Maritime Operations และ Naval Oerations ซึ่งทหารเรือไทนในปัจจุบันจะต้องเรียนรู้และฝึกฝนกันให้มาก และจะต้องนำไปปฎิบัติทั้งทาง Offensive Operations และ Defensive Operations สำหรับการป้องกันประเทศทางทะเลนั้นจะต้องคำนึงถึง การป้องกันฐานทัพ (Bases) และท่าเรือพาณิชย์ (Ports) ด้วยการป้องกันดังกล่าวก็จะต้องระมัดระวัง และป้องกันในเรื่องการถูกโจมตีทางอากาศ  (Harbours) การโจมตีทางใต้น้ำ (Air attack) (Underwater attack) และทุ่นระเบิด (Mining)
    สมุททานุภาพ นั้นมีผลมาจากกำลังอำนาจแห่งชาติ ดังนั้นกำลังอำนาจแห่งชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ทะเลก็คือ
    10. ใช้ทะเลเป็นฐานสำหรับแผ่อำนาจสู่แผ่นดิน
    11. ใช้ทะเลเป็นทางขนส่ง
    12. ใช้ทะเลเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ
    หัวข้อที่ 10 ใช้ทะเลเป็นฐานสำหรับแผ่อำนาจสู่แผ่นดิน
    เราจะเห็นได้จากเหตุการณืในอดีต เช่น ในสงครามดลกครั้งที่ 1 และ 2 มีทั้งด้านการค้าขายและใช้กำลังทางเรือ และต่อมาก็ดูตัวอย่างได้จากสงครามในอ่าวเปอร์เซีย และล่าสุด สงครามในอัฟกานิสถาน เป็นต้น

    หัวข้อที่ 11 ใช้ทะเลเป็นทางขนส่ง
    ที่เกี่ยวข้องกับทหารเรือก็คือ การรักษาและใช้เส้นทางคมนาคมในทะเลทั้งยามปกติและยามสงคราม และทหารเรือไทยจะต้องฝึกฝนกันมากก็คือ การคุ้มกันและป้องกันกระบวนเรือ Convoy ให้ถึงที่หมายโดยปลอดภัย
    สิ่ง ที่ควรสนใจของเราขณะนี้ก็คือ มาเลเซียกำลังพัฒนาการใช้ทะเลเป็นทางขนส่ง คือ กำลังพัฒนาท่าเรือ Tanjung Pelepas ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับสิงคโปร์ และตั้งใจจะพัฒนาพื้นที่ใกล้ท่าเรือแห่งนี้เป็นฐานปิโตรเคมีและศูนย์กลางการ ขนส่งถ่ายสินค้าทางอากาศด้วยซึ่งสายการเดินเรือ Maersk Sealand ประกาศเมื่อ สิงหาคม ปี 2543 ว่าจะย้ายฐานการขนถ่ายตู้สินค้าปีละ 2 ล้านตู้ต่อปี ซึ่งเดิมขนถ่ายที่สิงคโปร์มายังท่าเรือแห่งนี้และสายการเดินเรือ Ever Green ของไต้หวันก็ประกาศเมื่อ เมษายน ปี 2545 นี้ว่า เมื่อสิ้นสุดสัญยากับสิงคโปร์แล้ว ก็จะย้ายมาขนส่งที่ท่าเรือแห่งนี้ 1.2 ล้านตู้ต่อปี และมาเลเซียกำลังทาบทามบริษัทเดินเรือ ฮันจินของเกาหลีใต้ มาใช้บริการที่ท่าเรือแห่งนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้ามาเลเซียดำเนินการสำเร็จ การใช้บริการที่สิงค์โปร์ก็จะลดน้อยลง ไทยก็จะลดน้อยลงไปด้วย แต่ก็จะไปเพิ่มที่ท่าเรือ Tanjung Pelepas แล้วท่าเรือของเราที่แหลงฉบัง ท่าเรือน้ำลึกที่สงขลา ซึ่งคาดว่าจะปรับปรุงให้เป็นศูนย์กลางการถ่ายสินค้าในภูมิภาคนี้ ก็อาจจะเป็นแค่ความฝันเท่านั้น

    มาเลเซียกำลังดำเนินการในทางรุกในเรื่อง สมุททานุภาพ พร้อมๆกับการปรับปรุงและพัฒนากำลังทางเรือ (Naval Power) แล้ว รัฐบาลไทยและกองทัพเรือไทยจะคิดแก้ไขและหาหนทางปฏิบัติกันอย่างไรในอนาคต

    หัวข้อที่ 12 ใช้ทะเลเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรทางธรรมชาติ
    ทรัพยากรทางทะเลที่น่าจะกล่าวถึงก็คือ
    1.ทรัพยากรทางทะเลประเภทมีชีวิต (Living resource) ซึ่งประเทศไทยเราได้ใช้ประโยชน์อยู่ในขณะนี้นั้นก็คือ การประมงซึ่งแบ่งได้ดังนี้
    1.1 การประมงน้ำลึก (Deep sea fishery)
    1.2 การประมงนอกน่านน้ำ (Offshore fishery)
    1.3 การประมงในทะเลอาณาเขต (Coastal fishery)
    1.4 การเพาะเลี้ยง (Agriculture)
    2. ทรัพยากรทางทะเลประเภทไม่มีชีวิต (Non - living resurce) เช่น ดีบุก เพชร ทองคำ แร่ เหล็ก ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และกำมะถัน เป็นต้น

    ตามข้อ 1 นั้น การใช้ทะเลในด้านการประมงมีความสำคัญและทำรายได้เข้าประเทศให้กับประเทศเรา เป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลก็ทราบดีอยู่แล้ว และได้พยายามสอดส่องดูแลสนับสนุนในเรื่องการประมงให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ตามลำดับและพยายามรักษาสถานภาพอันนี้ไว้โดยไม่ให้ชาติที่เป็นคู่แข่งที่ กำลังไล่ตามมาแซงขึ้นหน้าไปได้

    สำหรับทรัพยากรทางทะเลประเภทไม่มีชีวิต คือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาตินั้น นับว่าเป็นพลังงานที่สำคัญของโลก สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ก๊าซธรรมชาติน่าจะมีบทบาทสำคัญต่อไปในอนาคต ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิงที่สะอาดและราคาถูก เมื่อ เปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่นๆ ดังนั้น จึงมีการรณณรงค์ที่จะให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคของอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศต่างๆ ในโลกนี้หันมาสนใจและดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง คือ
    - ใช้ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติในภาคไฟฟ้า
    - ใช้ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม
    - ใช้ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่ง
    - ใช้ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
    - ใช้ประโยชน์ของก๊าซธรรมชาติในครัวเรือน
    เนื่อง จากเทคโนโลยีด้านการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันได้ก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการคมนาคม การขนส่งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ การใช้น้ำมันของโลกจึงสูงขึ้น ในขณะที่ปริมาณสำรองของน้ำมันของโลกลดน้อยลงการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ กลับพบว่า พบก๊าซธรรมชาติมากกว่าการพบน้ำมัน และมีหลักฐานชี้ว่า แหล่งสำรองน้ำมันของโลก จะยังคงอยู่ในตะวันออกกลาง เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติต่างก้เป็นปิโตรเลียม จะมีสถานะต่างกัน คือ น้ำมันเป็นของเหลว ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติเป็นก๊าซ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ประโยชน์แทนกันได้ ดังนั้นในปัจจุบันนี้ จึงมีการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องยนต์ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงให้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัสเซีย และยุโรป เพราะรัสเซียมีก๊าซธรรมชาติทั้งทางบกและในทะเลมากที่สุดในโลก และยุโรปได้เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้น เพราะก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและราคาถูก โดยส่งท่อก๊าซมาจากรัสเซีย ทะเลเหนือและอัลจีเรีย ซึ่งทำให้ยุโรปสามารถลดการที่พึ่งพาน้ำมันจากกลุ่มโอเปคลงได้มาก สหรัฐฯ เองก็เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นโดยต้องส่งท่อก๊าซมาจากอลาสก้า และซื้อก๊าซธรรมชาติเพิ่มจากแคนนาดา เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ
     - จีน ได้ซื้อก๊าซธรรมชาติจากกลุ่มประเทศในกลุ่มสหภาพโซเวียดเดิม ขณะนี้อยู่ในช่วงการต่อท่อก๊าซธรรมชาติเข้าประเทศ
    - ออสเตรเลีย ซื้อก๊าซธรรมชาติจากประเทศปาปัวนิกินี และต่อท่อก๊าซธรรมชาติระยะ 3,500 กม. มาเชื่อมกับท่อภายในประเทศ
    - มาเลเซีย ซื้อก๊าซธรรมชาติจากอินโดนีเซีย 2 แหล่ง คือ นาตูนา (NATUNA) ของอินโดนีเซีย และมีแผนต่อท่อส่งเข้าเชื่อมกับท่อภายในประเทศ
    - สิงคโปร์ ซื้อก๊าซธรรมชาติจากอินโดนีเซีย 2 แหล่ง คือ แหล่งนาตูนา และแหล่งสุมาตรา และส่งท่อเข้าประเทศรวมความยาวของท่อส่งก๊าซมากกว่า 1,000 กม. โดยเริ่มส่งเข้าประเทศตั้งแต่เดือน มกราคม 2544 ซึ่งสิงคโปร์ได้วางแผนยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันให้ประเทศของตนเป็นศูนย์กลาง การค้าก๊าซธรรมชาติเชื่อมต่อท่อก๊าซธรรมชาติเข้ามาเลเซียและต่อเข้ากรุงเทพ มหานคร โดยคาดว่ากรุงเทพฯ จะเป็นตลาดก๊าซที่สำคัญในอนาคต
    ประเทศ ไทยเคยสนใจที่จะซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง นาตูนา ของอินโดนีเซีย เช่นกันเพราะเป็นแหล่งที่เชื่อว่า มีก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก โดยคิดจะต่อเชื่อมเข้าสู่จังหวัดระยอง โดยอินโดนีเซียเชื่อว่า ประเทศไทยน่าจะเป็นศูนย์กลางของธุรกิจก๊าซธรรมชาติและการค้าของเอเซีย ถ้าประเทศไทยสนใจและดำเนินการอย่างจริงจัง ก็จะทำให้ไทยมีพลังงานสำรองมากขึ้น

    เนื่องจากได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเป็นจำนวนไม่มากนักและเราได้นำเอา ขึ้นมาใช้ประโยชน์กันในปัจจุบัน โดยทำระบบส่งท่อขึ้นที่ระยอง อย่างน้อยๆ ก็จะใช้ได้ประมาณ 50 ปี นอกจากจะดำเนินการวางท่อก๊าซไปใช้ในปริมณฑล และภาคกลางบางส่วนแล้ว ไทยเรายังมีโครงการวางท่อส่งก๊าซไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกด้วย เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนคต อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าประเทศไทยเราได้ทำการซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า จากแหล่ง ยาคานา และเยคากุน เพื่อมาใช้กับโรงไฟฟ้าที่จะสร้างที่ราชบุรี แต่เราก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องหาสำรองไว้อีก ดังนั้นในการที่รัฐบาลได้ตกลงใจเดินหน้าเรื่องก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนา ร่วมไทย - มาเลเซีย (JDA) เป็นการถูกต้องแล้ว เพราะหากโครงการดำเนินตการล่าช้า หรือหยุดชะงักลงจะส่งผลกระทบต่อการร่วมลงทุนระวห่างประเทศมาเลเซีย กับประเทศไทยรวมทั้งผู้ผลิตและผุ้ลงทุนในพื้นที่ JDA โดยตรง เพราะใน phase แรก มาเลเซียจะเป็นผู้ซื้อและใช้ก๊าซจาก JDA นี้ก่อน ขณะที่ผู้ลงทุนที่รัฐบาลโดยองค์การร่วมไทย - มาเลเซีย สนับสุนนให้ไปลงทุนสำรวจผลิตก๊าซในพื้นที่ JDA ก็จะได้รับผลกะรทบกระเทือนจากแผนการลงทุนที่ล่าช้าออกไป ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย อนึ่ง หากเลยระยะเวลาที่มาเลเซียพอจะรับได้แล้วก็อาจมีความจำเป็นต้องทบทวนเปลี่ยน แผนวางท่อก๊าซจาก JDA ไปยังประเทศของตนโดยตรง โดยไม่ผ่านประเทศไทย ก็คงจะทำให้เราหมดโอกาสที่จะนำก๊าซมาขึ้นที่ภาคใต้ตอนล่างนี้เป็นเวลานานนับ สินปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางท่อก๊าซขึ้นที่สงขลา อย่างรวดเร็วตามที่ได้ทำสัญญากันไว้ในระดับประเทศ

    ในการประชุมกลุ่มอาเซียน (ASEAN) ในปี 2538 ที่กรุงเทพ ฯ ได้เน้นถึงความร่วมมือของสมาชิกในการเสริมสร้างความมั่งคงในด้านพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและต่อมาได้มีการประชุมสูงสุดอย่างไม่ เป็นทางการของผู้นำของแต่ละประเทศสมาชิกเมื่อ 15 ธันวาคม 2540 ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ของอาเซียน (ASEAN VISION 2020) ในโครงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าอาเซียนและ โครงการเชื่อมโยง เครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ (Trans ASEAN Gas pipeline) โครงการ เชื่อมโยงเครือข่าวท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้มีคณะกรรมการด้านปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petrolium) หรือ ASCOPE ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ของ ประเทศอาเซียนทั้งหมดจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการและได้แต่งตั้งคณะทำ งานร่วมในการจัดทำแผนแม่บทท่อส่งก๊าซธรรมชาติ "Masterplan of the "Trans ASEAN Gas Pipeline"(TAGP)" ซึ่งคณะทำงานประกอลด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย (เปโตรนาส) ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย (ปตท.) โดยมีมาเลเซียเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ในการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 17 ในปี 2542 ที่ประชุมได้บรรจุแผนดำเนินการของโครงการ TAGP เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนดำเนินการความร่วมมือด้านพลังงานของอาเซียน ปี             2542 - 2547       จากการตรวจสอบปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของกลุ่มประเทศสมาชิกมีปริมาณมากเพียง พอที่จะสอนงความต้องการก๊าซธรรมชาติของสมาชิก (ASCOPE) ทั้ง 7 ประเทศ นอกจากนี้โครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มประเทศสมาชิกมี ความแข็งแกร่งในด้านความมั่นคงทางด้านพลังงานมากขึ้นและลดการพึ่งพาการนำ น้ำมันดิบจากตะวันออกกลางในอนาคตอย่างแน่นอน

    อาจจะเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทยที่สหรัฐฯ และชาติต่างๆในยุโรปบางประเทศเห็นว่า ในอนาคตควรจะพัฒนาเมืองเซียงไฮ้ ของจีน เป็นเมืองที่เจริญก้าวหน้าและใหญ่ที่สุดในโลก และให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายของโลก ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เมืองเซียงไฮ้จึงจำเป็นที่จะต้องมีพลังงานมาสนับสนุน จึงจะมีผู้มาลงทุนฉะนั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นจากากรใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้จีนได้ติดต่อขอซื้อก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง นาตูนา (NATUNA) ของอินโดนีเซีย ได้แล้ว โดยมีหนทางที่จะวางท่อก๊าซอยู่ 4 ทางด้วยกันคือ
    - วางท่อก๊าซผ่านประเทศเวียดนาม
    - วางท่อก๊าซผ่านเขมร
    - วางท่อก๊าซผ่านประเทศไทย
    - ว่าท่อก๊าซผ่านพม่า
    ถ้า จะผ่านเวียดนาม จีนคงไม่ไว้ใจเวียดนามเพราะเคยเป็นศัตรูกัน อาจจะถูกหักหลังเมื่อใดก็ได้ ถ้าจะผ่านเขมรก็ยังต้องผ่านเวียดนาด้วย ถ้าอ้อมไปขึ้นที่พม่าก็ไกลเกินไป ดังนั้นน่าจะผ่านประเทศไทย ถ้าผ่านประเทศไทย เราก็จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน ที่อยู่ดีๆ ก็มีผู้มาลงทุนวางท่อก๊าซที่เป็นท่อหลักมาให้ เราก็สามารถขอต่อท่อก๊าซของเราไปบรรจบแล้วขอซื้อก๊าซมาใช้โดยไม่ต้องลงทุน อะไรมากนัก (เหมือนกับการขอต่อท่อน้ำประปาเข้าบ้าน) และถ้าโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมขาติของอาเซียน (ASCOPE) สำเร็จด้วยแล้ว การใช้ก๊าซธรรมชาติในการพัฒนาประเทศในทุกๆด้านของเราคงจะดีขึ้นและจะมีก๊าซ ใช้เป็นเวลาเกิดกว่า 100 ปี อย่างแน่นอน

    ปัจจุบันประเทศของเราใช้ก๊าซธรรมชาติจากในอ่าวไทยโดยวางท่อหลักขึ้นที่ระยอง ซื้อก๊าซ ฯ จากพม่า เพื่อมาใช้กับโรงไฟฟ้าที่ราชบุรี และร่วมกับมาเลเซียตามโครงการพัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (JDA) เท่านั้น นับว่าเพิ่งจะเริ่มต้น ยังมีระยะอีกยาวนานที่รัฐบาลจะต้องคิดและดำเนินการต่อไปเพราะจะต้งใช้เงิน เป็นจำนวนมากที่จะนำมาลงทุนและดำเนินการต่อไป เราหันกลับมาดูมาเลเซียบ้าง มาเลเซียได้วางท่อก๊าซธรรมชาติทั้งทางด้านตะวันออกและตะวันตกของประเทศ (PETRONAS) และสามารถนำไปใช้ในรัฐต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและเมื่อมาบรรจบกับท่อก๊าซธรรมชาติที่มาจากการพัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (JDA) ด้วยแล้ว ก็จะทำให้การพัฒนาประเศรุดหน้าเร็วกว่าปรเทศเราอย่างแน่นอน ขณะนี้มาเลเซียมีความเข้าใจในเรื่อสมุททานุภาพและการใช้ทะเลให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ซึ่งประเทศไทยจะต้องสนใจคือ
    - มาเลเซีย กำลังพัฒนาในเรื่องพาณิชย์นาวี และปรับปรุงท่าเรือขนส่งสินค้า เช่น ปรับปรุงท่าเรือ Tanjung Pelepas เป็นต้น
    - มาเลเซีย ใช้ก๊าซธรรมชาติในทะเลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเศทดแทนน้ำมัน
    - มาเลเซีย กำลังพัฒนาและเสริมสร้างนาวิกานุภาพ
    สรุป ก๊าซธรรมชาติในทะเลนั้นเป็นปัจจัยตัวหนึ่งในสมุททานุภาพอย่างแน่นอนและส่งผล ขึันไปถึง กำลังอำนาจแห่งชาติ ความมั่นคงของชาติและยุทธศาสตร์ของชาติด้วย ฉะนั้นเราควรให้ความสำคัญกับก๊าซธรรมชาติในอนาคตและเพื่อเป็นฐานในการที่จะ ศึกษาเรื่องสมุททานุภาพ ที่นับว่าจะมีความสำคัญมาขึ้นในอนาคตเช่นกัน

    จากเอกสาร การสัมนาบทบาทของทะเลไทยในการฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจไทย เมื่อ 12 พฤษภาคม 2542 ซึ่งรวบรวมโดย โครงการกฎหมายทะเลแห่งเอเซียอาคเนย์ (SEAPOL) ได้มีการให้ข้อคิดเห็นว่า สมุททานุภาพ นั้นทหารเรือน่าจะรู้เรื่องดีที่สุด เพราะมีการสอนและศึกษากันอยู่ตลอดเวลาที่สถาบันวิชการทหารเรือชั้นสูง เมือ่เป็นเช่นนี้หทารเรือเราก็ต้องสนใจและศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังทุกๆ ประเด็น ตาม 12 หัวข้อในตอนต้น

    ประการสำคัญปัจจุบันนี้ ได้มีนายทหารเรือทั้งนอกราชการและประจำการได้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาแก่ นักการเมือง และพรรคการเมืองแทบทุกพรรค คงจะให้คำปรึกษาและเสนอแนะในเรื่องเกี่ยวกับ สมุททานุภาพ และนาวิกานุภาพ อย่างแนอน ดังนั้นเรามีความรู้ในเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด พรรคไหนได้เข้ามาเป็นรัฐบาลเราก็ต้องเสนอแนะและขอให้เห็นความสำคัญของสมุททา นุภาพอย่าปล่อยปละละเลยเหมือนอดีต และต้องระวังอย่าให้ พม่า เขมร เวียดนาม และมาเลเซีย แซงหน้าเรา

                   




    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

    บทความย้อนหลัง