จีนขอมีเอี่ยวในน้ำมันและแก๊สฯไทย-เขมร
โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
|
|
|
คน
ไทยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจอย่างคลาดเคลื่อนว่ามีเพียงรัฐบาลกัมพูชาของ ฮุน
เซน
เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ได้อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าไปสำรวจหาแหล่ง
น้ำมันและแก๊สธรรมชาติอยู่ในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทยกับ
กัมพูชา
ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแล้วรัฐบาลไทยคือฝ่ายที่เริ่มต้นในการอนุญาตให้
บริษัทต่างชาติทั้งหลายได้เข้าไปทำการสำรวจฯในพื้นที่ดังกล่าวนี้ก่อนที่
รัฐบาลนายพล ลอน นอล ของกัมพูชาจะประกาศเขตน่านน้ำทางทะเลในอ่าวไทยเมื่อปี
1972 ด้วยซ้ำ
กล่าวก็คือรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพลถนอม กิตติขจร
นั้นได้อนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าไปทำการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯใน
พื้นที่ดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมาแล้ว
โดยได้ทำการแบ่งพื้นที่อนุญาตออกเป็น 14 แปลงด้วยกัน
ส่วนทางฝ่ายรัฐบาลกัมพูชานั้นเพิ่งจะเริ่มอนุญาตให้บริษัทต่างชาติเข้าไป
สำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตที่ต่อเนื่องกันในปี 1997 เป็นต้นมานี้เอง
โดยได้มีการแบ่งพื้นที่อนุญาตออกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่จำนวน 6
แปลงด้วยกัน
แต่ถึงกระนั้นก็ดูเหมือนว่ารัฐบาลของ ฮุน เซน
จะมีเป้าหมายที่ชัดเจนกว่ารัฐบาลไทยอย่างมากในอันที่จะขุดค้นเพื่นำเอา
น้ำมันและแก๊สฯดังกล่าวขึ้นมาใช้ประโยชน์ ดังจะเห็นได้จากการที่ ฮุน เซน
ได้หลุด
ปากออกมาในระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้กับผู้จบการศึกษาจาก
สถาบันแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่า เขานั้นได้กำหนดกรอบเวลาให้กลุ่ม Chevron
ดำเนินการขุดค้นและนำเอาน้ำมันหรือแก๊สฯในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ใน
เวลา 12 นาฬิกาของวันที่ 12 ธันวาคม 2012 (ฮุน เซน เชื่อว่า 12-12-12-12
นี้คือเลขมงคลที่จะทำให้ตนสามารถครองอำนาจทางการเมืองได้อย่างยาวนานหรือจน
กว่าชีวิตจะหาไม่) หากไม่เช่นนั้นก็จะถูกถอนสัมปทานในทันที
พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติ
ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชาให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทขึ้นมา
ร่วมทุนกับกลุ่ม Chevron ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯ ดังกล่าวเป็น การเฉพาะ
ทั้งยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO
Engineering จากญี่ปุ่น
เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกใน
กัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO
ตัดสินใจลงทุนก่อสร้างโรงกลั่นฯดังกล่าวในระยะต่อไป ทั้งนี้โดย ฮุน เซน
ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยน้ำมันและแก๊ส
ธรรมชาติเพื่อให้สภาแห่งชาติให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้อีก
ด้วย
ครั้นเมื่อมองเห็นเป้าหมายของ ฮุน เซน อย่างชัดเจนเช่นนี้กลุ่ม Chevron
ก็ได้ร่วมกับกลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่น และกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลีใต้
เพื่อดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯ
ในเขตน่านน้ำของกัมพูชาอย่างขนานใหญ่
และถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการสำรวจในระยะที่
ผ่านมาก็ตาม แต่การที่กลุ่ม Chevron
ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขออนุญาตสัมปทานการขุดค้นจาก
การปิโตรเลี่ยมแห่งกัมพูชาอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2010
เป็นต้นมาแล้วนั้นก็ย่อมจะถือเป็นคำตอบ
ทั้งก็ยังถือเป็นการตอบสนองต่อเป้าหมายดังกล่าวของ ฮุน เซน
ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ทั้งนี้โดยกลุ่ม Chevron พร้อมด้วยกลุ่ม Mitsui และกลุ่ม GS Caltex
ได้ร่วมทุนกันในสัดส่วน 55% ต่อ 30% และ 15% ตามลำดับ
และได้ทำการขุดเจาะเพื่อสำรวจหาน้ำมันและแก๊สฯในเขตสัมปทาน A
ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลของเขตจังหวัดสีหนุวิลล์ทางภาคใต้ของกัมพูชาประมาณ
150 กิโลเมตรนั้น พบว่า 4 ใน 15
หลุมที่ได้ดำเนินการสำรวจนั้นเป็นแหล่งที่คุ้มค่าที่จะลงทุนอย่างยิ่ง
ซึ่งด้วยผลจากการสำรวจฯดังกล่าว ก็ปรากฏว่ามีบริษัทต่างชาติอีกกว่า 10
รายที่ได้หลั่งไหลเข้าไปขออนุญาตสำรวจหาน้ำมันและแก๊สฯ
ในทะเลอ่าวไทยในส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาถือว่าเป็นเขตน่านน้ำของฝ่ายตนนั้นแล้ว
โดยในที่นี้ยังรวมถึงบริษัทในเครือของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
การปิโตรเลี่ยมแห่งสิงคโปร์ กลุ่ม CONOCO, UNOCAL, TOTAL, British Gas
Asia, Idemitsu Oil และยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีนอย่าง China National
Offshore Oil Corp ด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น การที่ทั้งธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ยังได้แสดงการเชื่อมั่นว่าน้ำมันและแก๊สฯในกัมพูชา
และในเขตทับซ้อนทางทะเลกับไทยด้วยนั้นมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึง 2,000
ล้านบาร์เรลและมีปริมาณแก๊สฯสำรองอีกมากกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ซึ่งทำให้ IMF
ได้ประมาณการว่าหากได้มีการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯขึ้นมาใช้ประโยชน์ก็จะทำให้
รัฐบาลของ ฮุน เซน มีรายได้มากกว่า 175
ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีแรกของการขุดค้นและจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,700
ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อได้ดำเนินการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแล้วเสร็จนั้น
ก็ยิ่งทำให้ ฮุน เซน ต้องเร่งผลักดันแผนการนี้ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจลงทุนของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน
พลังงานทั้งหลายในระยะเวลากว่า 3 ปีมานี้
ก็คือความขัดแย้งระหว่างทางการไทยกับทางการกัมพูชาที่ว่าด้วยพื้นที่พิพาทใน
เขตปราสาทพระวิหาร
และการที่ทางการของทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการแบ่งปันผล
ประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัน
ซึ่งกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกว่า 27,000 ตารางกิโลเมตรในเขตอ่าวไทยนั้น
โดยถึงแม้ว่าทางการไทยและกัมพูชา (ทักษิณ กับ ฮุน เซน)
จะเคยตกลงในหลักการร่วมกันมาแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2549
โดยตกลงแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน
โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางก็ให้แบ่งผลประโยชน์กันในสัดส่วน 50 ต่อ 50 ก็ตาม
แต่ส่วนที่ยังตกลงกันไม่ได้
ก็คือเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของไทยและเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง
ของกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายไทยนั้นเสนอให้แบ่งผลประโยชน์เป็น 60 ต่อ 40
คือใกล้ชายฝั่งของฝ่ายไหน
ฝ่ายนั้นก็จะได้ส่วนแบ่งมากกว่าแต่ฝ่ายกัมพูชากลับต้องการให้แบ่งผลประโยชน์
เป็น 90 ต่อ 10 เพราะ ฮุน เซน
เชื่อว่าเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของกัมพูชานั้นมีปริมาณน้ำมันและแก๊สฯ
มากกว่าในเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ฝั่งไทยนั่นเอง
ครั้นเมื่อ ฮุน เซน
ก็ได้มองไปถึงผลประโยชน์ก้อนโตที่จะได้จากน้ำมันและแก๊สฯ
(ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี) แล้วนั้น
ทั้งยังหวังว่าผลประโยชน์ที่ว่านี้จะทำให้มีชัยอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้ง
สภาบริหารชุมชนท้องถิ่น (Commune Council) ทั่วประเทศในต้นปี 2012
อันจะเป็นการวางฐานคะแนนเสียงไว้เพื่อรองรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ
(National Assembly) ในกลางปี 2013 ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ฮุน เซน
นั้นยิ่งจะต้องเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับไทยให้บังเกิดผลให้เร็ว
ที่สุด และเพื่อเป็นการทำให้ได้ผลตามที่ต้องการดังกล่าว ฮุน เซน
ก็ยอมปรับเปลี่ยนผลประโยชน์ในส่วน 90 ต่อ 10 นั้นมาเป็นสัดส่วนที่ ฮุน เซน
เชื่อว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นน่าจะยอมรับได้ ก็คือ 80 ต่อ 20
และส่วนที่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างกันนั้นก็ให้
คงไว้ที่ 50 ต่อ 50 ต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นการรับประกันว่าเป้าหมาย 12-12-12-12
ดังกล่าวจะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้ จริง ฮุน เซน
ก็ยังได้เชื้อเชิญให้ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของจีนคือ China National
Offshore Oil Corp หรือ CNOOC
นั้นให้เข้ามามีเอี่ยวในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในอ่าวไทยด้วย
จึงถือเป็นสิ่งที่กดดันต่อกลุ่ม Chevron
เป็นอย่างมากจนถึงขนาดที่ประธานกลุ่มอย่าง Steve Glick
นั้นต้องบินตรงจากกรุงวอชิงตัน ดีซี
เพื่อมาปฏิบัติภารกิจพิเศษทั้งในไทยและกัมพูชาด้วยการนำทัพนักธุรกิจ
อเมริกันในนามของ US-ASEAN Business Council
ตระเวณไปพบปะเจรจากับทางการกัมพูชาและไทยเมื่อไม่นานมานี้
ส่วนทางฝ่าย CNOOC
นั้นก็ได้ตั้งความหวังที่จะได้รับส่วนแบ่งในผลประโยชน์จากน้ำมันและแก๊สฯใน
เขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชานี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน
โดยถึงแม้ว่าจะมาทีหลังก็ ตาม แต่การที่สื่อของทางการจีนอย่างสำนักข่าว
XINHUA ได้โหมข่าวเกี่ยวกับการครองอันดับ 1
ของจีนในฐานะที่มีมูลค่าการลงทุนในกัมพูชามากที่สุดในช่วงเดียวกันกับทัพนัก
ธุรกิจอเมริกันในนามของ US-ASEAN Business Council
ได้เดินทางเข้าไปพบปะเจรจากับรัฐบาลฮุน เซนนั้น
จึงมีนัยสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำให้รัฐบาลฮุน เซน
ได้มองเห็นความสำคัญของทุนจีนยิ่งกว่าทุนสหรัฐฯได้เช่นกัน
กล่าวคือในขณะที่จีนมีมูลค่าการลงทุนสะสมในกัมพูชามากกว่า 8,800
ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้วนั้น สหรัฐฯยังคงมีมูลค่าการลงทุนสะสมในกัมพูชาเพียง
282 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งด้วยความเป็นจริงในข้อนี้
จึงทำให้จีนมั่นใจว่าสถานภาพของ CNOOC ในสายตาของ ฮุน เซน
นั้นย่อมไม่ด้อยไปกว่ากลุ่ม Chevron จากสหรัฐฯอย่างแน่นอน
และที่แน่นอนยิ่งกว่านั้น
ก็คือการที่มียักษ์ใหญ่แห่งวงการธุรกิจพลังงานของโลกทั้งจากสหรัฐฯและจีน
เข้ามามีเอี่ยวด้วยเช่นนี้
ย่อมหมายถึงเกมการแย่งชิงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยที่จะมี
ความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นด้วย กล่าวก็คือไม่ใช่เรื่องระหว่าง ฮุน เซน กับ
ทักษิณ เหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกต่อไปแล้วนั่นเอง!!! |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น