‘เชฟรอน’ ยึดทะเลแสนตารางกิโลเมตร ตั้งแท่นขุด ‘อุบลB12/27’ กลางอ่าวไทย
ก้อนน้ำมันชายหาดสงขลา เป็นก้อนน้ำมันสุกนอกอ่าวไทย แจงรักษามาตรฐานดูแลมลพิษอย่างเคร่งครัด
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554
ที่ห้องประชุมสงขลา 2 โรงแรมบี.พี.สมิหลาบีช อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท
เตตร้าเทค อิงค์ จำกัด ร่วมกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและการผลิต จำกัด
จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดสงขลา
ครั้งที่ 1 โครงการผลิตปิโตรเลียม ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต
จำกัด แหล่งอุบล แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย
โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน
นายสุขสรรพ์ จินะณรงค์
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกร บริษัท เตตร้าเทค อิงค์ จำกัด ชี้แจงว่า
โครงการผลิตปิโตรเลียมบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แหล่งอุบล
แปลงสัมปทานหมายเลข B 12/27 บริเวณอ่าวไทย อยู่ห่างจากจังหวัดสงขลาประมาณ
204 กิโลเมตร หรือ 110 ไมล์ทะเล ห่างจังหวัดนครศรีธรรมราช 153 กิโลเมตร
หรือ 82 ไมล์ทะเล ห่างจากเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 190 กิโลเมตร หรือ
105 ไมล์ทะเล และห่างจากเกาะกูด จังหวัดตราด 399 กิโลเมตร หรือ 183
กิโลเมตร
นางศุภรัตน์ โชติสกุลรัตน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์
แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ชี้แจงว่า
จะมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ
ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการประเมินผลกระทบด้านต่างๆของ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
คู่มือการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
โครงการผลิตปิโตรเลียมในทะเลของสผ.
และเงื่อนไขของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
นางวิลาสินี อโมนาศิริ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน บริษัท
ยูไนเต็ดแอนนาลิสต์ แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ชี้แจงว่า
จะมีจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ
สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ระยอง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา
และปัตตานี เน้นเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยตรง
ที่เป็นชาวประมงพื้นบ้านรอบอ่าวไทย
จะรับฟังทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยไม่เลือกปฏิบัติ
นางวิลาสินี ชี้แจงอีกว่า เมื่อวันที่ 31
พฤษภาคม 2554 และวันที่ 2 มิถุนายน 2554 ได้จัดประชุมกลุ่มย่อย
รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน
ผู้ใหญ่บ้านของอำเภอระโนด สทิงพระ และสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ในช่วงเดือนกันยายน–ตุลาคม 2554 ให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการ
และพร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากสถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน
และสื่อมวลชนในภาคใต้
“อีกทั้งในช่วงเดือนมีนาคม–เมษายน 2555
จะมีการให้ข้อมูลข่าวสาร มีการสนทนากลุ่มย่อย สัมภาษณ์รายบุคคล
และสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน หน่วยงานต่างๆ
สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน
คาดว่าประมาณเดือนพฤษภาคม 2555 จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่
2” นางวิลาสินี กล่าว
พ.ต.ท.ไมตรี นักธรรม สารวัตรตำรวจน้ำสงขลา
ถามว่า พื้นที่แปลงสัมปทานของเชฟรอน มีกี่แปลง แปลงหนึ่งเจาะกี่หลุม
พื้นที่สัมปทานกว้างเท่าไหร่ และจะกระทบต่อการทำประมงหรือไม่
นายศักดิ์ชัย อมรศักดิ์ชัย
วิศวกรสิ่งแวดล้อม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ชี้แจงว่า
เชฟรอนมีพื้นที่สัมปทาน 10 แปลง บางแปลงมีพื้นที่ 1 พันตารางกิโลเมตร
บางแปลง 2 หมื่นตารางกิโลเมตร บางแปลง 5 ห้าหมื่นตารางกิโลเมตร
มีแท่นขุดเจาะประมาณ 300 แท่น จะมีกันพื้นที่บริเวณแท่นขุดเจาะในรัศมี 500
เมตร ไม่ให้ชาวประมงเข้าไป เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
“ถ้าตีตารางจะกินพื้นที่แต่ละแท่นขุดเจาะ
3–4 ตารางกิโลเมตร คูณจำนวนแท่นขุดเจาะ 300 แท่น หากนับพื้นที่รวมๆ แล้ว
จะใช้พื้นที่ในอ่าวไทยเป็นแสนตารางกิโลเมตร” นายศักดิ์ชัย ตอบ
พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า
กระบวนการในการขุดเจาะมีการดูดหิน และสิ่งอื่นๆ ขึ้นมาเท่าไหร่
มีขนาดเท่าไหร่ นำไปทิ้งที่ไหน
ถ้าทิ้งในทะเลเป็นไปได้หรือไม่ที่จะสะสมรวมกันเป็นกองหินขึ้นมา
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงว่า
บางส่วนจะปล่อยลงสู่ทะเล เศษหินก้อนใหญ่ๆ จะจม
ส่วนก้อนเล็กจะกระจัดกระจายไปตามกระแสน้ำ ทั้งหมดจะมีการติดตามตรวจสอบ
ส่วนปริมาณเศษหินจะปล่อยใกล้แท่นขุดเจาะใกล้ 20 เซนติเมตร
สำหรับเศษหินเล็กๆ ที่กระจายในกระแสน้ำ อาจจะตรวจสอบลำบาก
พ.ต.ท.ไมตรี แสดงความเห็นว่า
ถ้าเป็นเช่นนั้น อาจจะทำให้เกิดการตื้นเขินจากการสะสมของเศษหินขนาดใหญ่
ส่วนเศษขนาดเล็กจะกระจายสู่ท้องทะเล
และการรั่วไหลของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการขุดเจาะ
อาจส่งผลให้สภาพทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลง
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงอีกว่า กระบวนการขุดเจาะมีถังสำหรับเก็บสารเคมีสังเคราะห์ ถ้าส่งผลกระทบก็ส่งผลกระทบน้อยมาก
พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า
ในจังหวัดสงขลามีชาวบ้านพบก้อนเศษน้ำมัน
หลังจากนั้นชาวบ้านก็ไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต่อมามีการนำมาชั่งกิโล
แล้วคำนวณน้ำหนักจ่ายค่าชดเชยให้กับชาวบ้านในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงด้วยว่า
สารเคมีสังเคราะห์ที่ใช้ในกระบวนการขุดเจาะมีราคาสูงมาก
จะมีถังกักเก็บนำมาใช้ซ้ำในการขุดเจาะหลายครั้งมาก
ในกระบวนการขุดเจาะสารดังกล่าวจะปะปนมากับเศษหิน แล้วจะผ่านกระบวนการแยก
และจะทิ้งเศษหินบริเวณใต้แท่นขุดเจาะ
ถ้าเป็นเศษหินเล็กๆแจะปลิวออกไปตามกระแสน้ำ 5–6 กิโลเมตร ในระยะเวลา 1–2
วันจะตกตะกอนลงสู่ทะเล ส่วนสารเคมีสังเคราะห์จะนำกลับมาใช้หมุนเวียน
“ที่มีชาวบ้านในจังหวัดสงขลาพบก้อนเศษ
น้ำมัน เราได้นำไปวิเคราะห์พบว่าไม่ได้เป็นก้อนน้ำมันดิบ
แต่เป็นก้อนน้ำมันสุก อีกทั้งยังพบว่าไม่ใช่เศษน้ำมันจากอ่าวไทย
เนื่องจากก้อนน้ำมันจะสามารถบอกได้ว่ามาจากที่ไหนเหมือนลายนิ้วมือของคน”
นายสุขสรรพ์ กล่าว
พ.ต.ท.ไมตรี ถามด้วยว่า มีของเสีย หรือวัสดุอะไรบ้างที่นำกลับมาเข้าฝั่ง ไม่ว่านำมาใช้ต่อ หรือทำลายทิ้ง
นายสุขสรรพ์ ชี้แจงว่า
วัสดุที่ขนกลับเข้าฝั่งจะมีขยะของพนักงาน ซึ่งจะมีระบบการคัดแยกเป็นอย่างดี
อะไรสามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ก็ใช้ซ้ำ
ส่วนของเสียอื่นจะมีสีและวัสดุปนเปื้อนน้ำมัน
ซึ่งจะมีการจัดการและใช้ระบบการขนส่งที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงอย่างเคร่ง
ครัด โดยจะขึ้นฝั่งที่ท่าเรือประทีป ตรงแหลมแท่น
มีบริษัทที่ได้รับอนุญาตนำไปจัดการตามความเหมาะสม
พ.ต.ท.ไมตรี ถามอีกว่า
มีบริษัทขุดเจาะน้ำมันใดบ้างที่มีการทิ้งเศษหิน หรือเศษก้อนน้ำมันลงทะเล
ตนจะได้สามารถหาวิธีตรวจสอบจับกุม ถ้ามีการถ่ายของเสียลงสู่ทะเล
นายธรณิศวร์ ทรรพนันทน์
ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
ชี้แจงว่า สำหรับเชฟรอนไม่มีแน่นอน
ตนคิดว่าทุกบริษัทพยายามทำตามมาตรฐานที่กำหนด
เนื่องจากจะมีกระบวนการตรวจสอบติดตามจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
กระทรวงพลังงานเช้ามาดูแลอย่างเข้มงวด
แต่ละบริษัทจะต้องส่งรายงานการกำจัดของเสียให้กรมพลังงานธรรมชาติทุกเดือน
สำหรับขั้นตอนการจัดการของเสียของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกัน
ที่มา :: ประชาไท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น