บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ปิโตรเลียมเขมรเอาใจปู-เหลี่ยม เผยจรกาสวมตอดอดเจรจาลับ



ฟิฟทีนมูฟ — ปิโตรเลียมเขมรเอาใจยิ่งลักษณ์-ทักษิณ เร่งเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ตนลากมั่ว หวังเปิดทางสำรวจน้ำมันแบ่งผลประโยชน์ ออกแถลงการณ์คายเรื่องลับ สุเทพดอดเจรจาลับ ซก อาน หลายครั้งทั้งที่ฮ่องกงและคุนหมิง ต้องการเจรจาเรื่องให้จบภายในรัฐบาลมาร์ค เขมรอ้างคายเรื่องลับเพื่อปกป้องตนเองและทักษิณจากพวก ปชป.
องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การกำกับของนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยกล่าวว่า องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การแนะนำของรัฐบาลกัมพูชามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะแสวงหาหนทางสลาย ความขัดแย้งให้มีความเท่าเทียมและโปร่งใส บนพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของพระราชอาณาจักรไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ (MOU) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งบันทึกความเข้าใจฯ นี้ ได้แจกแจงเกี่ยวกับพื้นที่ที่ต้องกำหนดเขตแดน (Area to be Delimited) และพื้นที่ที่ต้องพัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area)

แถลงการณ์กล่าวต่อว่า บันทึกความเข้าใจฯ ๒๕๔๔ ไม่ใช่เป็นเพียงความเห็นชอบบนกระดาษเท่านั้น หากแต่ประเทศทั้งสองได้ใช้ทรัพยากรและความเอาใจใส่อย่างสูงในการปฏิบัติตาม บันทึกความเข้าใจฯ นี้ โดยตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม อนุกรรมการเทคนิคร่วม และคณะทำงาน ๒ คณะ เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดนและการพัฒนาร่วม
การหารือและเจรจาระหว่างประเทศทั้งสองมีความก้าวหน้าอย่างมากในระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๕๐ ประเทศทั้งสองได้มีข้อเสนอที่แตกต่างกันสองแบบสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) กล่าวคือ ข้อเสนอสลายข้อติดขัด (Break-through Proposal) (แบ่งเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่) เสนอโดยฝ่ายกัมพูชา และข้อเสนอแบ่งพื้นที่พัฒนาร่วมออกเป็น ๓ เขต (Three-zone Proposal) ที่เสนอโดยฝ่ายไทย
แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ ส.ค. ๕๔แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ ส.ค. ๕๔
แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม  ๒๕๕๔
ในระยะสามปีที่ผ่านมานี้ แม้ไม่ใช่การประชุมคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) อย่างเป็นทางการก็ตาม รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ต่อสัมพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อเจรจาปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลหลายครั้ง รวมทั้งมีการประชุมระหว่างสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตรัฐมนตรีกลาโหม ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ที่ จ.กณดาล ประเทศกัมพูชา และการพบกันอย่างลับ ๆ ระหว่างนายสุเทพ และรองนายกรัฐมนตรี ซก อาน ที่ฮ่องกง เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ และที่คุนหมิง วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในระหว่างการพบกันนั้น นายสุเทพได้แจ้งความต้องการอย่างสูงที่จะแก้ปัญหานี้ให้จบในสมัยของรัฐบาล อภิสิทธิ์ การเจรจาลับเกิดขึ้นตามการร้องขอของอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ยืนยันว่าได้รับการแต่งตั้งจากอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นว่าเหตุใดต้องมีการเจรจาเป็นการลับ? ในช่วงของรัฐบาลก่อน ๆ ทุกการเจรจาทำขึ้นอย่างเปิดเผย แต่ถูกกล่าวหาจากพรรคประชาธิปัตย์ว่ามีผลประโยชน์ซ่อนเร้น กัมพูชามีความเคลือบแคลงอย่างมากว่า เหตุอะไรรัฐบาลอภิสิทธิ์มีความจำเป็นต้องทำการเจรจาลับ? ประชาชนไทยหรือสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้ทราบเกี่ยวกับการเจรจานี้ด้วยหรือ ไม่? ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ชี้แจงไปจนถึงกล่าวหา ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่เจรจาแบบเปิดเผยกับกัมพูชา ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงกับกัมพูชา และขัดขวางการดำเนินการเจรจาระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทย ในการเจรจากับกัมพูชา กัมพูชามีความจำเป็นต้องแสดงเรื่องปกปิดอำพรางนี้ เพื่อการปกป้องตนเองของกัมพูชา และ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อต้านการบิดเบือนจากพวกประชาธิปัตย์ในประเทศไทย
รัฐบาลใหม่ นำโดยนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้มีการพบหารือหรือยกข้อเสนอใดกับรัฐบาลกัมพูชา ในการแก้ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนแต่อย่างใด อย่าว่าแต่จะมีข้อเสนอใดเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนผล ประโยชน์ส่วนตัว ดังที่ได้มีการกล่าวหาโดยนางอานิก อัมระนันทน์ สมาชิกสภาฯ ไทย ของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
แถลงการณ์กล่าวในตอนท้ายว่า รัฐบาลกัมพูชายินดีต้อนรับการเริ่มต้นเจรจากันอีกครั้งอย่างเปิดเผยและเป็น ทางการในปัญหานี้ และต่อเนื่องการแก้ปัญหาการงานนี้ให้ได้โดยเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนและประเทศทั้งสอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง