บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แหล่งน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย



แหล่งน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย


แหล่งน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย

http://thaipolitics4all.blogspot.com/2009/08/blog-post_06.html
รัฐมนตรีพลังงานในสมัยรัฐบาลทักษิณ (นายแพทย์พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช) ได้ลงนามให้สัมปทานแหล่งพลังงานดังกล่าวกับบางบริษัทไปเรียบร้อยแล้วบาง แหล่งเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้าหลายปีบางบริษัทที่ได้รับสัมปทานได้จดทะเบียน ที่เกาะเคย์แมนซึ่งเป็นแหล่งฟอกเงินที่คนไทยบางส่วนคุ้นเคยกับชื่อนี้ดี โดยสรุปนักการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากการรัฐประหารได้ใช้ อำนาจแทนประชาชนมาจัดการกับแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลนี้เรียบร้อยไปแล้ว การที่ประเทศไทยเรามีแหล่งทรัพยากรจำนวนมหาศาลไม่ได้หมายความว่าประชาชนชาว ไทยจะมีความมั่งคั่ง อยู่ดีกินดีกันอย่างทั่วหน้า ตราบใดที่การเมืองไทยยังเต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอร์รัปชันแล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าประชาชนจะอยู่ดีกินดี การเจาะสำรวจและอ้างสิทธิในพื้นที่ในอ่าวไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะ ประเทศไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ถึง 25,923 ตารางกิโลเมตรและในพื้นที่เดียวกันนี้เองที่ต่างฝ่ายต่างให้สัมปทานสำรวจขุด เจาะทับซ้อนกันอยู่ด้วย “ปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติใต้แผ่นดินไทยทั้งบนบกและในทะเล ทั้งหมดมีมูลค่าถึง 100 ล้านล้านบาท” เงินจำนวน 100 ล้านล้านบาท(ล้านสองครั้ง)นี้ ถ้าเอามาจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในปีปัจจุบันก็จะได้ประมาณ 62 ปี

บริษัท เชฟรอน (ประเทศไทย) เป็นบริษัทที่เข้ามารับช่วงต่อจากบริษัทยูโนแคลที่คนไทยรู้จักมาก่อน จากการศึกษาจากข้อมูลของทางราชการพบว่า ในปี 2550 บริษัทเชฟรอนถือส่วนแบ่งการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถึง 66% และ 68% ของที่มีการผลิตทั้งหมดในประเทศไทยตามลำดับนี่ยังไม่นับรวมการผลิตก๊าซ ธรรมชาติจากประเทศพม่า (ที่มีประมาณ 27% ของที่ประเทศไทยใช้ทั้งหมด) ดังนั้นบริษัทนี้จึงเป็นบริษัทที่น่าจับตาเป็นพิเศษจากเอกสารของ บริษัทรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2505 ถึง 2550 (45 ปี) บริษัทนี้ได้จ่ายค่าภาคหลวงไปแล้วจำนวน 157,153 ล้านบาท โดยได้ลงทุนไปทั้งสิ้น 515,235 ล้านบาทเอกสารนี้เล่นเล่ห์เหลี่ยมมาก คือไม่ยอมบอกว่าตนเองมีรายได้เท่าใดและมีกำไรเท่าใดแต่ถ้าเราถือว่า บริษัทต้องเสียค่าภาคหลวงร้อยละ 12.6 ของรายได้เราสามารถคำนวณได้ว่าบริษัทนี้มีรายได้ทั้งหมดประมาณ 1.247 ล้านล้านบาทหลังจากเสียค่าภาคหลวงและค่าภาษีทั้งสองชนิดแล้วบริษัทเชฟรอนจะ มีกำไรประมาณ 3.9 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 77 ของเงินลงทุนทั้งหมด กำไรงามขนาดนี้สามารถเป็นคำตอบได้ส่วนหนึ่งแล้วว่าทำไมคนไทยต้องซื้อพลังงาน ในราคาที่แพงมาก ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานในบ้านของเราเอง กำไรงามขนาดนี้ก็สามารถเป็นคำตอบได้ว่าทำไมนักการเมืองจึงให้สัมปทานล่วง หน้ากันนานๆ

เมื่อย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ขุดเจาะน้ำมันของไทยจะพบ ว่ามหาเศรษฐีห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (Harrods) โมฮัมหมัด อัล ฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เข้ามาได้ประโยชน์จากธุรกิจน้ำมันในไทยมานานผ่านปตท.สผ.ซึ่งเป็นบริษัทลูก ของปตท. ก่อนที่ปตท.จะเข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2544 โดย Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกันในช่วงธันวาคม 2542 ว่าหลังจากโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดตั้งบริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32. ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50% ในการลงทุนสำรวจขณะที่ปตท.สผ.ถือหุ้น 50%ที่เหลือ จากการสืบค้นข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จดทะเบียนในเมืองไทยเมื่อ 22 พฤษภาคม 2541 ใช้ชื่อเป็นทางการว่า แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) ต่อมาเปลี่ยนชื่อจนไม่เหลือคราบเดิม เป็นเพิร์ล ออย (Pearl Oil) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในรายชื่อผู้ถือหุ้น) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 เพราะถูกขายให้กับบริษัท Pearl Energy Pte. Ltd. ที่มีฐานอยู่ในสิงคโปร์ สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือเมื่อสืบสาวต้นทางจะพบกลุ่มทุนเทมาเส็ก (Temasek) แห่งสิงคโปร์ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวผ่านทาง Mubadala Development (ข้อมูลจาก Business Week และ RGE Monitor) ซึ่ง “เทมาเส็ก” มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับ “ทักษิณ” และคือบริษัทที่ซื้อหุ้นในชินคอร์ป จากครอบครัว ”ทักษิณ” ด้วยมูลค่ากว่า 73,000 ล้านบาท

บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็น เพิร์ลออย (ประเทศไทย) เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2547 ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เวสท์ ชั้น 10 ณ วันที่ 30 เมษายน 2550 ปรากฏชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 99.99% คือบริษัทเพิร์ลออยล์ (สยาม) คิดเป็น มูลค่า99,994 ล้านบาท หรือเฉลี่ยราคาหุ้นละ 1,000 บาท ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า”เพิร์ลออยล์ (สยาม) จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน อังกฤษ ส่วนผู้หุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น สิ่งที่น่าสังเกตุเป็นอย่างยิ่งก็คือ บริษัทเพิร์ลออยล์ (สยาม) จดทะเบียนที่หมู่เกาะเวอร์จิน อังกฤษ ซึ่งเป็นแห่งเดียวกับ บริษัทแอบเปิลลิส ของ " ทักษิณ" อีกด้วย สำหรับบริษัท Pearl Oil ยังคงได้สัมปทานขุดเจาะน้ำมันอย่างต่อเนื่องเช่นแปลง B 5/27 ที่แหล่งจัสมิน และ B12/32 ณ แหล่งบุษบงในอ่าวไทยเป็นต้น ส่งต่อน้ำมันดิบให้กับ ปตท.สผ.ภายใต้สัญญาซื้อ-ขาย 20 ปี เช่นเดียวกับเมื่อ 8 ธันวาคม 2549 Pearl Oil ก็ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มในแปลง G10/48 บริเวณตอนใต้ของอ่าวไทย เมื่อสมัยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จากข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบว่ากรรมการของเพิร์ลออย ยังเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 8 บริษัท แต่ละบริษัทต่างระบุว่าทำธุรกิจรับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน และมีทุนจดทะเบียนบริษัทละ 100 ล้านบาท บางบริษัทมีรายได้ แต่บางบริษัทยังไม่ได้บันทึกรายได้ โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือเพิร์ลออย ประเทศไทย มีรายได้ปี 2549 รวม 7,071 ล้านบาท กำไร 1,654 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 16.54 บาท
เครือข่าย”เพิร์ลออย (ประเทศไทย)”
-เพิร์ลออย บางกอก
-เพิร์ลออย ออฟชอร์
-เพิร์ลออย (ปิโตรเลียม)
-เพิร์ลออย (รีซอสเซส)
-เพิร์ลออย (อมตะ)
-เพิร์ลออย ออนชอร์
-เพิร์ลออย (อ่าวไทย)

การ สำรวจพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณมหาศาล ตามเขตรอยต่อน่านน้ำของกัมพูชาและไทยในขณะที่เขตแดนทางทะเลระหว่างสองประเทศ เพื่อนบ้านยังไม่ชัดเจน การกำหนดเขตแดนทางทะเลกระทำยากกว่าปักปันเขตแดนทางบกหลายเท่าโชคร้ายมากอ่าว ไทยร่ำรวยด้วยน้ำมันและก๊าซ ในกัมพูชาได้มีการยืนยันการพบน้ำมันดิบและก๊าซเมื่อปี 2547 โดยบริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) จากสหรัฐฯ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสำรวจขุดเจาะ แต่จะยังไม่มีการผลิตในปริมาณมากแต่อย่างไร จนกว่าจะถึงปี 2552 หรือ อีก 2-3 ปีข้างหน้า และ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ใหญ่โตกว่าก็อาจจะตึงเครียดขึ้นในช่วง นั้น กัมพูชาเองอาจจะตระหนักดีว่า คงไม่มีทางที่จะนำเอาน้ำมันดิบในแหล่งนอกชายฝั่งขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้โดย ลำพัง เมื่อปี 2543 จึงได้เสนอต่อประเทศไทยให้ยกเลิกประเด็นเกี่ยวกับอธิปไตยออกไปก่อน และ สองประเทศร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซในเขตน่านน้ำที่เหลื่อมล้ำกัน แต่ประเทศไทยได้ปฏิเสธข้อเสนอของกัมพูชา ซึ่งหลายฝ่ายเข้าใจว่าอาจจะมีสาเหตุจากความไม่ลงรอยกันในประวัติศาสตร์ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับชาตินิยมและพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล จึงต้องขีดเส้นพรมแดนประเทศเสียใหม่ โดยใช้เส้น Lat-Long ที่ลากจากจุดดินแดน "เขาพระวิหาร" คำตัดสินของศาลโลก เป็นคำสั่ง แต่ไม่มีบทลงโทษ ต่อผู้ไม่ปฏิบัติตามยกตัวอย่างเช่นกรณี UN และศาลโลกให้อิสลาเอลคืนดินแดนแก่ปาเลสไตน์ อิสลาเอลนอกจากจะไม่ปฏิบัติตามแล้วยังไปตั้งบ้านเรือนเอาทหารไปฆ่าเจ้าของ ดินแดนก็ไม่เห็นว่า UN จะลงโทษอะไรนอกจากปล่อยให้ชาวปาเลสไตน์ตายไปทุกวันปรากฏชัดตามข่าวดังนั้น ... การที่ใครก็แล้วแต่อ้างว่าต้องฟังคำสั่งศาลโลกเพราะเราไม่ได้อยู่ในโลกคน เดียวแม้กระทั่งการตัดสินของศาลโลกที่ให้เขมรเป็นเจ้าของปราสาทเขาพระวิหาร นั้นก็ไม่ชอบด้วยหลักฐานทั้งปวง มันมีที่ไหนในโลกเมื่อตัดสินว่าเขมรเป็นเจ้าของเขาพระวิหารแต่เจ้าของบ้าน ต้องปีนเข้าทางหน้าต่าง แล้วมาบอกว่าไทยไม่ใช่เจ้าของเดินขึ้นบ้านทางบันไดเปิดประตูเข้าบ้านมาเป็น พันปี ทรัพย์อันได้โดยมิชอบ ก็เป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้นตามหลักสากลทั้งโลกเขาก็ใช้กฏหมายนี้ ผู้ที่คิดว่าเขาพระวิหารเป็นของเขมรคิดผิดคิดใหม่ได้ กรณีที่มีความพยายามให้ไทยต้องยอมรับว่าเขาพระวิหารและพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของเขมรนั้น ก็เพราะว่าเมื่อลากเส้น Lat - Long ลงไปแล้ว ก็จะครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนทางทะลที่เป็นปัญหาว่าเป็นของไทยหรือของเขมรนั้น กลายเป็นของเขมรโดยสมบูรณ์ซึ่งจะไม่เป็นปัญหาในอนาคต "ยิงปืนนัดเดียว ได้นกทั้งฝูง" หัวใจส่วนหนึ่งอยู่ที่เกาะกูดซึ่งเป็นอธิปไตยของไทยแต่ปัจจุบันเกิด เหตุการณ์แบบที่เขาพระวิหารเพราะมีเขมรอพยพเข้าไปอยู่ส่วนปลายเกาะเต็มไปหมด และเริ่มมีการอ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรเพื่อเอื้อประโยชน์ในการณ์ลากเส้น แผนที่ทะเล ซึ่งเป็นชั้นเชิงในการอ้างแผนที่ฝรั่งเศสเขียนฉบับเดียวกับเขาพระวิหาร แต่ทั้งหมดยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการสำรวจและผลิตได้ เนื่องจากมีพื้นที่เส้นแบ่งเขตที่ต่างล้ำเข้ามาในพื้นที่ของกันและกันหรือ ที่เรียกว่า Over Lapping Area ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงวันนี้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกัมพูชาเองก็ได้ให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะและผลิตเช่น เดียวกับประเทศไทยโดยมีข้อสงสัยกันว่าบริษัทเชฟรอนฯจะเป็นผู้ได้รับสัมปทาน รายใหญ่ที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเชฟรอนฯเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ ทับซ้อนทั้งจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา

จากการบรรยายของ TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 18 มกราคม 2006 ระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียมของอาเซียนครั้งที่ 4 ระบุว่าอ่าวไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน มีการผลิตจำนวนมากนอกชายฝั่ง โดยปัจจุบันมีเชฟรอนได้รับสัมปทานจากกัมพูชาอนุญาตขุดเจาะและยังมีบริษัทจาก ไทยคือบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ในเครือ ปตท.ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd. ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ.ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชาและกำลังแก้ไขปัญหาเรื่อง เส้นแบ่งเขตทางทะเลหรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีก พื้นที่หนึ่งที่สำคัญกว่านั้น ทางการกัมพูชายังมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อสำรวจและวิจัยแหล่งพลังงานทั้งทางใต้ดิน และดาวเทียม บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และเบื้องต้นว่าในบริเวณทะเลสาบหรือโตนเลสาบใจกลางประเทศ ยังมีแนวโน้มของแหล่งน้ำมันดิบที่เรียกว่า Permian Carbonates ซึ่งพบทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกเหนือจากแถบชายฝั่งที่มีแหล่งก๊าซอีกหลายแห่งโดยเฉพาะแถบจังหวัดเกาะกง ของกัมพูชาและจังหวัดทะเลชายฝั่งทางตอนใต้ซึ่งพบแหล่งน้ำมันนั่นหมายความว่า เกาะกง กัมพูชาเป็นแหล่งน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลกที่ยังคงเหลืออยู่และยังไม่ได้ถูกขุด เจาะ ย่อมเป็นที่หมายปองของนานาประเทศทั่วโลก

กัมพูชากลายเป็นประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดที่มีการประเมินว่ากัมพูชาจะเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน-ก๊าซรายใหญ่รายใหม่ ของโลก หลังจากที่เชฟรอน (Chevron Corporation) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาประกาศเมื่อปี 2548 ว่าได้ค้นพบบ่อน้ำมัน-ก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางใต้ของประเทศกัมพูชา โดยรายงานว่าบ่อขุดเพื่อการสำรวจ 5 จุด พบน้ำมันถึง 4 จุด ในพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตรของเชฟรอน จากเดิมที่เคยคาดว่าจะมีน้ำมันราว 400 ล้านบาเรล แต่อาจจะมีมีน้ำมันสำรองมาก 2 เท่าถึง 700 ล้านบาเรล รวมถึงก๊าซธรรมชาติอีกระหว่าง 3 ล้านล้าน ถึง 5 ล้านล้าน ลูกบาศก์เมตร มีการเข้ามาสัมปทานโดยตรงคือมีบรรษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ในโลก มาเข้าคิวกันขอใบอนุญาตเพื่อขุดน้ำมันขึ้นมาใช้ยาวเหยียด ปัจจุบันแปลงสัมปทานของรัฐบาลมี 5 แปลง ขณะนี้กำลังแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ระหว่างบริษัท Total SA ของฝรั่งเศส กับชีนุ๊ก (China National Offshore Oil Corp - CNOOC) ของจีน เพื่อขอสัมปทานในแปลง B เนื้อที่ 6,557 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ บริษัทจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส คูเวต ไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียและสิงคโปร์ กำลังเข้ามาขอประมูลกันอย่างเข้มข้น แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดว่า รัฐบาลกัมพูชาจะเอาแปลงขุดในทะเล ทั้ง 6 แปลง ออกมาเปิดให้ประมูลจริงมากน้อยแค่ไหน

ประเด็นสำคัญตอนนี้มี 3 ประเด็นที่น่าสังเกตุเกี่ยวกับอนาคตพลังงานของกัมพูชาคือ
1.) กัมพูชายังอุบไต๋ปริมาณน้ำมันในบล็อก A ซึ่งไม่แน่
2.) สัญญาการผลิตน้ำมัน-ก๊าซที่ทำกับรัฐบาลที่มีพรรค CPP นำใด ๆ ในกัมพูชาจะต้องทำผ่านบริษัทโซกีเม็กซ์ (Sokimex) ของคนเชื้อสายเวียดนาม ที่ใกล้ชิดกับฮุนเซน ปัญหาในอนาคตคือการครอบงำและการคอรัปชั่น
3.) กัมพูชายังตกลงในการแบ่งสรรผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจทางทะเลที่ทับซ้อนกับไทย ไม่ได้นี่คือชนวนสำคัญที่อนาคตหากเคลียร์ประเด็นเรื่องทับซ้อนไม่ได้ก็อาจจะ เกิดสงครามแย่งน้ำมันก็ได้ ประกอบกับฐานะภาพทางการเมืองของไทยยังไม่สามารถต่อรองผลประโยชน์กับกัมพูชา ได้เมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่แห่ให้การสนับสนุนประเทศกัมพูชาอย่างไม่ ลืมหูลืมตา คนวงในอุตสาหกรรมการสำรวจขุดเจาะในกัมพูชากล่าวว่าความจริงแล้วแหล่งที่คาด ว่าจะมีก๊าซและน้ำมันดิบมากที่สุดก็คือเขตเหลื่อมล้ำทางทะเลในอ่าวไทยที่ กัมพูชายังมีข้อพิพาทกับไทย กระทั่งล่าสุด Dr Abdullah Al Madani นักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาเอเชียศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งคูเวตได้กล่าวถึง ประเด็นนี้ในบทความชิ้นหนึ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์กัล ฟ์นิวส์ ได้ออกเตือนว่ากรณีพิพาทดินแดนระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดนี้ อาจจะปะทุรุนแรงขึ้นได้เมื่อมีอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชาพัฒนาไปอย่างจริง จังและ กัมพูชา ควรจะพยายามให้มากขึ้นในการเจรจาแบ่งปันเขตแดนทางทะเลกับไทยให้แล้วเสร็จโดย เร็ว นักวิชาการในตะวันออกกลางได้แสดงความวิตกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ไทย - กัมพูชา อาจจะมีความขัดแย้งจนถึงขั้นเปิดสงครามย่อยๆ ขึ้นได้ ในยุคที่เริ่มมีการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในกัมพูชา และเส้นแบ่งพรมแดนในเขตอ่าวไทยยังไม่ชัดเจนพร้อมทั้งแนะนำให้ทั้งสองประเทศ รีบเจรจาหาทางปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็วทั้งนี้ ในภาพรวมประเด็นเรื่องความซับซ้อนของเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยบริเวณนี้มี 4 ประเทศที่เกี่ยวข้องกัน คือ ไทย เขมร มาเลเซีย และเวียดนาม ทับกันไปทับกันมา แต่สำหรับ พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ Joint Development Area : JDA อันเป็นปมปัญหาให้ต้องเจรจากันดังกล่าวนี้มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร อันเป็นแหล่งที่คาดว่าจะมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่อุดมสมบูรณ์ที่ สุดแหล่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์ในอนาคตสำหรับความเป็นมาก่อนหน้านี้

ทักษิณ ได้เตรียมการในเรื่องนี้มานานแล้วด้วยการร่วมมือกับโมฮัมหมัด อัล ฟาเยดเจ้าของห้างแฮร์รอดส์อันโด่งดังในอังกฤษ อัล ฟาเยดไม่ได้เป็นแค่เจ้าของห้างหรูแต่ยังมีธุรกิจพลังงานที่เข้ามาทำร่วมกับ ปตท.สผ. และนี่คือสาเหตุว่าทำไมทักษิณจึงต้องพาอัล ฟาเยดเดินทางไปดูงานถึงเขมร ไม่ใช่การร่วมลงทุนในธุรกิจกาสิโนอย่างที่เป็นข่าวเพราะระบบสาธารณูปโภคใน เกาะกงก็ยังไม่พร้อม เกาะกงจึงเป็นเพียงแค่ข่าวบังหน้าเพราะเบื้องหลังก็คือความร่วมมือในการรุก เข้าทำธุรกิจพลังงานในกัมพูชาและทักษิณจึงต้องเป็นเจ้าของปตท.ซึ่งมีความ พร้อมในเรื่องทั้งขุดเจาะและจัดจำหน่าย ดังนั้นปตท.จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจพลังงานในเขมรเป็นจริงโดยมี เครือข่ายธุรกิจพลังงานของ อัล ฟาเยด ร่วมเป็นกองหนุนถ้าเลือกได้เป้าหมายทำสัญญาให้เช่าเกาะกงของทักษิณกับเขมร ที่มีรัฐบาลฮุนเซนเป็นคู่สัญญา หาใช่ทำในนามรัฐต่อรัฐแต่เป็นการทำในนามนิติบุคคลโดยที่เกาะกงจะได้รับเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีทำให้รายได้ไม่ต้องเข้ารัฐบาล กัมพูชาและเป็นเขตปกครองพิเศษนอกเหนืออธิปไตย ความหอมหวนของแหล่งพลังงานในกัมพูชาจึงเป็นขุมทองขนาดใหญ่ที่ทักษิณยอม เดิมพันได้ทุกอย่างไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเขาพระวิหารมรดกโลกอันมีค่า ทั้งๆ ที่ทักษิณเองก็รู้ดีว่าจะทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดน และอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ

ในอดีตรัฐบาลทักษิณได้บรรลุ ข้อตกลงในการเจรจาปัญหาเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการ แอบอ้างว่าไทยนั้นยอมรับแผนที่ที่เขมรใช้โดยฝรั่งเศสได้จัดทำไว้โดยขีดสัน พาดผ่านกลางเกาะกูดซึ่งผิดวิสัยในเรื่องของการปักปันเขตแดนเพราะแต่ละเกาะจะ ต้องมีพื้นที่โดยรอบเสมอ ด้วยการมีบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับ กัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภายังผลให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้าน เทคนิคไทย-กัมพูชาประชุมกันครั้งแรกเมื่อ เดือนธันวาคม 2544 และมีการกันพื้นที่ในการเจรจาออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือขึ้นไป ให้แบ่งเขตทางทะเลอย่างชัดเจนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้
2. พื้นที่ทับซ้อนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือลงมา ให้พัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันกระทั่งการเดินทางไปราชอาณาจักรกัมพูชา ของอดีตนายกฯ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ได้มีกระบวนการเร่งรัดให้การเจรจาปักปันเขตแดนทางทะเลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพียงเพื่อหวังให้มีการเจรจาเปิดสัมปทานขุดเจาะก๊าซและน้ำมันในพื้นที่พัฒนา ร่วม หรือ JDA เป็นหลัก ปรากฎว่าการเจราจาเรื่องประโยชน์ในการสำรวจและขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (JDA)ระหว่าง 2 ประเทศ ไม่สามารถตกลงกันได้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยนั้นแถลงว่า "ตามข้อเสนอเดิมจะแบ่งพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาเป็น 3 เขต โดยพื้นที่ในส่วนที่อยู่ตรงกลางจะแบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากขุดเจาะปิโตรเลียม 50:50 ซึ่งไม่มีปัญหาอะไร ส่วนพื้นที่อีกสองเขตทางด้านซ้ายและด้านขวาจะให้มีสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์ ที่ต่างออกไป คือ ทางกัมพูชาเสนอให้แบ่งผลประโยชน์ 90:10 ขณะที่ไทยเสนอว่าควรแบ่งผลประโยชน์ 60:40 โดยแถลงต่อว่าอดีตนายกฯ ระบุในที่ประชุมว่าจะพยายามเจรจากับนายกฯ ฮุนเซนเพื่อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในพื้นที่ ทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวให้เร็วที่สุดเพื่อให้เพียงพอกับการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในประเทศ ขณะที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากทั้งสองบรรลุข้อตกลงแล้ว ทางฝ่ายไทยจะให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เข้าไปสำรวจและขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติทันที อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยเตรียมเสนอปล่อยเงินกู้ที่มีเงื่อนไขผูกพันวงเงิน 1.3 พันล้านบาท ให้กับกัมพูชาสำหรับสร้างถนนในกัมพูชาสายสะงำ-อลองเวง-เสียมราฐ ซึ่งรักษาการนายกฯ ระบุว่าการปล่อยกู้ดังกล่าวจะช่วยสร้างประโยชน์ให้ไทยในด้านการท่องเที่ยว เพราะเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางไปสู่ "นครวัด"แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกัมพูชา และยังสนับสนุนสนามบินสุวรรณภูมิทางอ้อมด้วย "การที่ไทยจะให้ความช่วยเหลือโดยเสนอปล่อยเงินกู้ สร้างถนนหมายเลข 67 วงเงิน 1.3 พันล้านบาท การขายกระแสไฟฟ้าให้กับกัมพูชารวมทั้งการปักเสาไฟฟ้าไปยังเขตกัมพูชาน่าจะ เป็นข้อแลกเปลี่ยนที่จะช่วยโน้มน้าวกัมพูชาที่จะทำให้การเจรจาแบ่งปันผล ประโยชน์ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของสองประเทศสำเร็จได้" นั่นคือข้อสรุปการเจรจาล่าสุดในรัฐบาลที่แล้ว แต่ปัญหานี้กำลังรอประทุขึ้นมาหากมีการประกาศเรื่องผลประโยชน์ที่จะมีขึ้น ของประเทศกัมพูชาในอนาคตอันใกล้โดยเฉพาะยังมีขุมทรัพย์ในแปลง B ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งกัมพูชา 250 กม.ไปทางตะวันออก ติดกับเขตน่านน้ำไทยในอ่าวไทยโดยแปลงสำรวจขุดเจาะที่ว่านี้ ทอดไปทางตะวันออกเฉียงใต้ทางแนวน่านน้ำของกัมพูชาซึ่งเป็นแหล่งที่มีศักยภาพ ในปริมาณสำรองน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสูง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,551 ตารางกิโลเมตรคาดว่ามีน้ำมันและก๊าซอยู่หลายร้อยล้านบาร์เรลขณะเดียวกันก็ เป็นห่วงกัมพูชาที่มีคนปรามาสไว้เช่นกันว่า ประเทศนี้จะมีทางรอดพ้นจาก "คำสาปน้ำมัน" (Oil Curse) ได้อย่างไร เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยบางประเทศ เช่น ไนจีเรีย ที่เข้าสู่ความยุ่งยากหลังการพบน้ำมันดิบมหาศาล แต่มีเงินเข้าคลังเพียงน้อยนิด มิหนำซ้ำยังเป็นหนี้หลายแสนล้านดอลลาร์ และจะมีการเปลี่ยนประเทศกัมพูชาที่ยากจนมานานหลายทศวรรษกลายเป็นประเทศที่ เรียกว่า "เคลปโตเครซี่" (Cleptocracy) หรือประเทศที่ "ปกครองโดยพวกหัวขโมย" ตามความหมายที่ไม่เป็นทางการนั้น คำๆ นี้หมายถึงระบอบที่มีรัฐบาลทุจริตคอร์รับชั่นในการบริหารจัดการเงินงบประมาณ แทนที่จะมุ่งนำไปพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนให้พ้นจากความยากจนแต่เงินงบ ประมาณถูกถ่ายเทเข้ากระเป๋าหรือบัญชีเงินฝาก เพื่อความร่ำรวยส่วนตัวของผู้นำนักการเมืองและกลุ่มที่มีพลังทางการเมือง ทั้งหลาย

ไทยกับกัมพูชาก็ได้ตกลงในหลักการร่วมกันนับตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2006 เป็นต้นมาแล้วว่าให้มีการจัดแบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลซึ่งมีอาณาบริเวณกว้าง เกือบถึง 27,000 ตารางกิโลเมตรในอ่าวไทยนี้ออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน โดยส่วนที่อยู่กึ่งกลางของเขตทับซ้อนนั้นก็ให้แบ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับจาก การขุดค้นน้ำมันและแก๊สธรรมชาตินั้นเป็นสัดส่วน 50 ต่อ 50 ส่วนเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของไทยนั้นก็ให้แบ่งเป็นผลประโยชน์ให้กับ ฝ่ายไทยมากกว่าฝ่ายกัมพูชา ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของกัมพูชานั้นก็ต้อง แบ่งผลประโยชน์ให้กับฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย แต่สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วม กันไม่ได้ในการเจรจาครั้งนั้น ก็คือฝ่ายไทยเสนอให้แบ่งผลประโยชน์เป็น 60 ต่อ 40 ฝ่ายกัมพูชานั้นกลับไม่เห็นด้วย เพราะต้องการให้มีการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกันในสัดส่วน 90 ต่อ 10 โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากทางฝ่ายกัมพูชานั้นมี ความเชื่อมั่นว่าในเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของกัมพูชานั้นมีปริมาณ สำรองของน้ำมันและแก๊สธรรมชาติมากกว่าในเขตทับซ้อนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของไทย นั่นเองซึ่งถ้าหากทางการไทยยอมตกลงตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นนี้ก็จะทำให้ รัฐบาลกัมพูชามีรายได้จากการขายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเล ดังกล่าวนี้คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีและยังจะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในตลาด โลกที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังจะถือว่าเป็นรายได้หลักที่มากกว่าผลผลิตมวลรวมภายใน (GDP) ของกัมพูชาในปัจจุบันนี้ด้วย นับตั้งแต่บริษัทเชฟรอน (Chevron Corp) ได้ประกาศการค้นพบน้ำมันดิบหลายฝ่ายได้แสดงความห่วงใยต่อกัมพูชา ประเทศที่มีประชากรเพียง 14 ล้านคนกว่าครึ่งหนึ่งยังมีฐานะยากจนรายได้เฉลี่ยเพียงวันละ 50 เซ็นต์ ด้วยเกรงว่ารัฐบาลของฮุนเซน ที่อยู่ในอำนาจมานานกว่า 20 ปี และ มีข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวง จะไม่สามารถรับสถานการณ์ใหม่ได้ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทน้ำมันจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมทั้งจากประเทศไทยก็กำลังเข้าสำรวจขุดเจาะในแปลงใกล้เคียงกัน บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากจีนคือ CNOOC กำลังเจรจากับรัฐบาลฮุนเซนเพื่อเข้าสำรวจขุดเจาะในแปลงอื่นๆ และ ก็ยังมีบางอาณาบริเวณที่ยังไม่มีการสำรวจ เนื่องจากเป็นเขตทับซ้อนน่านน้ำกับไทยเชื่อกันว่าจะมีการพบน้ำมันดิบอีก จำนวนมากในเขตน่านน้ำกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาณาบริเวณแนวเขตแดนทางทะเล ติดกับประเทศไทยที่เชื่อว่าจะมีมากที่สุด และ ยังไม่มีการเข้าไปเจาะทดสอบ

สำหรับ แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยที่เป็นผลประโยชน์ทับช้อน ไทย-มาเลเซีย บริเวณใกล้ชายฝั่งหน่อยของจังหวัดปัตตานีมีบ่อน้ำมันมากเลย ไกลออกไปอีกหน่อยเป็นบ่อแก๊สจะเห็นแนวท่อแก๊สทับช้อนขึ้นที่ปัตตานีเมื่อ ก่อนเขาแบ่งเค็กแล้วแต่ทำไม่สำเร็จซึ่งสามารถสูบน้ำมันแก๊สมาใช้ได้อีกนับ ร้อยๆ ปี ก็ลองนึกถึงปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็แล้วกัน ทำไมถึงไม่สงบ ขณะเดียวกันไทยเราก็พบแหล่งน้ำมันที่เพชรบูรณ์นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเปิดเผยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้รับแจ้งจากบริษัท แพน โอเรียนท์ นักลงทุนจากแคนาดา ผู้ได้สัมปทานปิโตรเลียมแหล่งวิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ ว่า ผลจากการสำรวจในพื้นที่แหล่งนาสนุ่น พบปริมาณน้ำมันเพิ่มเติมประมาณ 5,000 บาร์เรล/วันเป็นปริมาณที่เพิ่มเติมจากการที่ปัจจุบันมีการผลิตจากแหล่ง วิเชียรบุรีแล้ว 600-700 บาร์เรล/วัน ซึ่งนับเป็นข่าวดีว่าไทยจะสามารถผลิตน้ำมันในประเทศได้เพิ่มเติมจะช่วยลด ภาระการนำเข้าในช่วงน้ำมันแพง โดยปัจจุบันแหล่งน้ำมันบนบกของไทยแหล่งใหญ่ที่สุดคือ แหล่งสิริกิติ์ ในขณะที่แหล่งก๊าซฯ อยู่ที่น้ำพอง ขอนแก่น และ ภูฮ่อม จังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนี้ ได้เร่งรัดการสำรวจและผลิตในแหล่งอื่นๆ โดยในการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 20 ที่เปิดทั้งหมด 65 แปลง คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในการสำรวจเพิ่มเติมอีกไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ล้านบาทใน 3-4 ปีนี้ ปตท.และกลุ่มทุนอดีตนายกฯทักษิณกลายเป็นเรื่องเดียวกันอย่างแทบไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อเพราะ พลังงานเป็นสิ่งมีค่า เป็นขุมทองที่ทักษิณยอมแลกได้ทุกอย่างแม้ว่าจะทำให้ไทยต้องสูญเสียเขาพระ วิหารให้กับเขมรและอาจต้องสูญเสียดินแดนและอธิปไตย ก็เพื่อแลกกับแหล่งพลังงานในอ่าวเขมรแหล่งพลังงานที่เหลืออยู่แห่งเดียวใน โลกปริศนานี้กำลังถูกเฉลยออกมาว่า ทำไมทักษิณถึงต้องมีเอี่ยวในปตท.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง