บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง…เข้าข่ายเลือกปฏิบัติขัดรัฐธรรมนูญ


  จาก การที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติให้ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯในส่วนของเบนซิน 95 เบนซิน 91 และน้ำมันดีเซล ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 8.02 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 ลดลง 7.17 บาทต่อลิตร และดีเซลลดลง 3 บาทต่อลิตร ซึ่งมีผลตั้งแต่เวลา 06.00 น. ของวันที่ 27 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา ทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลลดลงชนิดฮวบฮาบทันที ในทางการเมือง "ถือว่าได้กับได้" ยิ่งทำในช่วงที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกทรงๆ อย่างนี้ ทั้งรัฐบาลและผู้บริโภคได้เนื้อๆ แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นเพียงแค่พฤติการณ์ผักชีของรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อ ไทยเท่านั้น เพราะนโยบายดังกล่าวอย่างเก่งก็ทำได้แค่ไม่เกิน 6 เดือน มิได้ทำจริงตามที่ได้หาเสียงไว้ว่าจะต้อง “ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ทันทีหลังจากได้เป็นรัฐบาล
     แต่ประชาชนทั่วไปผู้ใช้รถใช้ถนนอาจจะระริกระรี้ดีใจคิดว่าเป็นฝีมือของ รัฐบาลนี้จึงทำให้ได้ใช้น้ำมันราคาถูกลง แท้ที่จริงแล้ว “ส่วนต่าง” ของราคาน้ำมันที่แท้จริงนั้นเป็นของผู้ใช้รถใช้น้ำมันมาตั้งแต่ต้นนานแล้ว แต่รัฐบาลใช้อำนาจทางปกครองยึดเอาของพวกเราไปตั้งนานแล้วต่างหาก ตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นมาตั้งแต่ปี 2516 แต่ในช่วงนั้นไม่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนแบบถาวร จนกระทั่งมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2546 เป็นต้นมาจึงมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอย่างถาวร โดยผู้ใช้รถนั่งทำตาปริบ ๆ ทำอะไรไม่ได้ ปล่อยให้รัฐบาลใช้อำนาจเอาเงินจากกระเป๋าผู้ใช้รถไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการ เมืองโดยพละการ
     แม้ตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2516 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการออกคำสั่งในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก ครั้งที่ 1 (พ.ศ.             2516-2517      ) แต่ก็ควรดำเนินการในช่วงสั้น ๆ ที่มีปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมัน มิใช่ปล่อยให้มีการเก็บกันยาวเอาเงินของผู้ใช้รถไปปู้ยี่ปู้ยำได้ตามอำเภอใจ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2546 (สมัยนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี)
     คิดกันง่าย ๆ เงินส่วนต่างของน้ำมันเบนซินกว่า 8 บาทที่ลดลงมา ในสมัยก่อนรัฐบาลยึดเอาของผู้ใช้รถที่เติมน้ำมันเบนซินไปทุกลิตรที่เติมกว่า 28 ล้านคัน เพื่อนำไปเกลี่ยให้กับผู้ใช้รถที่เติมน้ำมันดีเซล ได้ผลาญน้ำมันกันได้อย่างย่ามใจ เพราะมีพวกรถที่เติมน้ำมันเบนซินคอยออกเงินส่วนต่างให้ และชดเชยให้กับรถที่เติมก๊าซธรรมชาติทั้ง LPG และ NGV โดยอ้างว่าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการช่วยลดต้นทุนการผลิต จะได้ไม่ต้องทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้น ทั้ง ๆ ที่รถบรรทุกที่เติมน้ำมันดีเซลนั้นมีจำนวนเพียง 2,419 คน (ไม่รวมรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งอีก 9.7 แสนคัน) เมื่อเปรียบเทียบกับรถที่เติมน้ำมันดีเซลที่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีถึง 5 ล้านกว่าคัน หรือรถบรรทุกที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ กับรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติที่เป็นรถยนต์ส่วนบุคคล จึงถือได้ว่านโยบายการมีกองทุนน้ำมันเป็นการนำเงินของผู้ใช้รถเบนซินไป ประเคนให้คนใช้รถดีเซลและก๊าซธรรมชาติ อย่างไร้ความเป็นธรรมโดยชัดแจ้ง
     ปัญหาความไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรมเหล่านี้ ถ้าจะถามรัฐบาลว่ารู้ไหม คำตอบคือ รู้แต่เพราะรัฐบาลถืออำนาจรัฐอยู่ จึงผยองที่จะใช้อำนาจทางปกครองดำเนินการใด ๆ ก็ได้ หากทำไปแล้วได้ประโยชน์ทางการเมือง เป็นที่พอใจของนายทุนเจ้าของรถขนส่ง รถบรรทุก แม้จะละเมิดกฎหมาย ก็คงคิดว่าไม่มีใครกล้ามาแตะต้องอำนาจรัฐเป็นแน่แท้ หรืออาจจะไม่มีปัญญาที่จะจัดการแก้ไขได้ เพราะมีข้อยุ่งยากเยอะและอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองก็เลยไม่ บริหารจัดการเสียเลยดีกว่า
     ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 30 บัญญัติไว้ว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม” จะกระทำมิได้ แต่หลังจากที่รัฐธรรมนูญ 2550 ประกาศใช้ รัฐบาลทุกสมัยที่ผ่านมาต่างก็รู้แต่แสร้งเอาหูทวนลม เพราะไม่มีใครกล้าท้วงติง จึงได้ใจเสมอมา ล่าสุดยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือให้กับนักการเมือง ที่เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ใช้เป็นเครื่องมือประกาศ วิสัยทัศน์ 2020 ณ สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานว่า หากได้เป็นรัฐบาลจะประกาศ “ยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทันที” แต่ ณ วันนี้สัจจะวาจาดังกล่าวกลายเป็นโอละแม่ไปแล้ว เมื่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกลายเป็นเครื่องมือหาเสียงให้กับนักการเมือง ฝ่ายรัฐบาลไปแล้ว เพื่อสร้างประชานิยมบนความเดือดร้อนและเสียหายของประชาชนหลายประการ
     เรื่องดังกล่าว นอกจากจะเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับผู้ใช้รถเบนซินตลอดระยะเวลาที่ ผ่านมาเนิ่นนานแล้วก็ตาม แต่การใช้นโยบายลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยไม่ยกเลิกกองทุนฯ ดังคำหาเสียง กำลังกลายเป็นปัญหาใหม่ให้รัฐบาลต้องแก้ไขเหมือนลิงแก้แหอีกครั้ง เพราะต้องแลกกับความสูญเสียอีกหลายๆ อย่างตามมา
     ประการแรก "นโยบายประหยัดพลังงาน" ที่รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ สู้อุตส่าห์รณรงค์กันมาเป็นสิบๆ ปีต้องพังทลายลงอย่างไม่เป็นท่า ถือว่าสูญเปล่า เพราะถ้าราคาน้ำมันราคาถูกลงเท่ากับยิ่งส่งเสริมให้คน "ไม่ประหยัด" อีกต่อไป ซึ่งยิ่งใช้รถมากก็ยิ่งก่อมลพิษ ก่อโลกร้อนมากตามมา ที่สำคัญเราต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศเกือบ 100% สูญเสียเม็ดเงินนำเข้าปีละเกือบล้านล้านบาท หรือครึ่งหนึ่งของงบประมาณประจำปีเลยทีเดียว ดังนั้น เกือบทุกประเทศทั่วโลกใช้นโยบายราคาน้ำมันให้แพงกว่าความเป็นจริง เพื่อประหยัดพลังงาน แต่เขาจะใช้วิธีเก็บ "ภาษีสรรพสามิตสูงๆ" แทนการหักเงินเข้ากองทุนเหมือนบ้านเราที่รั่วไหลเข้ากระเป๋านักการเมืองได้ ง่าย
     ประการต่อมา น่าเสียดายนโยบายพลังงานทดแทน "แก๊สโซฮอล์" ที่ส่งเสริมกันมากว่าทศวรรษต้องสูญเปล่า เมื่อราคาแก๊สโซฮอล์ใกล้เคียงเบนซินคนจะหันไปใช้เบนซินเหมือนเดิมเพราะคุ้ม ค่ากว่า เคยมีผลวิจัยระบุว่าตราบใดที่ราคาแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซินไม่ถึง 2.50 บาท/ลิตร ใช้เบนซินคุ้มกว่าจึงเป็นที่มาของราคาแก๊สโซฮอล์ถูกกว่าเบนซินมากๆ เป็นการจูงใจให้คนมาใช้ สัดส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์เทียบกับเบนซินที่เคยสูงถึง 70% แต่วันนี้ลดลงฮวบฮาบ ทุกปั๊มต่างยืนยันว่าทันทีที่นโยบายนี้มีผลคนเลิกเติมแก๊สโซฮอล์หันมาเติม เบนซินกันทันที แม้ "ปั๊มบางจาก" ที่เป็นหัวหอกพลังงานทดแทนและบริษัทน้ำมันค่ายอื่นๆ จะเสียหายแต่ก็ยังพอปรับตัวได้ทันอีกสักพักก็หันมาขายเบนซินเหมือนเดิม แต่ที่เสียหายและกลับลำได้ลำบากหนีไม่พ้นบรรดาผู้ผลิตเอทานอลที่เป็นวัตถุ ดิบสำหรับผลิตแก๊สโซฮอล์ และบรรดาชาวไร่ที่ปลูกพืชพลังงานทั้งหลาย ทั้งชาวไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด ชาวไร่อ้อย นับแสนๆ รายทั่วประเทศที่ส่วนใหญ่ลงคะแนนเลือกพรรคเพื่อไทย ต้องพลอยมาเจ๊งตามไปด้วย คนพวกนี้น่าสงสารปรับตัวไม่ทัน เพราะไม่รู้ว่าก่อนว่านโยบายเหล่านี้จะทำร้ายประชาชนและประเทศชาติทาง อ้อมอย่างไร เพราะเวลาหาเสียงคนพวกนี้ไม่เคยอรรถาธิบายให้ประชาชนรู้ทั้งหมด นอกจากชูนิ้วชี้แล้วตะโกนผ่านไมโครโฟนว่า “รักไหมค๊ะๆๆๆ”
     เรื่องนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ไม่อาจนิ่งเฉยปล่อยให้ข้าราชการและนักการเมืองทำอะไรไปโดยพละการอย่างย่ามใจ ต่อไปได้แล้ว ในเมื่อประเทศนี้มีกฎหมาย มีรัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองสิทธิของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน เราคงจะไม่ปล่อยให้นักการเมืองใช้กองทุนน้ำมันมาแสวงหาผลประโยชน์กันในทาง การเมืองได้อีกต่อไป สมาคมฯ จะทำทุกวิถีทางในการให้นำไปสู่การยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างถาวรต่อ ไป หรืออาจแปลงไปสู่การเก็บภาษีสรรพสามิตนำเงินไปพัฒนาประเทศโดยรวมดีเสียกว่า เอาเงินมาประเคนให้คนใช้รถดีเซลและก๊าซธรรมชาติ บนผลประโยชน์ของนักการเมืองที่ชอบประชานิยม...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง